ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2481"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5:
ผลการเลือกตั้ง มีการเลือก ส.ส. มาทั้งหมด 91 คน คิดเป็นร้อยละ 49.35 ของสภาฯ โดยมีผู้ออกมาใช้สิทธิร้อยละ 35.05 จังหวัดที่มีผู้ออกมาใช้สิทธิมากที่สุดคือ จังหวัดนครนายก คิดเป็นร้อยละ 67.36 และจังหวัดที่มีผู้ออกมาใช้สิทธิน้อยที่สุด คือ จังหวัดตรัง คิดเป็นร้อยละ 16.28<ref>[http://www.ect.go.th/newweb/th/election/ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]. คณะกรรมการการเลือกตั้ง. สืบค้น 6-7-2554.</ref>
 
หลังการเลือกตั้งแล้ว พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ประกาศว่าจะไม่ขอรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อ อันเนื่องจากสภาพร่างกายที่เจ็บป่วยจากอาการเส้นโลหิตในสมองแตก ต่อมาในวันที่ 6 ธันวาคม ปีเดียวกัน ได้มีการเชิญตัวบุคคลสำคัญและรัฐมนตรีหลายคนไปปรึกษาหารือกันอย่างเป็นความลับที่[[วังปารุสกวัน]] อันเป็นที่พำนักของ พ.อ.พระยาพหลฯ รักษาการนายกฯ และในวันที่ 16 ธันวาคม ปีเดียวกัน ก็ได้มีการแต่งตั้ง พ.อ.[[หลวงพิบูลสงคราม]] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลชุดที่แล้ว เป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยการลงนามของคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ([[พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา]], [[เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)|เจ้าพระยายมราช]], [[เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม อินทรโยธิน)|เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน]]) ในพระปรมาภิไธยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
 
อนึ่งระหว่างการเลือกตั้ง ทั้งก่อนหน้านั้นและหลังจากนั้นไม่นาน ได้เกิดเหตุการณ์การลอบสังหาร พ.อ.หลวงพิบูลฯหลายครั้ง ทำให้สถานการณ์ในประเทศขณะนั้นเต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวาย แต่ก็มีเหตุการณ์สำคัญแทรกเข้ามา คือ การเสด็จนิวัติพระนครครั้งแรกของ[[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล]] เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 หลังการเลือกตั้งเสร็จสิ้นลงเพียง 3 วัน