ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มินะทอร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5:
คำ "มิโนทอร์" ในภาษาอังกฤษมาจากคำ "Μῑνώταυρος" (Mīnṓtauros,) ใน[[ภาษากรีกโบราณ]] แปลว่า โคแห่งพระเจ้าไมนอส โดยในภาษาอังกฤษนั้น คำ "มิโนทอร์" เป็นทั้งวิสามานยนามใช้เรียกสิ่งมีชีวิตตามตำนานข้างต้น และเป็นสามานยนามใช้เรียกสิ่งมีชีวิตกึ่งโคกึ่งคนตัวอื่น ๆ โดยทั่วไป ส่วนชาวครีตเองเรียกสัตว์นี้ด้วยวิสามานยนามว่า "[[asterion|แอสเตเรียน]] (Asterion)<ref>Pausanias, Description of Greece 2. 31. 1</ref> ซึ่งเป็นนามของปู่มิโนทอร์ (พระบิดาบุญธรรมของพระเจ้าไมนอส) เช่นกัน<ref>The Hesiodic ''[[Catalogue of Women]]'' fr. 140, says of Zeus' establishment of Europa in Crete: "...he made her live with Asterion the king of the Cretans. There she conceived and bore three sons, Minos, Sarpedon and Rhadamanthys."</ref>
 
== กำเนิดประวัติ ==
=== กำเนิด ===
 
[[File:Pompeii - Casa dei Vettii - Pasiphae.jpg|left|250px|thumb|วิศวกรเดดาลัสถวายโคจำลองให้นางพาซีฟาอีใช้ร่วมประเวณีกับโคเผือก]]
เส้น 15 ⟶ 16:
งานเขียนทั่วไปในทางวรรณกรรมและกามวิสัยมุ่งพรรณนาการร่วมประเพณีระหว่างนางพาซีฟาอีและโคเผือกโดยอาศัยโคไม้ มีกวีนิพนธ์เรื่อง ''[[Heroides|เอพิสตูลีเฮโรอิดัม]] (Epistulae Heroidum)'' ของโอวิด เพียงเรื่องเดียวที่ระบุไว้เป็นอื่น โดยพรรณนาเหตุการณ์นี้ไว้อย่างรัดกุมในตอนที่ธิดาองค์หนึ่งของนางพาซีฟาอีพร่ำบ่นถึงมารดาที่หลงรักโคเผือกอยู่ฝ่ายเดียวว่า "โคนั้นจำแลงเป็นเทวา พาซีฟาอี มารดาข้าตกอยู่ในบ่วงกามแห่งโคนั้น จึงนำมามาซึ่งเสียงก่นด่าและความหนักอกหนักใจ"<ref>Walter Burkert notes the fragment of [[Euripides]]' ''The Cretans'' (C. Austin's frs. 78-82) as the "authoritative version" for the Hellenes.</ref><ref>See R.F. Willetts, ''Cretan Cults and Festivals'' (London, 1962); Pasiphaë's union with the bull has been recognized as a mystical union for over a century: F. B. Jevons ("Report on Greek Mythology" ''Folklore'' '''2'''.2 [June 1891:220-241] p. 226) notes of Europa and Pasiphaë, "The kernel of both myths is the union of the moon-spirit (in human shape) with a bull; both myths, then, have to do with a sacred marriage."</ref>
 
=== รูปลักษณ์ ===
 
[[File:Minotaurus.gif|200px|thumb|right|มิโนทอร์แบบหัวและกายอย่างคนอยู่บนตัวโค]]
 
ศิลปะแบบแผนมักแสดงรูปมิโนทอร์เป็นมนุษย์เพศผู้มีศีรษะเป็นโคและมีหางโค ตามที่[[Sophocles|ซอฟาคลีส]] (Sophocles) นักละครชาวกรีก ประพันธ์ไว้ในงานเรื่อง ''[[Women of Trachis|ทราคีนีอี]] (Trachiniae)'' ว่า ผีเสื้อน้ำ[[Achelous|แอคีโลอัส]] (Achelous) เคยกล่าวไว้ในคราวเกี้ยวนาง[[Deianira|ดีอาไนรา]] (Deianira) ว่า มิโนทอร์หัวเป็นโคกายเป็นคน
 
ตั้งแต่สมัยคลาสสิกจนถึงสมัย[[ฟื้นฟูศิลปวิทยา]] การพรรณนาเกี่ยวกับวงกตมักเอามิโนทอร์เป็นที่ตั้ง<ref>Several examples are shown in Kern, ''Through the Labyrinth'', Prestel, 2000.</ref> งานเขียนของโอวิดเกี่ยวกับมิโนทอร์ แม้มิได้ให้รายละเอียดมากมายว่า กายมิโนทอร์ส่วนใดเป็นคนส่วนใดเป็นโค แต่ก็แพร่หลายที่สุดในช่วง[[Middle Ages|มัชฌิมยุค]] ส่วนงานเขียนในสมัยถัด ๆ มากลับไปนิยมกันใหม่ว่า มิโนทอร์มีหัวและกายดั่งคนอยู่บนตัวโต ทำนองเดียวกับ[[เซนทอร์]] (centaur)<ref>Examples include illustrations 204, 237, 238, and 371 in Kern. ''op. cit.''</ref> ความนิยมอย่างหลังนี้ปรากฏมาจนถึงสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และปัจจุบันยังพบอยู่บ้าง เช่น ในผลงานที่สตีล แซวิจ (Steele Savage) วาดประกอบหนังสือเรื่อง ''มิโธโลจี (Mythology)'' ของ[[Edith Hamilton|อีดิธ แฮมิลตัน]] (Edith Hamilton) เมื่อ ค.ศ. 1942
 
