ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าคุณจอมมารดาเอม ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ScorpianPK (คุย | ส่วนร่วม)
ScorpianPK ย้ายหน้า เจ้าคุณจอมมารดาเอม ไปยัง [[เจ้าคุณจอมมารดาเอม ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ...
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:เจ้าคุณจอมมารดาเอม.JPG|thumbnail|250px|เจ้าคุณจอมมารดาเอม]]
{{ชื่ออื่น|||เจ้าคุณพระชนนี}}
{{กล่องข้อมูล เชื้อพระวงศ์
| ชื่อ = เจ้าคุณจอมมารดาเอม
| สีพิเศษ = Skyblue
| ภาพ = ไฟล์:เจ้าคุณจอมมารดาเอม.JPG
[[ไฟล์:| พระนาม = เจ้าคุณจอมมารดาเอม.JPG|thumbnail|250px|<br>เจ้าคุณจอมมารดาเอม]]พระชนนี
| พระนามเต็ม =
| วันประสูติ =
| วันสิ้นพระชนม์ =
| พระอิสริยยศ = เจ้าคุณจอมมารดา
| พระราชบิดา =
| พระบิดา = บุญมี
| พระราชมารดา =
| พระมารดา =
| มารดา =
| พระชายา =
| ชายา =
| หม่อม =
| พระราชสวามี = [[พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว]]
| พระสวามี =
| พระราชโอรส/ธิดา = พระองค์เจ้าหญิง<br>พระองค์เจ้าชายยอดยิ่งยศ<br>พระองค์เจ้าชายปรีดา<br>พระองค์เจ้าชายเนาวรัตน์<br>พระองค์เจ้าหญิงวงจันทร์
| บุตร/ธิดา =
| ราชวงศ์ = [[ราชวงศ์จักรี]]
|}}
 
'''เจ้าคุณจอมมารดาเอม''' เป็นพระชายาองค์แรกของ[[พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ตั้งแต่ครั้งดำรงพระยศที่เจ้าฟ้าจุฑามณี หรือที่บุคคลทั่วไปเรียกขานพระนามว่าเจ้าฟ้าน้อย ตามประวัติที่เล่าสืบกันมา ครั้งที่เจ้าฟ้าน้อยเสด็จผนวชตามพระราชประเพณีและจำพรรษาอยู่วัดระฆัง โปรดที่จะพายเรือออกบิณฑบาตโดยเรือพระทีนั่งลำเล็ก เข้าคลองบางกอกน้อย ซึ่งมีบ้านขุนนางคหบดีท่านหนึ่งตั้งโต๊ะใส่บาตรพระอยู่หน้าท่าน้ำเป็นประจำ และปรากฏบุตรีของท่านเจ้าของบ้านเป็นผู้ลงมาตักบาตรเองเสมอๆ วันหนึ่งขณะที่นางกำลังตักข้าวใส่บาตรพระภิกษุหนุ่มรูปงาม ท่าทางดูจะมิใช่สามัญชนทั่วไป พระภิกษุองค์นั้นก็ปิดฝาบาตรงับมือนางโดยเจตนา นางตกใจปล่อยมือจับทัพพีจนตกน้ำ แล้วรีบวิ่งหนีขึ้นเรือนไป ส่วนพระภิกษุหนุ่มดูจะพึงใจมาก บ่ายวันนั้นได้มีขบวนเชิญเครื่องทำขวัญและทัพพีอันใหม่มายังบ้านนั้น เจ้าสัวบุญมีเจ้าของบ้านเห็นวัสดุและลวดลายของทัพพีก็ทราบได้ทันทีว่าเจ้าของทัพพีเป็นใคร จึงเฝ้าถนอมรักษาบุตรีของตนไว้อย่างดีและมิให้ลงไปใส่บาตรพระอีก
 
ครั้นพระภิกษุเจ้าฟ้าจุฑามณีลาผนวชแล้ว ทรงสู่ขอบุตรีของเจ้าสัวบุญมีนั้นเป็นพระชายา ชื่อแต่แรกว่าเจ้าจอมเอมและได้เป็นเจ้าจอมมารดาเอมตามลำดับ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติและทรงสถาปนาสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ (เจ้าฟ้าจุฑามณี) พระอนุชาร่วมพระราชชนนีให้ดำรงพระอิสสริยยศเสมอกษัตริย์ เฉลิมพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ทรงเจียมพระองค์เป็นอย่างยิ่ง ระมัดระวังที่จะไม่ตีพระองค์เสมอพระเชษฐา โดยเฉพาะมิได้ทรงสถาปนาเจ้าจอมคนใดขึ้นเป็นเจ้า เพื่อเลี่ยงมิให้พระราชโอรสและธิดาจะมีพระฐานันดรศักดิ์เกินชั้นพระองค์เจ้า ดังนั้นเจ้าจอมมารดาเอมจึงเพียงได้เลื่อนเป็นเจ้าคุณจอมมารดาในรัชกาลต่อมา เมื่อพระราชโอรสองค์ใหญ่ได้ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ อุปราชวังหน้า โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้ขนานพระนามอย่างเป็นทางการว่า เจ้าคุณพระชนนี คนทั่วไปยังคงเรียกว่าเจ้าคุณจอมมารดาเอม
เส้น 16 ⟶ 38:
บุตรหลานของพระยารัตนราชเศรษฐี(อ๋องไซ)สามารถปักหลักค้าขายในกรุงธนบุรีและบางกอกสืบต่อกันอย่างมั่นคง บุตรคนหนึ่งชื่อเจ้าสัวบุญมาก มีบุตรคนหนึ่งชื่อเจ้าสัวบุญมี ผู้เป็นบิดาท่านเจ้าคุณจอมมารดาเอม
 
ท่านเจ้าคุณจอมมารดาเอมเป็นต้นราชสกุลฝ่ายหญิง โดยชั้นลูก ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ มี 1 ราชสกุลคือ ราชสกุลนวรัตน
และโดยชั้นหลานย่า ในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ 9 ราชสกุลคือ ราชสกุลวิไลยวงศ์ ราชสกุลกาญจนะวิชัย ราชสกุลสุทัศนีย์ ราชสกุลวรวุฒิ ราชสกุลรุจวิชัย ราชสกุลวิบูลยพรรณ ราชสกุลรัชนี ราชสกุลวิสุทธิ
 
{{เรียงลำดับ|อเม}}