ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปากคลองตลาด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'ทรงโปรด'→'โปรด'
บรรทัด 30:
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นตลาดค้าปลาขนาดใหญ่ที่ส่งตรง มาจาก[[แม่น้ำท่าจีน]] (สมุทรสาคร) แล้วของที่ส่งผ่านมาทาง[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] มีบันทึกว่าในในรัชสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]] โปรดฯ ให้ขุดคลองหลายสายมาตั้งแต่เริ่มสถาปนากรุงเทพ รวมถึง "คลองตลาด" คลองเล็กข้างวัดบูรณศิริอมาตยาราม อีกทั้งในย่านไม่ไกลกันนี้ มีคลองที่ขุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2315 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสิน เรียกว่า "คลองใน" ซึ่งทั้ง 2 แห่งนี้เป็นตลาดสดเน้นการค้าปลาเป็นหลักมาจน จนในรัชสมัย [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ที่โปรดฯ จะเรียกตลาดนี้ว่า "ตะพานปลา" ในระยะหนึ่ง ก็เปลี่ยนจากตลาดค้าปลาไปยังตำบลวัวลำพอง [[หัวลำโพง]] แทน ตลาดปลานี้จึงแปรสภาพเป็นตลาดสด ค้าสินค้าเกษตร อย่างผัก ผลไม้และดอกไม้สด มาจนถึงทุกวันนี้<ref>[http://travel.sanook.com/bangkok/bangkok_07198.php ปากคลองตลาด]</ref>
 
ปัจจุบัน ปากคลองตลาดประกอบด้วยตลาดหลัก 34 แห่งได้แก่ ตลาดองค์การตลาด ตลาดยอดพิมาน และตลาดส่งเสริมเกษตรไทย ตลาดพุทธยอดฟ้า มีลักษณะเป็น[[อาคารพาณิชย์]]เป็นส่วนใหญ่ สูง 2-4 ชั้น มีการวางสินค้าต่าง ๆ และแผงลอย กันสาด กันอย่างหนาแน่น
ไม่นับรวมตลาดใต้สะพานพุทธ ซึ่งขายเสื้อผ้า ของประดับ ของเล่น อื่น ๆ อีกมาก ซึ่งจะขายเฉพาะเวลากลางคืนเท่านั้น หยุดเฉพาะวันจันทร์
แต่เดิม ตลาดองค์การตลาดเป็นของรัฐ สังกัดกระทรวงมหาดไทย เพิ่งจะเปลี่ยนแปลงเป็นสัมปทานให้เอกชนเข้ามาบริหารแทน 30 ปี เพราะขาดสภาพคล่อง ในสมัยรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
บริษัทที่เข้ามาบริหารเป็นบริษัทเดียวกับเจ้าของใหม่ตลาดยอดพิมานซึ่งได้ซื้อตลาดยอดพิมานต่อมาจากเจ้าของเดิม และได้เริ่มเข้ามาำทำการปรับปรุงทั้ง 2 ตลาดเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว ซึ่งในขณะนี้ยังปรับปรุงไม่เรียบร้อยแล้วเสร็จ
 
== อ้างอิง ==