ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้เยาว์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Fernet (คุย | ส่วนร่วม)
Fernet (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 10:
== กฎหมายไทย ==
 
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย ไม่ได้มีนิยามคำว่าผู้เยาว์ไว้ อย่างไรก็ตาม มาตรา 19 และ 20 ได้กำหนดเหตุพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะไว้ดังนี้
 
"มาตรา ๑๙ บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์"
บรรทัด 18:
ดังนั้น บุคคลจึงบรรลุนิติภาวะและไม่เป็นผู้เยาว์ได้เมื่ออายุครบยี่สิบปี หรือสมรสโดยถูกต้องตามกฎหมาย
 
ผู้เยาว์จะถูกจำกัดความสามารถในการทำนิติกรรมต่าง ๆ ไว้ โดยหากผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ จะต้องได้รับความยินยอมของจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆียะ ซึ่งผู้แทนโดยชอบธรรมนั้นโดยปกติก็คือบิดามารดาของผู้เยาว์นั่นเอง ส่วนปู่ย่าตายาย ญาติ หรือผู้ปกครองตามความเป็นจริงนั้นไม่ใช่ผู้แทนโดยชอบธรรมและไม่มีอำนาจให้ความยินยอมผู้เยาว์ในการทำนิติกรรม เว้นแต่บิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครองและศาลมีคำสั่งแต่งตั้งให้ปู่ย่าตายาย ญาติ หรือบุคคลอื่นเป็นผู้ปกครองตามกฎหมาย
 
คำว่านิติกรรมตกเป็นโมฆียะ หมายถึงนิติกรรมนั้นสมบูรณ์อยู่จนกว่าจะถูกบอกล้างโดยผู้แทนโดยชอบธรรมหรือโดยตัวผู้เยาว์เองเมื่อบรรลุนิติภาวะแล้ว และเมื่อถูกบอกล้างแล้วจะถือว่านิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆะมาตั้งแต่เริ่มแรกโดยให้คู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนไม่มีการทำนิติกรรมดังกล่าวมาก่อนเลย
 
อย่างไรก็ตาม ผู้เยาว์สามารถทำนิติกรรมบางอย่างได้เองโดยไม่ต้องขอความยินยอม และไม่ตกเป็นโมฆียะ กล่าวคือ
* ก. ทำนิติกรรมเพียงเพื่อจะได้สิทธิ หรือหลุดพ้นจากหน้าที่ ซึ่งเป็นนิติกรรมที่เป็นคุณต่อผู้เยาว์ฝ่ายเดียว เช่น รับการให้โดยสเน่หา
* ข. ทำนิติกรรมซึ่งเป็นการต้องทำเองเฉพาะตัว เช่น สมรส
* ค. ทำนิติกรรมซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตนและเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร เช่น ทำนิติกรรมซื้อขายอาหารที่โรงอาหารในโรงเรียน
* ง. ทำพินัยกรรมได้เมื่ออายุสิบห้าปีบริบูรณ์
* จ. จำหน่ายทรัพย์สินตามที่ผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาต
บรรทัด 32:
ข้อจำกัดข้างต้นเป็นข้อจำกัดเฉพาะกรณีการทำนิติกรรมเท่านั้น ส่วนนิติเหตุนั้นไม่มีข้อจำกัดแต่อย่างใด ดังนั้นผู้เยาว์จึงมีหนี้ที่เกิดโดยนิติเหตุ เช่น กระทำละเมิดได้ แต่กฎหมายก็กำหนดให้บิดามารดาของผู้เยาว์ต้องร่วมรับผิดด้วย
 
ในทางอาญา กฎหมายก็ได้จำกัดความสามารถในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอาญาไว้ กล่าวคือผู้เยาว์จะไม่สามารถเป็นโจทก์ฟ้องคดีได้เองไม่ว่าจะได้รับความยินยอมหรือไม่ และจะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการก็ไม่ได้ โดยผู้แทนโดยชอบธรรมจะต้องเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนหรือดำเนินคดีแทนผู้เยาว์ทั้งหมด และจะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการก็ไม่ได้ แต่ข้อจำกัดนี้ไม่รวมถึงการร้องทุกข์หรือการถอนคำร้องทุกข์ ที่ผู้เยาว์ในฐานะผู้เสียหายสามารถดำเนินการด้วยตนเองได้
 
ทั้งนี้ คำว่า "ผู้เยาว์" จะแตกต่างจากคำว่า "เด็ก" และ "เยาวชน" ซึ่งแต่ละกฎหมายก็กำหนดไว้แตกต่างกันไป เช่นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก กำหนดนิยามคำว่าเด็กไว้ว่าบุคคลที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี ในขณะที่พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว กลับนิยามคำว่าเด็กไว้ว่าบุคคลที่ยังอายุไม่เกินสิบห้าปี ส่วนเยาวชนคือบุคคลที่อายุเกินสิบห้าปีแล้วแต่ยังไม่ถึงสิบแปดปี