ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พจมาน ณ ป้อมเพชร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 28:
 
== ประวัติ ==
คุณหญิง พจมาน เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวน 4 คนของ พลตำรวจโท [[เสมอ ดามาพงศ์]] อดีตผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ กับ[[พจนีย์ ณ ป้อมเพชร|คุณหญิง พจนีย์ ณ ป้อมเพชร]] โดยพี่ชายสามคนของคุณหญิง พจมาน ได้แก่ พงษ์เพชร ดามาพงศ์ อดีตผู้อำนวยการการเลือกตั้ง[[พรรคไทยรักไทย]] [[จังหวัดเชียงราย]], [[เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์|พลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์]] [[รายนามอธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ|อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ]] และ พลตำรวจโท นายแพทย์ พีระพงศ์ ดามาพงศ์ อดีตผู้บัญชาการสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ และมีพี่ชายบุญธรรมคนโตอีก 1 คนคือ [[บรรณพจน์ ดามาพงศ์]]
 
เมื่อแรกเกิด นางพจนีย์ ณ ป้อมเพชร ตั้งชื่อให้ว่า''สร้อยเพชรพจมาน'' <ref>{{อ้างหนังสือ|ผู้แต่ง=วัธยา|ชื่อหนังสือ=พจมาน ชินวัตร แม่ทัพหลังม่าน บทอวสานที่ก้นเหว?|URL=|จังหวัด=กรุงเทพฯ|พิมพ์ที่=ร่วมด้วยช่วยกัน|ปี=2548|ISBN=974-9785-94-0|จำนวนหน้า=220}}</ref> ต่อมาจึงลดลงเหลือเพียง''พจมาน'' คุณหญิง พจมานศึกษาชั้นอนุบาล จนถึงชั้น[[มัธยมศึกษา]]ปีที่ 3 ที่[[โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์]] และพบกับ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เป็นครั้งแรก ขณะเป็นนักเรียน[[โรงเรียนนายร้อยตำรวจ|นายร้อยตำรวจ]] รุ่นพี่ของพงษ์เพชร ผู้เป็นพี่ชาย
 
หลังจบมัธยมศึกษาปีที่ 3 พล.ต.ท.เสมอ ส่งคุณหญิง พจมานไปศึกษาต่อที่[[สหรัฐอเมริกา]] ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ สอบได้เป็นที่หนึ่งของรุ่น ได้รับทุน[[คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน]] (ก.พ.) ไปศึกษาต่อ[[ปริญญาโท]] ที่[[มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเคนทักกี]] สหรัฐอเมริกา
 
คุณหญิง พจมานพบกับ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณอีกครั้งที่สหรัฐอเมริกา และเดินทางกลับมาประกอบ[[พิธีมงคลสมรส]]ที่[[ประเทศไทย]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2519]] และเดินทางกลับไปยังสหรัฐอเมริกาอีกครั้ง เมื่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณได้รับทุนศึกษาต่อ[[ปริญญาเอก]] ส่วนคุณหญิงพจมานสำเร็จ[[ปริญญาตรี]] Associate of Arts และสาขาบริหารธุรกิจ [[มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเคนทักกี]] และให้กำเนิดบุตรชายคนโตคือ[[พานทองแท้ ชินวัตร|พานทองแท้]] ขณะพำนักอยู่ที่สหรัฐอเมริกา
 
หลังจากกลับมายังประเทศไทย พร้อมกับ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ก็ให้การช่วยเหลือกิจการต่างๆ ของสามีตลอดมา ไม่ว่าจะเป็นพนักงานขายผ้าไหม เจ้าหน้าที่รับจองคอนโดมีเนียม รวมถึงคอยปรนนิบัติสามีและดูแลบุตร จนกระทั่งเมื่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณก่อตั้งบริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ จำกัด ซึ่งประกอบกิจการให้เช่าคอมพิวเตอร์ และต่อมากลายเป็น[[บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)]] ที่ดำเนินกิจการโทรคมนาคม คุณหญิงพจมานก็ยังคงดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง ช่วยเหลือสามีดูแลกิจการตลอดมา
 
คุณหญิง พจมาน มีบุตร-ธิดากับ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณรวม 3 คนคือ [[พานทองแท้ ชินวัตร|พานทองแท้]], [[พินทองทา คุณากรวงศ์|พินทองทา]] และ [[แพทองธาร ชินวัตร|แพทองธาร]]
 
ในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 [[ศาลอาญา (ประเทศไทย)|ศาลอาญา]]พิพากษาจำคุกคุณหญิง พจมาน และบรรณพจน์ พี่ชายบุญธรรมคนละ 3 ปี ในคดีร่วมกันจงใจหลีกเลี่ยงภาษีหุ้น บริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (มหาชน) มูลค่า 546 ล้านบาท
 
ในปลายปี [[พ.ศ. 2551]] คุณหญิง พจมานจดทะเบียนหย่าร้างกับ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ แล้วกลับมาใช้นามสกุลเดิม ''[[ณ ป้อมเพชร]]'' ของฝ่ายมารดา แต่ยังคงใช้คำนำหน้านามว่า''คุณหญิง'' ตามเดิม เนื่องจากสตรีที่เคยสมรส แล้วต่อมาหย่าร้างกับสามี ยังสามารถใช้คำนำหน้านามนี้ได้
 
อนึ่ง คุณหญิงพจมานยังเป็นเครือญาติกับ [[พูนศุข พนมยงค์|ท่านผู้หญิง พูนศุข พนมยงค์]] ภริยาของ[[ปรีดี พนมยงค์|ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์]] นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 7 และ[[พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ]] ภริยาของ[[อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ|อดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์]]อีกด้วย<ref>[http://www.oknation.net/blog/print.php?id=370586 ตระกูล ณ ป้อมเพชร ได้สร้างภรรยานายกรัฐมนตรีไทยถึง 3 คน]</ref>
 
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==