ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามอ่าว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Elite501st (คุย | ส่วนร่วม)
Elite501st (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 444:
นับเป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่เน้นย้ำคำถามว่าทำไมอิรักจึงมีจำนวนผู้เสียชีวิตสูงนัก เหตุการณ์นี้เรียกว่า"การจู่โจมด้วยรถบูลโดเซอร์" ซึ่งมีกองทหารสองกองจากกองพลทหารราบที่ 1 ของสหรัฐได้้พบกับสนามเพลาะขนาดใหญ่ที่ซับซ้อนและเป็นส่วนหนึ่งของแนวป้องกันที่แน่นหนาที่เรียกกว่า"แนวซัดดัม ฮุสเซน" หลังจากการหารือพวกเขาก็ตัดสินใจใช้พลั่วกวาดทุ่นระเบิดที่ติดตั้งกับรถถังและเครื่องมือทหารช่างเข้าบดไถทหารอิรักที่กำลังป้องกันแนวทั้งเป็น หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งลงรายงานว่าผู้บัญชาการของสหรัฐคาดว่ามีทหารอิรักนับพันที่ยอมจำนนและรอดจากการถูกฝังทั้งเป็นซึ่งกินเวลานานสองวันตั้งแต่วันที่ 24-26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 แพททริก เดย์ สโลยันจาก"นิวส์เดย์"รายงานว่า "ยานเกราะแบรดลีย์และยานลำเลียงหุ้มเกราะวัลแคนได้แล่นทับแนวสนามเพลาะพร้อมกับยิงเข้าใส่ทหารอิรัก ในขณะที่รถถังกลบฝังพวกเขาด้วยกองทราย 'ผมตามติดกองร้อยหน้าข้างหน้า' [ผู้พันแอนโธนี] มอรีโนกล่าว 'สิ่งที่เห็นคือสนามเพลาะที่ถูกฝังพร้อมกับคน' มีอาวุธและสิ่งของโผล่ขึ้นมาจากร่างเหล่านั้น...'"<ref name="Sloyan 1991-9-12">"Buried Alive: U.S. Tanks Used Plows To Kill Thousands In Gulf War Trenches" ''Newsday'' (New York), 12 September 1991, p. 1, Patrick Day Sloyan</ref> อย่างไรก็ตามหลังสิ้นสุดสงครามรัฐบาลอิรักได้อ้างว่าพวกเขาพบศพเพียง 44 ศพเท่านั้น<ref>{{cite web|title=frontline: the gulf war: appendix: Iraqi death toll |url=http://www.pbs.org/wgbh/pages/frontline/gulf/appendix/death.html |accessdate=4 December 2005}}</ref> ในหนังสือ"เดอะวอร์สอะเกนส์ทซัดดัม"ของจอห์น ซิมป์สันกล่าวหาทหารอเมริกันว่าพยายามปกปิดเรื่องที่เกิดขึ้น<ref>John Simpson, The Wars Against Saddam. MacMillan: Basingstoke. 2003.</ref> หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว ผู้บังคับบัญชาจากกรมทหารที่ 1 ออกมากล่าวว่า "ผมรู้ว่าการฝังกลบคนแบบนั้นเป็นเรื่องเลวร้าย แต่ผมคิดว่ามันจะเลวร้ายกว่ามากถ้าหากเราส่งทหารของเราเข้าไปในสนามเพลาะนั่นแหละจัดการศัตรูด้วยมีดปลายปืน"<ref name="Sloyan 1991-9-12"/>
 
===การขับไล่ปาเลสไตน์ออกจากคูเวต พ.ศ. 2534===
{{main|การขับไล่ชาวปาเลสไตน์ออกจากคูเวต}}
นโยบายขับไล่ของคูเวตนั้นมีเหตุมาจากการที่ผู้นำองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์[[ยัสเซอร์ อาราฟัต]]เข้าร่วมกับซัดดัมก่อนที่จะมีการรุกรานคูเวต ก่อนหน้าสงครามมีชาวปาเลสไตน์ประมาณ 30% ของประชากรจำนวน 2 ล้านคนในคูเว<ref>{{cite web|url=http://countrystudies.us/persian-gulf-states/19.htm |title=Kuwait – Population |publisher=Countrystudies.us |accessdate=13 May 2011}}</ref> การขับไล่เกิดขึ้นในสัปดาห์หนึ่งของเดือนมีนาคม พ.ศ. 2534 หลังจากที่คูเวตถูกปลดปล่อยแล้ว คูเวตได้ขับไล่ชาวปาเลสไตน์ประมาณ 3 แสนคนออกจากอาณาเขต<ref>[http://news.bbc.co.uk/2/hi/1361060.stm ], [[บีบีซี]] News, 30 May 2001</ref> ในปีพ.ศ. 2554 ชาวปลาเลสไตน์หลายคนได้กลับมายังคูเวตและปัจจุบันมีชาวปาเลสไตน์ในคูเวตประมาณ 9 หมื่นคน<ref name=monitor>[http://www.al-monitor.com/pulse/originals/2013/04/palestinians-open-kuwait-embassy.html]</ref>
 
