ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุทธนาวีที่ตราฟัลการ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ใช้ปีคศ|300px}}
{{Infobox military conflict
|conflict=ยุทธการยุทธนาวีทราฟัลการ์
|partof=[[สงครามนโปเลียน]]
|image=[[File:Joseph Mallord William Turner 027.jpg|300px]]
|caption= ''ยุทธการยุทธนาวีทราฟัลการ์''
|date=21 ตุลาคม ค.ศ. 1805
|coordinates = {{Coord|36.29299|N|6.25534|W|type:event_source:placeopedia|display=inline,title}}
บรรทัด 13:
|commander1={{flagicon|United Kingdom|naval}} [[โฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานท์เนลสันที่ 1|โฮราชิโอ เนลสัน]] {{KIA}}<br/> {{flagicon|United Kingdom|naval}} [[Cuthbert Collingwood, 1st Baron Collingwood|คุทเบิร์ท คอลลิงวูด]]
|commander2={{flagicon|France}} [[Pierre-Charles Villeneuve|ปิแอร์-ชาร์ลส วีลเลนิว]] <small>([[เชลยสงคราม|เชลย]])</small> <br />{{flagicon|Spain|1785}} [[Federico Carlos Gravina y Nápoli|เฟเดอริโก เกรวินา]] <small>([[เสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่|บาดเจ็บตาย]])</small>
|strength1=33 เรือรบ <br>(27 ลำในสนามกระบวนรบ)
|strength2=41 เรือรบ <br>(33 ลำในสนามกระบวนรบ)
|casualties1=458 เสียชีวิต<br/>1,208 บาดเจ็บ
<br/>'''ทั้งหมด: 1,666'''<ref name="Adkin524">{{harvnb|Adkin|2007|p=524}}.</ref>
บรรทัด 28:
}}
 
'''ยุทธการยุทธนาวีทราฟัลการ์''' ({{lang-en|Battle of Trafalgar}}, 21 ตุลาคม ค.ศ. 1805) เป็นการกระทำ[[ยุทธนาวี]] ระหว่าง [[ราชนาวีอังกฤษ]]กับกองเรือผสมของ[[กองทัพเรือฝรั่งเศส]]ร่วมกับ[[กองทัพเรือสเปน]] ในช่วง[[War of the Third Coalition|สงครามสัมพันธมิตรที่สาม]] (สิงหาคม-ธันวาคม 1805) ใน [[สงครามนโปเลียน]] (1803–1815)
 
ราชนาวีอังกฤษโดย 27 เรือรบภายใต้บัญชาการของ ''พลเรือโท ลอร์ด เนลสัน'' สามารถมีชนะเหนือกองเรือผสมฝรั่งเศส-สเปน 33 ลำ ภายใต้บัญชาการของ ''พลเรือเอก ปิแอร์-ชาร์ลส วีลเลนิว'' แห่งกองทัพเรือฝรั่งเศส ที่ชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของสเปน ทางตะวันตกของ[[แหลมทราฟัลการ์]] ซึ่งกองเรือฝรั่งเศสสูญเสียเรือรบไปถึง 22 ลำโดยที่ไม่สามารรถจมเรือรบอังกฤษแม้แต่ลำเดียว
 
ชัยชนะที่งดงามของอังกฤษครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ราชนาวีอังกฤษได้รับความยอมรับสูงสุดในห้วงศตวรรษ ในฉายาของกองทัพเรือที่ทรงแสนยานุภาพที่สุด
 