=== ตาย ===
 
หลังจากมิโนทอร์ถูกขังไว้ในวงกตแล้ว พระเจ้าไมนอสทรงเกิดบาดหมางพระทัยกับกรุงเอเธนส์ เนื่องจาก[[Androgeus|แอนโดรเจียส]] พระโอรส ถูกชาวเอเธนส์ฆ่าตายกลางงานแข่งขัน[[Panathenaic Games|กีฬาแพแนเธเนีย]] (Panathenaic Games) เพราะชาวเอเธนส์ไม่ชอบใจที่แอนโดรเจียสชนะ อีกเรื่องว่า [[Aegeus|พระเจ้าอีเจียส]] (Aegeus) แห่งกรุงเอเธนส์ทรงบัญชาให้โคเผือกตัวข้างต้นไปสังหารแอนโดรเจียสกลางนคร[[Marathon, Greece|แมราธอน]] (Marathon) แต่ไม่ว่าด้วยเหตุใด พระเจ้าไมนอสได้เสด็จยกพยุหโยธาไปเอากรุงเอเธนส์เพื่อทรงแก้แค้นในการสูญเสียพระโอรสเป็นผลสำเร็จ และ[[Catullus|คาทัลลัส]] (Catullus) บรรยายไว้ในงานเขียนเรื่องกำเนิดมิโนทอร์ ว่า กรุงเอเธนส์ "ถูกพิบัติภัยร้ายแรงบังคับให้ทดแทนการคร่าชีวิตแอนโดรเจียส" โดยพระเจ้าอีเจียสต้องทรงส่ง "[[เหยื่อสังเวยมิโนทอร์|ชายหนุ่มและหญิงโสด]]พร้อมกันไปเป็นภักษาหาร" ของมิโนทอร์<ref>[http://rudy.negenborn.net/catullus/text2/e64.htm Carmen 64].</ref> ในการนี้ พระเจ้าไมนอสทรงกำหนดให้จับสลากเลือกชายเจ็ดคนหญิงเจ็ดคนส่งมาทุก ๆ เจ็ดหรือเก้าปี (บางแห่งว่าทุกปี)<ref>[[Servius]] on ''[[Aeneid]]'', 6. 14: ''singulis quibusque annis'' "every one year". The annual period is given by J. E. Zimmerman, ''Dictionary of Classical Mythology'', [[Harper & Row]], 1964, article "Androgeus"; and H. J. Rose, ''A Handbook of Greek Mythology'', Dutton, 1959, p. 265. Zimmerman cites Virgil, Apollodorus, and Pausanias. The nine-year period appears in Plutarch and Ovid.</ref> เพื่อมาให้มิโนทอร์บริโภคถึงในวงกต
 
ในคราวที่จะต้องส่งคนไปเป็นครั้งที่สาม ธีเซียส พระโอรสพระเจ้าอีเจียส อาสาไปฆ่ามิโนทอร์ถวาย โดยให้คำมั่นว่า ถ้ากิจสำเร็จจะล่องเรือกลับมาโดยชักใบสีชาว หาไม่แล้วจะใช้ใบเรือสีดำอย่างเดิม ครั้นไปถึงเกาะครีต [[Ariadne|แอรีแอดนี]] (Ariadne) กับ[[Phaedra (mythology)|ฟีดรา]] (Phaedra) ธิดาพระเจ้าไมนอส เกิดปฏิพัทธ์ธีเซียสด้วยกันทั้งคู่ นางแอรีแอดนีซึ่งเป็นคนพี่จึงเสด็จมาแนะวิธีรอดพ้นจากกลไกลวงกตให้แก่ธีเซียส โดยในบางเรื่องว่า นางมอบม้วนไหมให้เขาสาวทิ้งไว้ตั้งแต่เดินเข้าไปในวงกต เขาจึงหาทางกลับออกมาได้เมื่อประหารมิโนทอร์โดยใช้กระบี่ของพระเจ้าอีเบียสแล้ว เขาได้นำพาชายหญิงคนอื่น ๆ ที่เข้าไปด้วยกันในคราวนั้นออกมาด้วย เมื่อกลับกรุงเอเธนส์ ธีเซียสทิ้งนางแอรีแอดนีไว้กลางเกาะ[[Naxos (island)|แน็กซอส]] (Naxos) แล้วเอานางฟีดราเป็นภริยาเพียงหนึ่งเดียว แต่ลืมเปลี่ยนใบเรือจากสีดำเป็นสีขาว ขณะนั้น พระเจ้าอีเจียสประทับอยู่บนแหลม[[Sounion|ซูเนียน]] (Sounion) ทอดพระเนตรเห็นใบเรือดำ เข้าพระทัยว่า พระโอรสถูกฆ่าด้วยเงื้อมมืออสุรกายมิโนทอร์เสียแล้ว ก็โทมนัสคร่ำครวญ กระโจนจากแหลมนั้นลงสู่ท้องน้ำเบื้องล่างปลิดพระชนม์พระองค์เอง ทะเลนั้นจึงขนานนามว่า [[ทะเลอีเจียน|อีเจียน]]<ref>Plutarch, ''Theseus,'' 15&mdash;19; [[Diodorus Siculus]] i. I6, iv. 61; ''[[Bibliotheca (Pseudo-Apollodorus)|Bibliotheke]]'' iii. 1,15</ref> เป็นเหตุให้ธีเซียสได้ราชสมบัติต่อมา
 
== อ้างอิง ==