ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอเขาย้อย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'ศาสตราวุธ'→'ศัตราวุธ'
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ชาวลาวเวียงจันทน์ในอำเภอเขาย้อย: ข้อมูลซ้ำซ้อนหลายอำเภอ
บรรทัด 38:
 
ครอบครัวเชลยชาวลาวเวียงจันทน์ถูกกวาดต้อนเข้ามาไทยในการตีเมืองเวียงจันทน์ครั้งที่ 1 ปีพ.ศ. 2321 จากนั้นถูกกวาดต้อนเข้ามาอีกในการตีเมืองเวียงจันทน์ครั้งที่ 2 ปีพ.ศ. 2335 และถูกกวาดต้อนเข้ามาเป็นครั้งที่ 3 ปีพ.ศ. 2369 - 2371 แต่ในสงครามตีเมืองเวียงจันทน์ครั้งที่ 3 เมื่อปีพ.ศ. 2369 - 2371 กองทัพสยามได้กวาดต้อนผู้คนทั้งหมดในเขตเมืองเวียงจันทน์เข้ามาฝั่งไทย จนเวียงจันทน์ถึงกับเป็นเมืองร้างผู้คน
 
การตีเมืองเวียงจันทน์มีทั้งหมด 3 ครั้งคือ
 
1. การตีเมืองเวียงจันทน์ครั้งที่ 1 ปีพ.ศ. 2321 (ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าตากสินแห่งกรุงธนบุรี) หลังจากพระเจ้าตากสินมหาราชกู้เอกราชจากพม่าได้แล้ว พระองค์ทรงขุ่นข้องหมองใจกับ "เจ้าสิริบุญสาร" ผู้ครองเมืองเวียงจันทน์ เนื่องจากเจ้าสิริบุญสารช่วยเหลือพม่าในการตีกรุงศรีอยุธยา อีกทั้งเจ้าสิริบุญสารได้ผิดใจกับคนลาวด้วยกันคือ พระวอและพระตา ที่อยู่ในความคุ้มครองของธนบุรี
 
ครั้นเดือนอ้าย ปีจอ พุทธศักราช ๒๓๒๑ (เดือนธันวาคม พ.ศ. 2321) พระเจ้าแผ่นดินสยาม คือ พระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรีทรงขุ่นข้องหมองใจกับพระเจ้าศิริบุญสารแห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต(นครเวียงจันทน์) เนื่องจากพระเจ้าศิริบุญสารนำเครื่องบรรณาการไปมอบแก่พระเจ้าอังวะและขอให้กองทัพพม่าไปช่วยตีพระยาวรราชภักดีที่เมืองจำปานคร(หนองบัวลำภู) ซึ่งเป็นกบฏต่อกรุงศรีสัตนาคนหุต(นครเวียงจันทน์)
 
พระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรีจึงโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ กับเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ ยกกองทัพบกจำนวน ๒๐,๐๐๐ ออกจากรุงธนบุรี ขึ้นไปตั้งประชุมพลที่เมืองนครราชสีมา จากนั้นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ ให้เจ้าพระยาสุรสีห์ฯ แยกทัพลงไปกรุงกัมพูชา เกณฑ์กองทัพ ๑๐,๐๐๐ และต่อเรือรบ เรือไล่ แล้วให้ขุดคลองอ้อมเขาหลี่ผี ยกทัพเรือขึ้นไปตามลำน้ำโขง ไปบรรจบกองทัพบก ณ นครล้านช้างเวียงจันทน์
 
กองทัพธนบุรีล้อมนครเวียงจันทน์ไว้ 4 เดือนถึงสามารถตีเมืองได้ เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบ ก็ทรงพระโสมนัสให้มีตราหากองทัพกลับยังพระมหานคร สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก จึงตั้งพระยาสุโภ ขุนนางเมืองล้านช้างให้อยู่รั้งเมือง แล้วนำครอบครัวเชลยชาวเมืองเวียงจันทน์หลายหมื่นครัวเรือน ขุนนางท้าวเพลี้ยทั้งปวง และราชบุตรพระเจ้าศิริบุญสารทั้งสามองค์คือเจ้านันทเสน เจ้าอินทวงศ์ เจ้าอนุวงศ์ กับทรัพย์สิ่งของเครื่องศัตราวุธ ช้าง ม้า เป็นอันมาก และเชิญพระพุทธปฏิมากรแก้วมรกต กับ พระบาง เลิกทัพกลับยังกรุงธนบุรีโดยพระราชกำหนด กองทัพมาถึงเมืองสระบุรี ในเดือนยี่ ปีกุน
 
