ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: เปลี่ยนจาก หมวดหมู่:รองประธานผู้แทนราษฎรไทย ไปยัง หมวดหมู่:รองประธานสภาผู้แทนราษฎ...
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Devhasdin-P1.JPG|thumb|พลเอกพระยาเทพหัสดินฯ หัวหน้าคณะทูตทหารไทยที่เข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1]]
[[ไฟล์:Devhasdin-P4.jpg|thumb|right|ภาพพลเอกพระยาเทพหัสดินฯ ลายฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระราชทานแก่พลเอกพระยาเทพหัสดินฯ เมื่อครั้งเป็นพลตรี พระยาพิไชยชาญฤทธิ์ เมื่อ พ.ศ. 2462]]
'''พลเอกพระยาเทพหัสดิน''' (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา -; 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2420 - 7 กรกฎาคม [[พ.ศ. 2494]]) พลเอก หัวหน้าคณะทูตทหารไทยที่เข้าร่วมรบใน[[สงครามโลกครั้งที่ 1]] นักโทษประหาร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและรัฐมนตรีว่าการ[[กระทรวงคมนาคม]] ในรัฐบาล[[จอมพล ป. พิบูลสงคราม]]
 
พลเอกพระยาเทพหัสดินฯ ได้รับพระราชทานยศ บรรดาศักดิ์ และราชทินนามเต็มว่า ''พลเอก พระยาเทพหัสดิน สยามพิชิตินทร์ สวามิภักดิ์อุดมศักดิ์เสนีย์ พิริยะพาหะ'' เป็นบุตรชายคนที่ ๑ โตในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 8 คน ของพันเอก[[หลวงฤทธิ์นายเวร]] (พุด เทพหัสดิน ณ อยุธยา พี่ชายต่างมารดาของ [[เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี]] (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)) ซึ่งเป็นมหาดเล็กข้าหลวงเดิมของ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] กับคุณหญิงเลื่อนฤทธิ์ เกิดเมื่อวันขึ้น 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ [[พ.ศ. 2420|พ.ศ. ๒๔๒๐]] ณ. บ้านสำเพ็ง หน้า[[วัดจักรวรรดิราชาวาส]] [[จังหวัดพระนคร]] พระยาเทพหัสดิน มีศักดิ์เป็นหลานอาของ[[เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี]] แต่มีอายุไล่เลี่ยกัน
 
== ปฐมวัยและการศึกษา ==
ตามคตินิยมในสกุล ลูกข้าหลวงเดิมจะต้องเป็น[[มหาดเล็กหลวง]] มิฉะนั้นก็เรียกได้ว่าขาดความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉะนั้นเมื่อพระยาเทพหัสดิน มีอายุได้เพียง 5 ปีขวบ ก็ได้ถูกนำตัวเข้าไปทูลเกล้าฯ ถวายดอกไม้ ธูปเทียนเป็นมหาดเล็กหลวง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสว่า ''“เด็กคนนี้หน้าตาดีและคล่องแคล่ว ทั้งอายุอานามก็ไล่เลี่ยกับฟ้าชายใหญ่ ให้นำดอกไม้ธูปเทียนไปถวายตัวเป็นมหาดเล็กฟ้าชายใหญ่เถิด จะได้เป็นเพื่อนเล่นกัน”'' จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้นำตัวไปถวายดอกไม้ธูปเทียนให้เป็น[[มหาดเล็ก]] และเป็นเพื่อนเล่นกับกับเจ้าฟ้าชายพระองค์ใหญ่ คือ[[สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ]] ซึ่งต่อมาได้ทรงสถาปนาเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร องค์ที่ ๑ แรกของกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่ออายุได้ 7 ปีขวบ บิดาได้ส่งไปเรียนที่[[โรงเรียนวัดบพิตรภิมุข]] ในสำนัก[[ขุนอนุกิจวิทูร]] แล้วจึงย้ายไปอยู่[[โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ]] (ปัจจุบันคือ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย) ในพระบรมราชูปถัมภ์ จนอายุ ๑๓13 ปี หลังจากหลวงฤทธิ์นายเวรถึงแก่กรรมในตำแหน่งรองผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการทหารบก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ส่งไปเรียนที่ประเทศ[[ฝรั่งเศส]] โดยมีพระราชกระแสรับสั่งกับคุณหญิงเลื่อนฤทธิ์ มารดาว่า "ข้าจะเลี้ยงมันแทนพ่อของมันที่อายุสั้นนัก…" ต่อมาก็ย้ายไปเข้าโรงเรียนทหารที่กรุง[[บรัสเซลส์]] ประเทศ[[เบลเยี่ยม]] จนกระทั่งสำเร็จกลับเข้ามารับราชการทหารสนองพระเดชพระคุณนับแต่ปี [[พ.ศ. 2445|พ.ศ. ๒๔๔๕]] เป็นต้นมา
ขณะเมื่อครั้งที่ยังศึกษาอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสนั้น [[สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ]] สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จทิวงคต จึงได้โปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธขึ้นเป็นสยามมกุฎราชกุมารพระองค์ต่อมา และให้บรรดามหาดเล็กของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช พระองค์ก่อน โอนไปสังกัดขึ้นเป็นมหาดเล็กสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร พระยาเทพหัสดินจึงได้โอนสังกัดเป็นมหาดเล็กของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธฯ นับแต่นั้นมา
บรรทัด 19:
 
