ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มินะทอร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 1:
[[Fileไฟล์:Tondo Minotaur London E4 MAN.jpg|thumb|250px|มิโนทอร์บนหม้อดินเผาสมัยกรีก ราว 515 ปีก่อนคริสต์ศักราช]]
 
ใน[[เทพปกรณัมกรีก]] '''มิโนทอร์''' ({{lang-en|Minotaur}}) เป็นสิ่งมีชีวิตซึ่งมีศีรษะเป็นโค มีกายเป็นคน<ref>[http://dictionary.reference.com/browse/Minotaur "Minotaur"] at dictionary.reference.com</ref> หรือที่[[โอวิด]] (Ovid) กวีโรมัน พรรณนาว่า "กึ่งคนกึ่งโค"<ref>''semibovemque virum semivirumque bovem'', according to [[Ovid]], ''[[Ars Amatoria]]'' 2.24, one of the three lines that his friends would have deleted from his work, and one of the three that he, selecting independently, would preserve at all cost, in the apocryphal anecdote told by [[Albinovanus Pedo]]. (noted by J. S. Rusten, "Ovid, Empedocles and the Minotaur" ''The American Journal of Philology'' '''103'''.3 (Autumn 1982, pp. 332-333) p. 332.</ref> มิโนทอร์พำนักอยู่ใน[[ลายวงกต|วงกต]]ซึ่งเป็นหมู่อาคารมีทางเดินคดเคี้ยว ณ กลาง[[ครีต|เกาะครีต]]<ref>Labyrinth patterns as painted or inscribed do not have dead ends like a maze; instead, a single path winds to the center, where, with a single turn, the alternate path leads out again. See Kern, ''Through the Labyrinth'', Prestel, 2000, Chapter 1, and Doob, ''The Idea of the Labyrinth'', Cornell University Press, 1990, Chapter 2.</ref> และเป็นผลงานที่วิศวกร[[Daedalus|เดดาลัส]] (Daedalus) กับ[[Icarus|อีคารัส]] (Icarus) บุตร ร่วมกันสร้างสรรค์ขึ้นตามพระราชโองการ[[Minos|พระเจ้าไมนอส]] (Minos) แห่งเกาะครีต ภายหลัง มิโนทอร์ถูก[[Theseus|ธีเซียส]] (Theseus) วีรบุรุษชาวเอเธนส์ ประหารในวงกตนั้นเอง
บรรทัด 8:
=== กำเนิด ===
 
[[Fileไฟล์:Pompeii - Casa dei Vettii - Pasiphae.jpg|left|250px|thumb|วิศวกรเดดาลัสถวายโคจำลองให้นางพาซีฟาอีใช้ร่วมประเวณีกับโคเผือก]]
 
เมื่อเสวยราชย์ในเกาะครีตแล้ว พระเจ้าไมนอสต้องทรงแย่งชิงอำนาจการปกครองกับพระเชษฐาและพระอนุชาเนือง ๆ จึงทรงวอนขอให้[[โพไซดอน]] (Poseidon) ประทาน[[วัวแห่งครีต|โคเผือก]]เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าเทพยดาสนับสนุนพระองค์ แล้วพระเจ้าไมนอสจะได้ทรงสังหารโคนั้นเซ่นสรวงโพไซดอนต่อไป แต่เมื่อได้ทรงรับโคนั้นมาแล้ว ทรงเห็นแก่ความงดงามผ่าเผยของโค จึงหักพระทัยฆ่าโคไม่ลง และเก็บรักษาโคนั้นไว้ แล้วประหารโคเผือกตัวอื่นสังเวยแทน โพไซดอนเมื่อทราบก็โกรธ สั่ง[[แอโฟรไดที]] (Aphrodite) กามเทวี บันดาลให้[[Pasiphaë|พาซีฟาอี]] (Pasiphaë) ชายาพระเจ้าไมนอส หลงรักโคเผือกดังกล่าวอย่างรุนแรง
บรรทัด 18:
=== รูปลักษณ์ ===
 
[[Fileไฟล์:Cima da Conegliano, Teseo uccide il Minotauro.jpg|200px|thumb|right|มิโนทอร์แบบหัวและกายอย่างคนอยู่บนตัวโค ขณะถูกธีเซียสประหาร]]
 
ศิลปะสมัยคลาสสิกมักแสดงรูปมิโนทอร์เป็นมนุษย์เพศผู้มีศีรษะเป็นโคและมีหางโค ตามที่[[Sophocles|ซอฟาคลีส]] (Sophocles) นักละครชาวกรีก ประพันธ์ไว้ในงานเรื่อง ''[[Women of Trachis|ทราคีนีอี]] (Trachiniae)'' ว่า ผีเสื้อน้ำ[[Achelous|แอคีโลอัส]] (Achelous) เคยกล่าวไว้ในคราวเกี้ยวนาง[[Deianira|ดีอาไนรา]] (Deianira) ว่า มิโนทอร์หัวเป็นโคกายเป็นคน
บรรทัด 26:
=== ตาย ===
 
[[Fileไฟล์:Theseus victor of the Minotaur mg 0114.jpg|left|250px|thumb|''ธีเซียสผู้ล้มมิโนทอร์ (Theseus victor of the Minotaur)'' ภาพสีน้ำมันของ[[Charles-Édouard Chaise|ชาลส์-เอดูอาร์ เชส]] (Charles-Édouard Chaise) ราว ค.ศ. 1791]]
 