===การทำลายสิ่งก่อสร้างของพลเรือนโดยกองกำลังผสม===
ในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2534 หนังสือพิมพ์ "เดอะวอชิงตันโพสท์" ตีพิมพ์รายงานข่าวของบาร์ท เกลล์แมนว่า "หลายเป้าหมายถูกเลือกเพียงเพื่อเป็นเป้าหมายรองเพื่อช่วยให้กองทัพอิรักพ่ายแพ้. . . . นักการทหารหวังว่าการทิ้งระเบิดจะช่วยเร่งผลกระทบทางเศรษฐกิจและทางจิตวิทยาจากการคว่ำบาตรอิรัก. . . . พวกเขาจงใจทำลายความสามารถของอิรักในการช่วยเหลือตนเองในฐานะสังคมอุตสาหกรรม. . . ."<ref>23 June 1991, Washington Post, Bart Gellman</ref> ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 หนังสือพิมพ์ "ฟอเรนแอฟแฟร์" ได้ตีพิมพ์ความคิดเห็นของนักการทูตชาวฝรั่งเศสเออคิก โคเลอร์ว่า "คนอิรักที่ไม่เห็นด้วยกับการรุกราน ต้องจ่ายค่าชดใช้ให้กับความบ้าคลั่งของรัฐบาลของพวกเขา. . . . ชาวอิรักเข้าใจถึงการลงมือทางทหารตามกฎหมายเพื่อขับไล่ทหารอิรักออกจากคูเวต แต่พวกเขาไม่เข้าใจว่าทำไมกองกำลังพันธมิตรถึงใช้กำลังทางอากาศโจมตีสิ่งก่อสร้างและอุตสาหกรรมของอิรัก ซึ่งรวมทั้ง โรงจ่ายไฟฟ้า (ถูกทำลายไป 92%) โรงกลั่นน้ำมัน (ถูกทำลายไป 80%) ย่านปิโตรเคมี ศูนย์สื่อสารระยะไกล (รวมทั้งเครือข่ายโทรศัพท์ 135 เครือข่าย) สะพาน (มากกว่าร้อยแห่ง) ถนน ทางหลวง ทางรถไฟ รถไฟพร้อมขบวนที่เต็มไปด้วยสินค้า สถานีถ่ายทอดสิทยุและโทรทัศน์ โรงงานซีเมนต์ และโรงงานผลิตอลูมิเนียม สิ่งทอ สายไฟฟ้า และยา"<ref>"The View From France: America's Unyielding Policy toward Iraq," Foreign Affairs, Vol. 74, No. 1, January/February 1995, pp.61–62</ref> อย่างไรก็ตามต่อมาสหประชาชาติได้ทุ่มเงินนับพันล้านเพื่อซ่อมแซมโรงเรียน โรงพยาบาล และโรงกรองน้ำทั่วอิรัก<ref>{{cite journal|last=Rubin |first=Michael |title=Sanctions on Iraq: A Valid Anti-American Grievance? |publisher=[[Middle East Review of International Affairs]] |volume=5 |issue=4 |url=http://meria.idc.ac.il/journal/2001/issue4/mrubin.pdf |pages=100–115 |date=December 2001 |authorlink=Michael Rubin }}</ref>
 
===การล่วงละเมิดนักเชลยศึกจากกองกำลังผสม===
ในช่วงสงคราม นักบินของกองกำลังผสมที่ถูกยิงตกถูกจับเป็นเชลยศึกผ่านทางโทรทัศน์ พวกเขามีร่องรอยถูกทำร้ายที่เห็นได้ชัดเจน ท่ามกลางการให้การหลายครั้งถึงการได้รับการปฏิบัติที่เลวร้าย<ref>{{cite web|url=http://www.pbs.org/wgbh/pages/frontline/gulf/war/ |title=Frontline: War Stories |publisher=Pbs.org |accessdate=1 February 2011}}</ref> นักบินเครื่อง[[พานาเวีย ทอร์นาโด]]ของกองทัพอากาศอังกฤษ จอห์น นิโคลและจอห์น ปีเตอร์สต่างยอมรับว่าพวกตนถูกทรมานขณะถูกจับกุม<ref>{{cite web|url=http://www.johnnichol.com/The%20Beginning.htm |title=The Flight That Changed My Life |publisher=Johnnichol.com |accessdate=1 February 2011}}</ref><ref>{{cite web|url=http://www.pbs.org/wgbh/pages/frontline/gulf/war/4.html |title=War Story:John Peters |publisher=Pbs.org |accessdate=1 February 2011}}</ref> นิโคลและปีเตอร์สถูกบังคับให้กล่าวต่อต้านสงครามออกโทรทัศน์ สมาชิกหลายคนของหน่วยบราโวทูซีโรจากหน่วย[[เอสเอเอส]]ของอังกฤษถูกจับขณะทำภารกิจเก็บข้อมูลขีปนาวุธสกั๊ด มีเพียงคริส ไรอันเท่านั้นที่สามารถหนีการจับกุมมาได้ สมาชิกที่เหลือของทีมถูกทรมานอย่างทารุณ<ref>''The One that Got Away'' by Chris Ryan & ''Bravo Two Zero'' by Andy McNab</ref> แพทย์อากาศหญิงรอนดา คอร์นัมถูกกระทำชำเราโดยทหารอิรักนายหนึ่งที่จับกุมเธอ<ref name=Time>{{cite news |url=http://www.time.com/time/nation/article/0,8599,438760,00.html |title=A Woman's Burden |publisher=''[[Time (magazine)|Time]]'' magazine |date=28 March 2003}}</ref> หลังจากที่เครื่องแบล็คฮอว์คของเธอถูกยิงตกขณะกำลังตามหานักบินเอฟ-16 ที่เครื่องตก
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}