ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศิลปะไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ladyofc (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 29:
“กำมะลอ”สำหรับช่างเขียนไทย คือ “งานเขียนสีผสมน้ำรัก”
ช่างไทยโบราณถือว่า งาน “ลายกำมะลอ” เกิดจากการนำลาย มาวาดผูกกันให้เกิดเป็นรูปภาพ ดังนั้นคำว่า “ลายกำมะลอ” จึงหมายถึง “ภาพเขียนผูกขึ้น ด้วยลายระบายด้วยสีกำมะลอ
<br />
'''ที่มาของลายกำมะลอ'''
ประเทศจีนเป็นต้นกำเนิดของลายกำมะลอ ชาวจีนใช้ลายกำมะลอเขียนตกแต่งเครื่องเรือนชนิดต่างๆเช่น ลับแล ฝาตู้ ฉากพับ เป็นต้น ส่วนในประเทศไทยลายกำมะลอปรากฏขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย โดยสันนิษฐานว่าพ่อค้าชาวจีนนำเข้ามาโดยบรรทุกเครื่องเรือนมากับเรือสำเภาเข้ามาค้าขายในกรุงศรีอยุธยา คนไทยได้พบเห็นลายกำมะลอ เกิดความพึงพอใจ แต่ไม่สามารถเขียนขึ้นได้เพราะไม่รู้วิธีผสมสีผสมน้ำยา ต่อมาช่างไม้ชาวจีนเข้ามาตั้งรับจ้างต่อเครื่องเรือนขายในกรุงศรีอยุธยา ช่างจีนพวกนี้ได้เขียนลวดลายกำมะลอ คนไทยผ่านมาพบเห็นจึงจดจำและนำไปทำตาม จึงได้มีการเขียนลายกำมะลอที่งดงาม ตกแต่งประดับอยู่ตามฝาตู้ ฝาหีบเป็นจำนวนมากในสมัยอยุธยาตอนปลาย
<br />
'''ลักษณะของลายกำมะลอ'''
การระบายสีในลายกำมะลอ เป็นการระบายสีโดย ใช้สีฝุ่นต่าง ๆ ผสมยางรัก ยางรักมีคุณสมบัติยึดสีให้จับติดกับพื้นที่ทาไว้ด้วย ยางรักมีสีดำ สีฝุ่นที่ใช้เมื่อผสมกับยางรักสีดำก็กลายเป็นสีที่หม่นทุกสี สีผสมยางรักนี้เมื่อนำมาเขียนระบายเป็นรูปภาพขึ้นบนพื้นที่ทายาง รักสีดำขึ้นไว้แต่แรกก็จะเป็นรูปภาพ ช่วยให้เด่นเห็นชัดเจนขึ้น ลายกำมะลอที่เขียนขึ้นจะมีเอกลักษณ์เฉพาะเด่นชัดคือ พื้นสีดำ ลวดลายหรือรูปภาพมีสีสันต่าง ๆที่หม่น ส่วนที่เห็นชัดขึ้นมาจากพื้นที่เป็นสีหม่น คือสีทองของเส้นที่แสดงรายละเอียดต่าง ๆ ของลวดลายหรือรูปภาพ ลายกำมะลอ เป็นงานตกแต่งซึ่งทำขึ้นบนบานประตู บานหน้าต่าง ฝาตู้ ฝาหีบ ฉาก ลับแล หน้าใบ ประกับคัมภีร์ แผงข้าง เป็นต้น
'<br />
'''วิธีการเขียนลายกำมะลอ'''
1.ร่างแบบ ในงานร่างภาพ หรือ ลวดลาย ขึ้นเป็นแบบลงบนพื้นที่ได้ทารักรองพื้นไว้ เพื่อจะระบายสีลงเป็นรูปภาพ หรือ ลวดลายต่อไปนั้น ได้แก่
1.1 ใช้ดินสอขาวเหลา มีปลายเรียวแหลมเขียนเส้น ร่างลงบนพื้นที่รัก แต่พอเป็นเค้ารอยรูปภาพ หรือ ลวดลายตามที่คิดจะให้เป็น เรียกว่า “กระทบเส้น”วิธีนี้ใช้สำหรับช่างเขียนที่ฝีมือดี
เส้น 39 ⟶ 42:
2.การระบายสี ใช้สีระบายรูปภาพเล็กน้อยไม่นิยมไล่น้ำหนักสี