เมื่อกลับจากงานพระราชสงครามแล้ว ได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการ แต่โปรดให้โอนย้ายไปเป็นข้าราชการพลเรือนในราชทินนาม พระยาเทพหัสดิน ตำแหน่ง[[สมุหเทศาภิบาล]]มณฑล[[นครสวรรค์]]และ[[ราชบุรี]]
 
ตลอดระยะเวลาการรับราชการนั้น พระยาเทพหัสดิน ได้ชื่อว่าเป็นนายทหารระดับสูงที่มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอย่างมาก และเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย โดยเฉพาะจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงเคยพระราชทานมะพร้าวอ่อนลูกที่พระองค์กำลังเสวยน้ำอยู่ ให้แก่พระยาเทพหัสดิน เพื่อดื่มน้ำร่วมกัน <ref name="พายัำพ"/>
 
== มรสุมในชีวิต ==
เส้น 53 ⟶ 55:
นักโทษประหารชีวิตที่เหลือ ถูกทยอยนำตัวออกมาประหารชีวิต รวมทั้งบุตรชายทั้ง 2 คน ของพระยาเทพหัสดิน จนถึงทุกวันนี้ ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าผู้ถูกลงโทษทั้งหมด มีใครได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาบ้างหรือไม่ เพราะถูกตัดสินโดยศาลที่ตั้งขึ้นมาเป็นพิเศษ และไม่มีทนายจำเลย นักโทษที่ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิตและประหารชีวิต ถูกนำไปคุมขังที่[[เรือนจำบางขวาง]] [[จังหวัดนนทบุรี]] ในส่วนตัวของ พลโท พระยาเทพหัสดิน ได้ถูกตัดสินให้ประหารชีวิต แต่ศาลเห็นว่าเคยเป็นผู้ประกอบความดีแก่ประเทศมาก่อน จึงลดหย่อนโทษให้เหลือจำคุกตลอดชีวิต เช่นเดียวกับ [[หลวงชำนาญยุทธศิลป์]] และ[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร]] โดยตลอดระยะเวลาที่ต้องโทษอยู่นั้น พลโท พระยาเทพหัสดิน ถูกจองจำเดี่ยวในห้องขังห้องสุดท้ายติดทางขึ้นลงบันได ซึ่งเป็นคนละด้านกับห้องขังของ หลวงชำนาญยุทธศิลป์ ซึ่งถูกจองจำเดี่ยวเช่นเดียวกัน จนกระทั่งในปลายปี พ.ศ. 2482 หลังจากที่ลูกชายทั้ง 2 ได้ถูกเบิกตัวไปประหารชีวิตแล้วในเวลาเช้ามืด พลโท พระยาเทพหัสดิน ยังไม่ทราบเรื่อง และได้ชงกาแฟเพื่อให้ผู้คุมเรือนจำนำไปให้ลูกชายเหมือนเช่นทุกวันที่เคยทำมา ถึงค่อยทราบ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ถูกจองจำอยู่นั้น พลโท พระยาเทพหัสดิน ถือเป็นที่เคารพของบรรดานักโทษคดีเดียวกันทั้งหมด เนื่องจากเป็นผู้อาวุโสสูงสุดและมีตำแหน่งอันทรงเกียรติมาก่อน
 
ครั้นรัฐบาลหลวงพิบูลสงครามสิ้นอำนาจลง นายควง อภัยวงศ์ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบต่อ ในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 ภารกิจแรก ๆ ที่รัฐบาลรีบกระทำก็คือ ขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่นักโทษการเมืองทั้งหมด พลโท พระยาเทพหัสดิน ได้รับอิสรภาพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2487 และได้รับนิรโทษกรรมในเวลา 3 ปีต่อมา ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2490<ref name="พายัำพ">พายัพ โรจนวิภาต (พ.ศ. 2554), ''ยุคทมิฬ บันทึกนักโทษฝ่ายกบฏบวรเดช''. ISBN 978-6167146-22-5</ref>
 
หลายปีต่อมา พลโท พระยาเทพหัสดิน ได้รับหนังสือขอโทษจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ได้เข้าใจผิดในเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งหมด และขอการอโหสิกรรม