หลังจากมิโนทอร์ถูกขังไว้ในวงกตแล้ว พระเจ้าไมนอสทรงเกิดหมางพระทัยกับกรุงเอเธนส์ เนื่องจาก[[Androgeus|แอนโดรเจียส]] (Androgeus) พระโอรส ถูกชาวเอเธนส์ฆ่าตายกลางงานแข่งขัน[[Panathenaic Games|กีฬาแพแนเธเนีย]] (Panathenaic Games) เพราะชาวเอเธนส์ไม่ชอบใจที่แอนโดรเจียสชนะ อีกเรื่องว่า [[Aegeus|พระเจ้าอีเจียส]] (Aegeus) แห่งกรุงเอเธนส์ทรงบัญชาให้โคเผือกตัวข้างต้นไปสังหารแอนโดรเจียสกลางนคร[[Marathon, Greece|แมราธอน]] (Marathon) แต่ไม่ว่าด้วยเหตุใด พระเจ้าไมนอสได้เสด็จยกพยุหโยธาไปเอากรุงเอเธนส์เพื่อทรงแก้แค้นในการสูญเสียพระโอรสเป็นผลสำเร็จ และ[[Catullus|คาทัลลัส]] (Catullus) บรรยายไว้ในงานเขียนเรื่องกำเนิดมิโนทอร์ ว่า กรุงเอเธนส์ "ถูกพิบัติภัยร้ายแรงบังคับให้ใช้ค่าปฏิกรรมในการคร่าชีวิตแอนโดรเจียส" โดยพระเจ้าอีเจียสต้องทรงชำระค่าปฏิกรรมนั้นด้วยการส่ง "[[เหยื่อสังเวยมิโนทอร์|ชายหนุ่มและหญิงโสด]]พร้อมกันไปเป็นภักษาหาร" ของมิโนทอร์<ref>[http://rudy.negenborn.net/catullus/text2/e64.htm Carmen 64].</ref> ในการนี้ พระเจ้าไมนอสทรงกำหนดให้จับสลากเลือกชายเจ็ดคนหญิงเจ็ดคนส่งมาทุก ๆ เจ็ดปีหรือเก้าปี (บางแห่งว่าทุกปี)<ref>[[Servius]] on ''[[Aeneid]]'', 6. 14: ''singulis quibusque annis'' "every one year". The annual period is given by J. E. Zimmerman, ''Dictionary of Classical Mythology'', [[Harper & Row]], 1964, article "Androgeus"; and H. J. Rose, ''A Handbook of Greek Mythology'', Dutton, 1959, p. 265. Zimmerman cites Virgil, Apollodorus, and Pausanias. The nine-year period appears in Plutarch and Ovid.</ref> เพื่อมาให้มิโนทอร์บริโภคถึงในวงกต
 
ในคราวที่จะต้องส่งคนไปเป็นครั้งที่สามนั้น ธีเซียส พระโอรสพระเจ้าอีเจียส อาสาไปฆ่ามิโนทอร์ถวาย โดยให้คำมั่นว่า ถ้ากิจสำเร็จจะล่องเรือกลับมาโดยชักใบสีชาว หาไม่แล้วจะใช้ใบเรือสีดำอย่างเดิม ครั้นไปถึงเกาะครีต [[Ariadne|แอรีแอดนี]] (Ariadne) กับ[[Phaedra (mythology)|ฟีดรา]] (Phaedra) ธิดาพระเจ้าไมนอส เกิดปฏิพัทธ์ธีเซียสด้วยกันทั้งคู่ นางแอรีแอดนีซึ่งเป็นคนพี่จึงเสด็จมาแนะวิธีรอดพ้นจากกลไกลวงกตให้แก่ธีเซียส โดยในบางเรื่องว่า นางมอบด้ายให้เขาผูกบานประตูไว้เมื่อเข้าไปในวงกต แล้วสาวด้ายทิ้งไว้ตามทางที่เดินไป เมื่อประหารมิโนทอร์โดยใช้กระบี่ของพระเจ้าอีเจียสตัดศีรษะแล้ว เขาจึงหาทางกลับออกมาได้ โดยนำพาชายหญิงคนอื่น ๆ ที่เข้าไปพร้อมกันในคราวนั้นออกมาด้วย เมื่อกลับกรุงเอเธนส์ ธีเซียสทิ้งนางแอรีแอดนีไว้บนเกาะ[[Naxos (island)|แน็กซอส]] (Naxos) แล้วเอานางฟีดราเป็นภริยาเพียงหนึ่งเดียว แต่ลืมเปลี่ยนใบเรือจากสีดำเป็นสีขาว ขณะนั้น พระเจ้าอีเจียสประทับอยู่บนแหลม[[Sounion|ซูเนียน]] (Sounion) ทอดพระเนตรเห็นใบเรือดำ เข้าพระทัยว่า พระโอรสถูกฆ่าด้วยเงื้อมมืออสุรกายมิโนทอร์เสียแล้ว ก็โทมนัสคร่ำครวญ กระโจนจากแหลมนั้นลงสู่ท้องน้ำเบื้องล่างปลิดพระชนม์พระองค์เอง ทะเลนั้นจึงขนานนามว่า [[ทะเลอีเจียน|อีเจียน]]<ref>Plutarch, ''Theseus,'' 15&mdash;15—19; [[Diodorus Siculus]] i. I6, iv. 61; ''[[Bibliotheca (Pseudo-Apollodorus)|Bibliotheke]]'' iii. 1,15</ref> เป็นเหตุให้ธีเซียสได้ราชสมบัติต่อมา
 
== อ้างอิง ==