3.การเขียน ลงเส้นทอง ที่เป็นรายละเอียดในรูปภาพ ลวดลายให้เป็นรูปภาพ รูปลักษณ์ให้มีความชัดเจน ได้แก่ การเขียนลงเส้นโรยฝุ่นทอง และการเขียนลงเส้นปิดทองคำเปลว
<br />
งานประณีตศิลป์ประเภทลายกำมะลอขาดตอนลงไประหว่างสมัยที่เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 จนกระทั่งมาถึงสมัยรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชดำริให้ฟื้นฟูขึ้นมา ดังจะได้พรรณนาต่อไปข้างหน้า งานเขียนลายกำมะลอ ที่ได้ทำขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีทั้งงานขนาดย่อมและงานขนาดใหญ่ ซึ่งส่วนมากเป็นประณีตศิลป์ที่ทำขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา
งานเขียนลายกำมะลอขนาดย่อม ได้แก่ประเภทไม้ประกับหน้าผูกคัมภีร์ หีบไม้ใส่สมุดพระมาลัย เป็นต้น
งานเขียนลายกำมะลอมีในงานขนาดใหญ่ แสดงให้เห็นความสำคัญและคุณค่ามาก คืองานเขียนลายกำมะลอบนบานประตูและบานหน้าต่างของโบสถ์ และวิหารในวัดสำคัญตัวอย่างเช่น ลายกำมะลอบนบานประตู และบานหน้าต่าง พระวิหารและศาลาการเปรียญวัดเฉลิมพระเกียรติที่จังหวัดนนทบุรี กระบวนการ
เขียนที่นี่มีลักษณะพิเศษตรงที่การใช้สีครามอ่อนอมเขียว ซึ่งเป็นสีที่ไม่เคยปรากฏใช้ในที่แห่งอื่น ๆ สีครามอ่อนอมเขียวเป็นใบไม้บนบานประตูและบานหน้าต่าง ณ สถานที่แห่งนี้ สดใสเป็นพิเศษ เป็นสิ่งแปลกในกระบวนการผสมสีในการเขียนระบายลายกำมะลอเพราะโดยปรกติของการผสมสีฝุ่นกับยางรักสีแต่ละสีจะถูกยางรักกดความสดใสลงถึงครึ่งหนึ่ง ทำให้สีในงานเขียนกำมะลอ ดูหม่นมืดทุกสีแต่ในกรณีสีครามอมเขียวบนบานประตูและบานหน้าต่างพระวิหารกับศาลาการเปรียญที่วัดเฉลิมพระเกียรติ น่าที่จะมีวิธีการผสมสีเป็นพิเศษต่างกว่าที่รู้ ๆ กันในเวลานั้น และน่าจะกล่าวได้ว่าเป็นวิธีการเฉพาะตัวของช่างผู้ทำการเขียนที่นั่นโดยแท้ทั้งนี้ไม่ปรากฏมีงานเขียนลายกำมะลอเขียนสีครามอ่อนอมเขียวได้รับการทำขึ้นในภายหลังแลวิธีการผสมสีให้สดใสก็ยังเป็นความลับมาจนปัจจุบัน งานเขียนลายกำมะลอบนบานประตูและหน้าต่าง ซึ่งได้ทำขึ้นเมื่อรัชกาลที่ 3 ที่มีความสวยงามและเป็นตัวอย่างที่ดีคือ บานประตูและบานหน้าต่างหอไตร วัดโมฬีโลกยาราม ริมคลองบางกอกใหญ่ แต่เป็นเรื่องน่าเสียดายอย่างยิ่งที่ภาพลวดลายเขียนด้วยวิธีกำมะลอส่วนใหญ่หลุดลอกและสีตกจางลงไปมากบางส่วนก็สูญหายและไม่เห็นร่องรอยเดิมเหลืออยู่เลย
<br />
สนั่น รัตนะ. ศิลปะลายกำมะลอ.กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์สิปประภา : กรุงเทพ, 2549
http://cul.hcu.ac.th/index.php/km/36-art/66-2009-08-15-05-05-25.html