ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศมอนเตเนโกร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'ดั่งเดิม'→'ดั้งเดิม'
บรรทัด 77:
ระหว่าง[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] ยูโกสลาเวียถูกนานาประเทศเข้ายึดครอง [[ยอซีป บรอซ ตีโต|ยอซีป บรอซ]] (Josip Broz) หรือตีโต (Tito) ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ยูโกสลาเวียจึงได้ก่อตั้งกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติเพื่อปลดปล่อยประเทศออกจากการยึดครอง ซึ่งในที่สุดก็สามารถปลดแอกตนเองออกมาได้ ส่วนตีโตนั้นได้รับการสนับสนุนให้เป็นผู้นำประเทศ ซึ่งเขาก็ได้ประกาศเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเป็นระบอบ[[สังคมนิยม]]แบบ[[สหภาพโซเวียต]]วันที่ [[31 มกราคม]] [[พ.ศ. 2489]] (ค.ศ. 1946) และเปลี่ยนชื่อประเทศใหม่เป็น ''“สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย”'' ซึ่งประกอบด้วย 6 รัฐ กล่าวคือ สโลวีเนีย โครเอเชีย เซอร์เบีย บอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา มอนเตเนโกร และมาซิโดเนีย และอีก 2 จังหวัดปกครองตนเอง คือ [[คอซอวอ]]และ[[วอยวอดีนา]] และถึงแม้ว่ามอนเตเนโกรจะรวมตัวอยู่กับยูโกสลาเวียซึ่งมีการปกครองในระบอบสังคมนิยม แต่มอนเตเนโกรก็มีอำนาจการปกครองภายในอย่างสมบูรณ์
 
การล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2532]] (ค.ศ. 1989) ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อแยกตัวเป็นเอกราชของรัฐต่าง ๆ ที่รวมตัวกันอยู่ในยูโกสลาเวีย รัฐโครเอเชีย สโลวีเนีย มาซิโดเนีย และบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา ได้ประกาศแยกตัวเป็นเอกราชเมื่อปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) แต่เซอร์เบียและมอนเตเนโกรกลับรวมตัวกันอยู่ดั่งเดิมดั้งเดิม พร้อมกับเปลี่ยนระบบการปกครองเป็นประชาธิปไตยแบบรัฐสภา เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น ''"สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย"'' และมีนาย[[สโลโบดัน มิโลเชวิช|สลอบอดัน มีโลเชวิช]] (Slobodan Milosevic) เป็นประธานาธิบดีคนแรก ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) ได้มีการเปลี่ยนชื่อประเทศอีกครั้งเป็น[[เซอร์เบียและมอนเตเนโกร]] แต่ละรัฐมีอำนาจปกครองตนเองสูงสุด มีเพียงการทหารและการต่างประเทศที่รวมกันเป็นหลัก
 
เมื่อวันที่ [[21 พฤษภาคม]] พ.ศ. 2549 ได้มีการลงประชามติเพื่อแยกตัวเป็นเอกราชจากเซอร์เบีย โดยร้อยละ 55.4 ซึ่งเกินเกณฑ์ขั้นต่ำ (ร้อยละ 55) ที่[[สหภาพยุโรป]]กำหนดที่จะให้การรับรอง และด้วยเหตุนี้มอนเตเนโกรจึงประกาศแยกตัวเพื่อมาเป็นประเทศใหม่อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ [[3 มิถุนายน]] ปีเดียวกัน ปัจจุบันมอนเตเนโกรได้รับการรับรองจากนานาประเทศและเป็นสมาชิกองค์การ[[สหประชาชาติ]]ลำดับที่ 192 และองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ หลายองค์การแล้ว <ref> http://www.mfa.go.th/web/479.php?id=281 กระทรวงการต่างประเทศ</ref>