== จุดเริ่มต้น ==
หลัง[[การปฏิวัติฝรั่งเศส]] [[จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1]] ภายใต้การนำของ [[จักรพรรดินโปเลียนที่ 1|จักรพรรดินโปเลียน โบนาปาร์ต]] กลายเป็นประเทศที่มีอำนาจทางการทหารโดดเด่นไปทั่วทวีปยุโรป นโปเลียนต้องการจะบุกเกาะอังกฤษเนื่องด้วยเชื่อว่าอังกฤษนั้นมีกองทัพบกที่อ่อนแอ และอังกฤษถือเป็นภัยคุกคามที่น่าเกรงสำหรับฝรั่งเศส เพราะอังกฤษมีกองทัพเรือที่ขึ้นชื่อว่าทรงแสนยานุภาพที่สุดในโลก ที่กองเรือฝรั่งเศสเคยพ่ายแพ้มาแล้วอย่างหมดท่า ซึ่งด้วยราชนาวีอังกฤษนี้เองทำให้อังกฤษมีศักยภาพพอที่จะโจมตีฝรั่งเศสรวมไปถึงประเทศใกล้เคียงได้อย่างง่ายดาย ดังนั้นแล้วฝรั่งเศสจึงหันไปร่วมมือกับสเปนที่เป็นพันธมิตร ซึ่งกองทัพเรือสเปนก็จัดว่าน่าเกรงขาม
 
== เหตุการณ์ ==
=== ก่อนการปะทะ ===
ราชนาวีอังกฤษสามารถปิดล้อมทะเลของฝรั่งเศสได้ ซึ่งนั่นเองส่งผลกระทบต่อการพาณิชย์ของฝรั่งเศสอย่างมาก ฝรั่งเศสเองก็เร่งระดมทรัพยากรป้อนกองทัพเรืออย่างมหาศาล กองทัพเรือฝรั่งเศสสามารถฝ่าวงล้อมของราชนาวีอังกฤษไปรวมกับกองเรือสเปนที่คาดิซได้ ในขณะที่นโปเลียนซ้อมกองทัพบกรออยู่ที่ชายฝั่งทางเหนือของฝรั่งเศส เตรียมยกพลขึ้นบกที่เกาะอังกฤษ
 
''ลอร์ด เนลสัน'' นำกองเรืออังกฤษไล่ตามกองเรือฝรั่งเศสที่ฝ่าวงล้อมมาได้ จนมาถึงคาดิซ ที่นั่นราชนาวีอังกฤษสามารถโอบล้อมกองเรือผสมฝรั่งเศส-สเปนไว้ได้ กองเรือผสมสามารถที่จะฝ่าวงล้อมหลวมๆของเนลสันมาได้ และมุ่งหน้าไปยังมหาสมุทรแอตแลนติก เพื่อที่กองเรือผสมจะไปรวมกับกองเรือฝรั่งเศสอีก 8 ลำ ซึ่งนั่นมากพอที่จะทลายแนวป้องกันช่องแคบอังกฤษ ลอร์ด เนลสัน นำกองเรืออังกฤษตามกองเรือผสมมาทัน ที่ทราฟัลการ์ โดยที่อังกฤษมีเรือรบ 27 ลำ และกองเรือผสมมี 33 ลำ
 
=== แผนของเนลสัน ===
[[ภาพ:Trafalgar_1200hr.svg|250px|thumb|left|แผนภาพแสดงสถานการณ์ราวเที่ยงวัน <br> {{legend|Red|กองเรืออังกฤษ|border=0}} {{legend|Black|เรือรบฝรั่งเศส|border=0}} {{legend|Blue|เรือรบสเปน|border=0}}]]
 
โดยทั่วไปแล้ว การกระทำยุทธนาวีของยุโรป จะทำในรูปแบบ ''กระบวนรบ'' ({{lang-en|line of battle}}, ↑↓) ที่กองเรือของทั้งสองฝั่งจะแล่นสวนกันในทางขนาน และแต่ละฝ่ายจะระดมยิงปืนใหญ่กราบเรือใส่กัน กองเรือทั้งสองจะแล่นเป็นเส้นขนานกันไปยิงปืนใหญ่แลกกันไป
 
