ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรมหลวงโยธาทิพ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Bkchin (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 32:
ต่อจากนั้น ก็ตรัสให้หาขุนนางเข้ามาภายในพระราชวัง แล้วจัดแจงแต่งรี้พล สมเด็จพระนารายณ์ฯ เองเสด็จช้างต้นพลายมงคลไอยรา เสด็จไปทางหน้าวัดพลับพลาชัยครั้นสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาทราบเหตุจึงจดทัพเข้าสู้ ได้รบพุ่งกันตั้งแต่ค่ำจนรุ่ง โดยฝ่ายพระนารายณ์มีทหาร[[ญี่ปุ่น]]ร่วมด้วยต่อมา ทหารฝ่ายสมเด็จพระนารายณ์ฯ กระทุ้งประตูเข้าไปในวังได้ สมเด็จพระศรีสุธรรมราชาจึงหนีไปยังวังหลัง แต่ถูกจับได้ พระนารายณ์ฯ ก็ให้ประหารเสียที่[[วัดโคกพระยา]]ตามประเพณี<ref name="โยธาทิพ">[http://ecurriculum.mv.ac.th/elibrary/library/theyoung.net/49_10.htm กรมหลวงโยธาทิพ]</ref>
 
ครั้นพ้นรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ฯ แล้ว พระราชกัลยาณีก็มีบทบาทสำคัญอีก คือเมื่อ[[พระเพทราชา]]ขึ้นครองราชสมบัติ ก็โปรดให้พระราชกัลยาณี (เจ้าฟ้าศรีสุวรรณ) เป็นกรมหลวงโยธาทิพ ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระ[[อัครมเหสี]]ฝ่ายขวาข้อนี้ เห็นทีกรมหลวงโยธาทิพจะไม่ร่วมตกลงปลงพระทัยด้วย เพราะเมื่อพระเพทราชาจะเสด็จไปเข้าที่บรรทม ณ พระตำหนักตึกกรมหลวงโยธาทิพ พระนางกลับให้ทูลพระอาการว่าประชวรอยู่ เมื่อเสด็จไปคราวหลังพระนางจึงยินยอม ต่อมาสมเด็จพระอัครมเหสีอัคร[[มเหสี]]ฝ่ายขวากระหลวงโยธาทิพ ประสูติราชโอรสได้นามว่า [[เจ้าพระขวัญ]]กล่าวกันว่า ในวันประสูติเจ้าพระขวัญนั้น เป็นอัศจรรย์ด้วย[[แผ่นดินไหว]] จึงมีคนนับถือมาก ประกอบกับเป็นพระราชนัดดาของสมเด็จพระนารายณ์ฯ ด้วยเมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าพระขวัญพระชนม์ครบ 13 พรรษา จึงมีพระราชพิธี[[โสกันต์]] ณ [[พระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาท]]ต่อมา กรมพระราชวังบวร ([[พระเจ้าเสือ]]) ทรงพระราชดำริแคลงเจ้าพระขวัญ ด้วยเห็นข้าไทมาก จึงร่วมคิดกับเจ้าฟ้าเพชรคอยทีอยู่เมื่อพระเพทราชาประชวรหนักใกล้สวรรคต จึงให้มหาดเล็กไปทูลเชิญเจ้าพระขวัญ ว่ามีรับสั่งให้ไปเฝ้า เพื่อให้ทรงม้าเทคให้ทอดพระเนตร เจ้าพระขวัญกำลังเสวยผลอุลิตหวานค้างอยู่ เมื่อทราบว่ามีรับสั่งให้หาก็มิได้เสวยต่อไป และซีกซึ่งยังมิได้เสวยนั้นเอาใส่ไว้ในเครื่อง แล้วทูลลาสมเด็จมารดา เสด็จไปเฝ้ากรมพระราชวังบวร ณ พระตำหนักหนองหวาย เมื่อเจ้าพระขวัญไปถึง ก็มีพระบัณฑูรห้ามพระพี่เลี้ยงและข้าไททั้งปวงมิให้เสด็จเข้าไป และให้ปิดประตูกำแพงแก้ว แล้วให้จับเจ้าพระขวัญสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทร์ ต่อจากนั้นให้เอาพระศพใส่ถุงแล้วใส่ลงในแม่ขัน ให้ข้าหลวงเอาไปฝังไว้ ณ วัดโคกพระยาพี่เลี้ยงและข้าไททั้งปวงจึงชวนกันร้องไห้ แล้วกลับไปทูลเจ้าฟ้ากรมหลวงโยธาทิพ <ref name="โยธาทิพ" />
 
เหตุการณ์ตอนนี้ เป็นเรื่องราวของอภินิหาร พระราชพงศาวดารกล่าวว่า สมเด็จพระอัคร[[มเหสี]] เจ้าฟ้ากรมหลวงโยธาทิพ เมื่อเจ้าพระขวัญทูลลาไปนั้น กำลังเข้าที่บรรทมอยู่ พอเคลิ้มหลับก็ได้ยินพระราชบุตรมาทูลว่า ข้าพเจ้าขอพระราชทานผลอุลิตหวานซีกซึ่งเหลืออยู่นั้นเสวยต่อไป ก็ตกพระทัยตื่นขึ้นมาทันทีทันใดพอดีกับมหาดเล็กมาทูลว่าเจ้าพระขวัญถูกปลงพระชนม์ เจ้าฟ้ากรมหลวงโยธาทิพได้ฟังก็ตกพระทัย ทรงพระกันแสงถึงพระราชบุตร แล้วเสด็จขึ้นไปเฝ้าพระเพทราชา ซึ่งกำลังทรงพระประชวรหนัก พระเพทราชาได้ทรงฟังก็ตกทรงเศร้าโศกเสียพระทัยอาลัยในพระราชโอรส แล้วมอบจึงตรัสเวนราชสมบัติให้แก่เจ้าพระยาเจ้าพระพิไชยสุรินทร์ ราชนิกูล และเสด็จสวรรคตในคืนนั้นเอง แต่เจ้าพระยาเจ้าพระพิไชยสุรินทร์ไม่กล้ารับราชสมบัติ จึงน้อมถวายให้ราชสมบัติแด่พระเจ้าเสือ<ref name="โยธาทิพ" />
 
เมื่อพระเจ้าเสือได้ราชสมบัติแล้ว สมเด็จพระอัคร[[มเหสี]]ฝ่ายขวา กรมหลวงโยธาทิพก็ทูลลาออกไปตั้งพระตำหนักอยู่ที่ใกล้พระอาราม[[วัดพุทไธศวรรย์]] พร้อมกับ[[กรมหลวงโยธาเทพ]] สมเด็จพระอัครมเหสีอัคร[[มเหสี]]ฝ่ายซ้ายของสมเด็จพระเพทราชา สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอพระอัคร[[มเหสี]] เจ้าฟ้าศรีสุวรรณเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงโยธาทิพ ได้ทรงทิวงคตเสด็จสวรรคต ณ พระตำหนักนั้นเอง<ref name="โยธาทิพ" /> พระองค์สิ้นพระชนม์เสด็จสวรรคต ณ พระตำหนักใกล้[[วัดพุทไธศวรรย์]] ช่วงปี [[พ.ศ. 2249]]<ref>สมภพ ภิรมย์, ศาสตราจารย์ น.อ.. ''พระเมรุมาศ พระเมรุ และเมรุ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์''. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:อมรินทร์การพิมพ์. 2528, หน้า 63</ref>
 
== พระราชตระกูล ==