ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 20:
'''พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง''' ({{lang-en|Phu Wiang Dinosaur Museum}}) เป็น[[พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา]]แห่งหนึ่ง โดยเน้นที่การจัดแสดงเรื่องราวของ[[ซากดึกดำบรรพ์]] สังกัด[[กรมทรัพยากรธรณี]] [[กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม]] ตั้งอยู่บนพื้นที่สาธารณประโยชน์โคกสนามบินเนื้อที่ 100 ไร่ ในเขตพื้นที่ตำบลในเมือง [[อำเภอเวียงเก่า]] [[จังหวัดขอนแก่น]] ก่อสร้างด้วยเงินงบประมาณจาก[[การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย]] และอยู่ในความกำกับดูแลของกรมทรัพยากรธรณี เริ่มเปิดให้บริการนักท่องเที่ยวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เปิดให้บริการระหว่างเวลา 09.00 - 17.00 น. ปิดบริการทุกวันจันทร์ ยกเว้นวันจันทร์ที่ตรงกับวัดหยุดนักขัตฤกษ์จะเปิดให้บริการตามปกติ
 
== การค้นพบไดโนเสาร์เป็นครั้งแรกของประเทศไทย ==
[[ไฟล์:First_of_Phuwiang.jpg|thumb|ส่วนปลายของกระดูกต้นขาหลังด้านซ้ายของไดโนเสาร์ซอโรพอดถือเป็นหลักฐานไดโนเสาร์ชิ้นแรกของประเทศไทย]]
สืบเนื่องจากในปี พ.ศ. 2513 หน่วยสำรวจธรณีวิทยาจากสหรัฐอเมริกา ได้เข้าไปสำรวจแหล่งแร่ในพื้นที่เทือกเขาภูเวียง จังหวัดขอนแก่น และได้พบแร่ยูเรเนียมชนิด[[คอฟฟินไนต์]]เกิดร่วมกับแร่ทองแดงชนิด[[อะซูไรต์]]และ[[มาลาไคต์]] ทำให้ต่อมาองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศด้านพลังงานปรมาณูเข้าไปสำรวจเพิ่มเติมด้วย ระหว่างปี พ.ศ. 2518 ตลอดจน 2523 กรมทรัพยากรธรณีได้เข้าไปทำการเจาะสำรวจในรายละเอียด ในปี พ.ศ. 2519 นาย[[สุธรรม แย้มนิยม]] นักธรณีวิทยา ได้ค้นพบ[[ซากดึกดำบรรพ์]]เศษกระดูกไดโนเสาร์บริเวณพื้นลำห้วยประตูตีหมา และต่อมาวินิจฉัยได้ว่าเป็นเศษส่วนปลายของกระดูกขาหลังท่อนบนด้านซ้ายของไดโนเสาร์[[ซอริสเชีย]]ในกลุ่ม[[ซอโรพอด]]<ref>Ingavat, R., Janvier, R., and Taquet, P. (1978) Decouverte en Thailande d'une portion de femur de dinosaure sauropode (Saurischia, Reptilia). ''C.R. Soc.Geol.France'' '''3''': 140-141</ref> (ไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่มี 4 ขา คอยาว หางยาว) โดยถือได้ว่าเป็นการค้นพบหลักฐานไดโนเสาร์เป็นครั้งแรกของไทยที่นำไปสู่การสำรวจและวิจัยอย่างจริงจังจนถึงปัจจุบัน