หลังจากที่ตีและเข้ายึดเมืองเวียงจันทน์ได้แล้วก็จึงกวาดต้อนครอบครัวเชลยศึกชาวเมืองเวียงจันทน์หลายหมื่นครัวเรือน ประมาณ 100,000 คน ข้ามแม่น้ำโขง มาอยู่ในเขตจังหวัดสระบุรี จันทบุรี และบางยี่ขัน ในบรรดาชาวเมืองเวียงจันทน์ที่ถูกกวาดต้อนมาก็มีโอรสของเจ้าสิริบุญสารรวมอยู่ด้วย 3 พระองค์ คือ เจ้านันทเสน เจ้าอินทวงศ์ และเจ้าอนุวงศ์
 
2. การตีเมืองเวียงจันทน์ครั้ง 2 ปี พ.ศ. 2335 (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 ) เจ้านันทเสนผู้ครองเมืองเวียงจันทน์ ได้ยกทัพไปตีเมืองพวนและเมืองแดง พร้อมกวาดต้อนครอบครัวลาวพวนและลาวทรงดำ มาถวายเพื่อแลกเปลี่ยนกับครอบครัวชาวลาวเวียงจันทน์ที่อยู่ในไทย แต่รัชกาลที่ 1 ทรงไม่ประทานให้และทรงปลดเจ้านันทเสนออกจากตำแหน่งเจ้าเมืองเวียงจันทน์ พร้อมกับทรงยกกองทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์กวาดต้อนครอบครัวชาวเวียงจันทน์เข้ามาในหัวเมืองชั้นในอีก
 
3. การตีเมืองเวียงจันทน์ครั้งที่ 3 ปีพ.ศ. 2369 - 2371 (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3) เจ้าอนุวงศ์เจ้าเมืองเวียงจันทน์ไม่ยอมเป็นเมืองขึ้นต่อกรุงเทพ
ได้ยกกองทัพเมืองเวียงจันทน์และกองทัพเมืองจำปาศักดิ์เข้ามายึดเมืองโคราช(นครราชสีมา) พร้อมกับยกกองทัพมากวาดต้อนครอบครัวชาวลาวเวียงจันทน์ในสระบุรีกลับคืนไปยังเวียงจันทน์ รัชกาลที่ 3 จึงโปรดให้ยกกองทัพไปปราบเจ้าอนุวงศ์ แล้วกองทัพสยามก็ได้กวาดต้อนครอบครัวชาวลาวเวียงจันทน์เข้ามาในประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง การกวาดต้อนชาวลาวเวียงครั้งนี้เป็นครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ชาวลาวเวียงถูกกวาดต้อนมา ซึ่งอาจมีครอบครัวเชลยศึกชาวลาวเวียงหลายแสนคนถูกกวาดต้อนมา และถูกจับแยกกันให้ไปอาศัยอยู่ในหลายพื้นที่ของไทย เพื่อง่ายแก่การปกครองและเพื่อไม่ให้ชาวลาวเวียงรวมกลุ่มกันได้
 
กองทัพสยามได้นำพาครอบครัวเชลยลาวเวียง ชาวเมืองเวียงจันทน์ข้ามแม่น้ำโขงและแบ่งแยกให้ไปอาศัยอยู่ตามที่สถานที่ต่างๆ ดังนี้
 
(1) จังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดสุรินทร์(หัวเมืองเขมรป่าดง) การยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทร์ จำปาศักดิ์จนได้รับชัยชนะ ได้กวาดต้อนชาวเวียงจันทร์มาเป็นจำนวนมาก มาอยู่ที่ ต.สิ ,ต.ขุนหาญ ต.ห้วยจันทน์ อ.ขุนหาญ ต.หมากเขียบ อ.เมืองศรีสะเกษ ,บ้านตาอุด บ้านโสน อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ ส่วนในจังหวัดสุรินทร์มีชาวลาวเวียงในเขตเมืองสุรินทร์และเมืองสังขะ
 
