ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2481"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2481''' ถือเป็น '''การเลือกตั้งครั้งที่ 3 ของประเทศไทย''' นับตั้งแต่มี[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475|การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475]] มา
 
การเลือกตั้งครั้งนี้เกิดขึ้นในวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 ซึ่งเกิดขึ้นหลังจาก[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2480|การเลือกตั้งครั้งที่ 2]] ที่มีขึ้นก่อนหน้านั้นไม่ถึง 1 ปี สืบเนื่องจากการที่ พันเอก [[พจน์ พหลโยธิน|พระยาพหลพลหยุหเสนา]] นายกรัฐมนตรีได้ประกาศพระราชกฤษฎีกา[[การยุบสภาผู้แทนราษฎรไทย|ยุบสภาผู้แทนราษฎร]]ขึ้นเมื่อวันที่ 13 กันยายน ปีเดียวกัน อันถือเป็นการยุบสภาฯ เป็นครั้งแรกด้วยนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมา เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถที่จะควบคุมความวุ่นวายในสภาผู้แทนราษฎรได้ อันเนื่องจากรัฐบาลได้เสนออนุมัติต่อสภาฯ เรื่องขอรวมพระสงฆ์ธรรมยุติกนิกายและมหานิกายเข้าด้วยกัน และเสนอพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี [[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย|สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]ประเภทที่ 1 (ส.ส.ประเภทที่ 1) หรือ ส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนหลายคน เช่น นาย[[ถวิล อุดล]] [[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด|ส.ส.จังหวัดร้อยเอ็ด]] ได้เป็นผู้อภิปรายในเรื่องนี้อย่างดุเดือด อีกทั้งก่อนหน้านั้นไม่นาน มีการทำร้ายร่างกายสมาชิกสภาฯกัน คือ การจับนาย[[เลียง ไชยกาล]] [[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี|ส.ส.จังหวัดอุบลราชธานี]] โยนลงสระน้ำหลังอาคารรัฐสภา ([[พระที่นั่งอนันตสมาคม]] ในขณะนั้น) รัฐบาลไม่สามารถสอบสวนหาตัวผู้กระทำการมาลงโทษได้ แม้จะรู้กันโดยทั่วไปว่า เป็นการกระทำของ ส.ส.ประเภทที่ 2 ที่รัฐบาลเป็นผู้แต่งตั้ง ตลอดจนการโจมตีการทำงานของรัฐบาลอย่างดุเดือด ตรงไปตรงมาของหนังสือพิมพ์หลายฉบับด้วย เช่น "ชุมนุม" ของ ร้อยโท [[ณเณร ตาละลักษณ์]] (ซึ่งต่อมาได้ลงรับเลือกตั้งเป็น [[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร|ส.ส.จังหวัดพระนคร]] ในครั้งนี้)
 
ผลการเลือกตั้ง มีการเลือก ส.ส. มาทั้งหมด 91 คน คิดเป็นร้อยละ 49.35 ของสภาฯ โดยมีผู้ออกมาใช้สิทธิร้อยละ 35.05 จังหวัดที่มีผู้ออกมาใช้สิทธิมากที่สุดคือ จังหวัดนครนายก คิดเป็นร้อยละ 67.36 และจังหวัดที่มีผู้ออกมาใช้สิทธิน้อยที่สุด คือ จังหวัดตรัง คิดเป็นร้อยละ 16.28<ref>[http://www.ect.go.th/newweb/th/election/ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]. คณะกรรมการการเลือกตั้ง. สืบค้น 6-7-2554.</ref>