ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้เยาว์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Fernet (คุย | ส่วนร่วม)
Fernet (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 29:
* จ. จำหน่ายทรัพย์สินตามที่ผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาต
* ฉ. กระทำการใด ๆ อันเกี่ยวพันกับประกอบธุรกิจทางการค้าหรือธุรกิจอื่น หรือเป็นลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงาน ตามที่ผู้แทนโดยชอบธรรมยินยอม
 
ข้อจำกัดข้างต้นเป็นข้อจำกัดเฉพาะกรณีการทำนิติกรรมเท่านั้น ส่วนนิติเหตุนั้นไม่มีข้อจำกัดแต่อย่างใด ดังนั้นผู้เยาว์จึงมีหนี้ที่เกิดโดยนิติเหตุ เช่น กระทำละเมิดได้ แต่กฎหมายก็กำหนดให้บิดามารดาของผู้เยาว์ต้องร่วมรับผิดด้วย
 
ในทางอาญา กฎหมายก็ได้จำกัดความสามารถในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอาญาไว้ กล่าวคือผู้เยาว์จะไม่สามารถเป็นโจทก์ฟ้องคดีได้เองไม่ว่าจะได้รับความยินยอมหรือไม่ โดยผู้แทนโดยชอบธรรมจะต้องเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนหรือดำเนินคดีแทนผู้เยาว์ทั้งหมด และจะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการก็ไม่ได้ แต่ข้อจำกัดนี้ไม่รวมถึงการร้องทุกข์หรือการถอนคำร้องทุกข์ ที่ผู้เยาว์สามารถดำเนินการด้วยตนเองได้
 
ทั้งนี้ คำว่า "ผู้เยาว์" จะแตกต่างจากคำว่า "เด็ก" และ "เยาวชน" ซึ่งแต่ละกฎหมายก็กำหนดไว้แตกต่างกันไป เช่นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก กำหนดนิยามคำว่าเด็กไว้ว่าบุคคลที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี ในขณะที่พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว กลับนิยามคำว่าเด็กไว้ว่าบุคคลที่ยังอายุไม่เกินสิบห้าปี ส่วนเยาวชนคือบุคคลที่อายุเกินสิบห้าปีแล้วแต่ยังไม่ถึงสิบแปดปี
[[หมวดหมู่:กฎหมายบุคคล]]
[[หมวดหมู่:กฎหมายครอบครัว]]