(2) จังหวัดสระบุรี ซึ่งน่าจะมีชาวลาวเวียงจันทน์เยอะที่สุด เพราะถูกกวาดต้อนเข้ามาตั้งแต่สงครามตีเมืองเวียงจันทน์ครั้งแรกในสมัยธนบุรี ชาวลาวเวียง คือชาวลาวจากเวียงจันทน์ ปัจจุบันมีอยู่มากที่อำเภอแก่งคอย อำเภอหนองแค อำเภอหนองแซง อำเภอวิหารแดง อำเภอเสาไห้ และอำเภอบ้านหมอ
ลาวแง้ว คือชาวลาวที่มาจากชนบทชานเมืองเวียงจันทน์ ปัจจุบันอยู่ที่บ้านตาลเสี้ยน บ้านหนองระกำ อำเภอพระพุทธบาท และบางหมู่บ้านในอำเภอหนองโดน
 
(3) จังหวัดลพบุรี มีชุมชนชาวลาวเวียงในลพบุรี แต่ถูกเรียกว่า "ลาวแง้ว" เพราะชาวลาวแง้วมาจากเขตชานเมืองเวียงจันทน์
 
(4) จังหวัดราชบุรี ไทยลาวตี้ หรือไทยลาวเวียง เป็นคนเชื้อสายลาวจากเมืองเวียงจันทน์ เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเขตเมืองราชบุรี(จริงๆแล้วถูกกวาดต้อนเข้ามาในฐานะเชลยศึก) ตั้งแต่สมัยธนบุรีตลอดมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ที่เขาแร้ง อำเภอเมือง ฯ บ้านฆ้อง บ้านบ่อมะกรูด บ้านเลือก บ้านสิงห์ บ้านกำแพงเหนือ บ้านกำแพงใต้ บ้านดอนทราย บ้านหนองรี บ้านบางลาน อำเภอโพธาราม บ้านดอนเสลา บ้านหนองปลาดุก บ้านหนองอ้อ บ้านฆ้องน้อย อำเภอบ้านโป่ง บ้านนาสมอ บ้านสูงเนิน บ้านทำเนียบ บ้านเกาะ บ้านหนอง บ้านเก่า บ้านวังมะเดื่อ อำเภอจอมบึง
 
(5) จังหวัดในแถบภาคตะวันออกมีชุมชนชาวลาวเวียงกระจายกันอยู่ทั่วไป เช่น นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา อ. พนัสนิคม จ.ชลบุรี
 
(6) จังหวัดอ่างทองและจังหวัดอุทัยธานี ก็มีชุมชนลาวเวียงเช่นกัน
 
(7) จังหวัดเพชรบุรี มีชุนชนลาวเวียงบ้านสระพัง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี
 
(8) จังหวัดสุพรรณบุรี มีชุมชนลาวเวียงในเขต อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
 
(9) บางกอก หรือ กรุงเทพมหานคร ชาวลาวเวียงที่ได้ถูกนำเข้าไปอยู่ในเขตพระนคร ส่วนใหญ่จะเป็นขุนนางที่มีการศึกษาหรือไม่ก็เชื้อพระวงศ์เวียงจันทน์ทั้งหลาย ในสมัย ร.4 ชาวบางกอกนิยม "แอ่วลาว" หรือ "เล่นแคน" กันมากจนรัชกาลที่ 4 ต้องสั่งห้ามไม่ให้ชาวบางกอกเล่นแคนในเขตพระนคร ชาวลาวเวียงในเขตพระนครก็ได้เข้ารับราชการและเป็นใหญ่เป็นโตมากมาย เช่น พลเอก เชาวลิต ยงใจยุทธ หรือ แม้แต่สมเด็จย่า ท่านก็เคยกล่าวไว้ว่า ครอบครัวของท่านมาจากเวียงจันทน์และครอบครัวท่านก็นิยมรับประทานข้าวเหนียว
 
== การแบ่งเขตการปกครอง ==