คืนก่อนการรบ ลอร์ด เนลสัน ได้ร่วมวางแผนกับเหล่าผู้บัญชาการเรือ และเขาไม่ยอมใช้วีธีการรบแบบที่ว่านี้ เพราะกองเรือผสมมีเรือมากกว่า และเรือหลายลำของกองเรือผสมนั้นมีขนาดและปริมาณปืนมากกว่าของกองเรืออังกฤษด้วย เนลสันจึงตัดสินใจจะแบ่งกองเรือของเขาออกเป็นสองแถว โดยที่กองเรือทั้งสองแถวนี้จะพุ่งไปตัดกับแถวของกองเรือผสมจากด้านข้าง ซึ่งการกระทำเช่นนั้นเป็นการบีบให้กองเรือผสมต้องสู้ ไม่สามารถแล่นหนีได้ แต่แผนนี้มีจุดด้วยตรงที่ว่า ระหว่างพุ่งเข้าหากองเรือผสม กองเรืออังกฤษจะถูกระดมยิงใส่โดยที่ไม่สามารถตอบโต้ได้เลย ซึ่งแน่นอนว่าเรือที่นำขบวนกองเรืออังกฤษนั้นจะเสียหายมากที่สุด มีโอกาสสูงที่จะอัปปางก่อนถึงกองเรือผสม
 
== วันปะทะ ==
เช้าวันรุ่งขึ้นกองเรืออังกฤษทำตามแผน ลอร์ด เนลสัน นำเรือธงของตนชื่อ ''HMS Victory'' มาเป็นเรือหัวขบวนในแถวแรก คอลลิงวูด รองแม่ทัพของเนลสันก็นำเรือของตน ''HMS Royal Sovereign'' มานำหัวขบวนในแถวที่สอง กองเรืออังกฤษพุ่งฝ่าดงกระสุนเข้าหากองเรือผสม ก่อนเข้าปะทะเนลสันให้ธงสัญญาณของเรือหลวงวิคตอรีแปรสัญญาณว่า "อังกฤษเชื่อมั่นว่าทุกคนจะทำตามหน้าที่"
 
[[ภาพ:Fall of Nelson.jpg|220px|thumb|''ลอร์ด เนลสัน'' ถูกยิงขณะที่บัญญาการอยู่บนดาดฟ้าเรือ ''HMS Victory'']]
เนื่องจากวันนั้นกระแสลมอ่อน กองเรืออังกฤษใช้เวลาเกือบชั่วโมงในการฝ่าเข้าหากองเรือผสม เรืออังกฤษบางลำโดนยิงเสากระโดงหักแล่นไปไหนไม่ได้ แต่เนื่องจากกองเรืออังกฤษเข้าปะทะเป็นเส้นตรง กองเรือผสมจึงยิงได้แต่เรืออังกฤษลำหน้าๆเท่านั้น เมื่อกระบวนเรืออังกฤษสามารถทะลวงกระบวนทัพของกองเรือผสมได้ ก็เปิดฉากระดมยิงปืนใหญ่ทั้งสองกราบใส่กองเรือผสม โดยที่เรืออังกฤษลำหลังๆซึ่งไม่ได้รับความเสียหายเลยก็รีบเข้ามาช่วยระดมยิงกองเรือผสม ผลก็คือกระขวนทัพของกองเรือผสมส่วนกลางกับส่วนหลังนั้นโดนกองเรืออังกฤษเข้าโจมตีโดยที่กองเรือผสมส่วนหน้าไม่สามารถช่วยเหลือได้ เพราะการจะช่วยกองเรือส่วนหลังจะต้องกลับไปอ้อมเรือมาซึ่งเสียเวลามากและคงจะไม่ทันการ ดังนั้นแล้ว กองเรือส่วนหน้าจึงตัดสินใจหนีไป ระหว่างการรบนี้ ลอร์ด เนลสันถูกยิงเข้ากระทบหัวไหล่ทะลุตัดกระดูกสันหลังจนถึงแก่อสัญกรรมท่ามกลางชัยชนะของราชนาวีอังกฤษ ก่อนเสียชีวิตเขาพูดขึ้นอย่างแผ่วเบาว่า "ขอบคุณพระเจ้า ผมได้ทำหน้าที่ของผมแล้ว"<ref name="Hibbert 376">{{harvnb| Hibbert|1994|p=376}}.</ref>
 
== อ้างอิง ==