ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศาลาเฉลิมกรุง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6:
ในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] พ.ศ. 2485-2488 (รัชกาลที่ 8) ใช้เป็นที่แสดง[[ละคร]]และ[[ดนตรี]] เนื่องจากไม่มีภาพยนตร์ฉาย
 
ต่อมามีการปรับปรุงใหญ่โดย บริษัทเฉลิมกรุงมณีทัศน์ สามารถใช้ได้ทั้งฉายภาพยนตร์และการแสดงบนเวทีขนาดกว้างขวางกว่าเดิม ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 ในนาม '''เฉลิมกรุงรอยัลเธียเตอร์''' พร้อมกับและการแสดงโขนจินตนฤมิตร <ref>ธนาทิพ ฉัตรภูมิ ,ตำนานโรงหนัง ,เวลาดี 2547 ISDB:974-9659-11-2 หน้า 49</ref>
 
== ประวัติ ==
ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 7 [[ภาพยนตร์]]เป็นมหรสพและ การสื่อสารมวลชนที่มีบทบาทสำคัญยิ่ง สามารถเทียบได้กับการโทรทัศน์ในปัจจุบัน โรงภาพยนตร์ในสยามสมัยรัชกาลที่ 7 นั้นมีประมาณ 20 โรง กระจายอยู่ทั่วเขตพระนครและธนบุรี จัดฉายภาพยนตร์นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่ง(มากกว่าครึ่งหนึ่งนั้นเป็นภาพยนตร์จากสหรัฐ หรือจาก [[ฮอลลีวู้ด]]นั่นเอง )
 
เดิมโรงภาพยนตร์ในสยามในสมัยนั้นตั้งแต่ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มักเป็นโรงภาพยนตร์มีขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายอาคารโรงไม้ หลังคามุงสังกะสี ไม่มีโรงขนาดใหญ่และหรูหรา จนกระทั่ง วันที่ 1 กรกฎาคม [[พ.ศ. 24752473]] ปีรัชกาลที่ 7 ได้เสด็จฯประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างโรงภาพยนตร์ถาวรแห่งมหามงคลสมัยใหม่ที่โอ่อ่าทันสมัยเพื่อเป็นที่ระลึกการเฉลิมฉลองพระนครที่จะมีอายุครบ 150 ปี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริให้จัดสร้างโรงมหรสพขนาดใหญ่ขึ้นใน เนื่องด้วยพ.ศ. พระองค์โปรดภาพยนตร์เป็นพิเศษ2475 โรงภาพยนตร์แห่งใหม่ที่ทันสมัยและโอ่โถงหรูหรา ขนาดจุผู้ชมได้มากว่ากว่า 2,000 คนที่นั่ง และนับเป็นโรงมหรสพแห่งแรกในเอเชียที่มีเครื่องปรับอากาศระบบไอน้ำ (Chilled Water System)
 
ตัวอาคารรูปสี่เหลี่ยมสูงแบบโมเดิร์นสไตล์ (Modern Style) ตั้งอยู่บริเวณหัว[[ถนนเจริญกรุง]]ตัดกับ[[ถนนตรีเพชร]] ออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างโดย [[หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร]] และ นารถ โพธิปราสาท เป็นวิศวกร สร้างโดยบริษัทบางกอก ภายในออกแบบตกแต่งเรียบง่าย ระหว่างตะวันตกผสมผสานกับไทย และได้รับพระราชทานนามว่า "'''ศาลาเฉลิมกรุง'''" เปิดฉายปฐมฤกษ์ด้วยเรื่อง "มหาภัยใต้ทะเล" เมื่อวันที่ [[2 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2476]] มีรายงานว่าคนดูล้นหลามออกมาถีงถนนหน้าโรงจนรถรางยวดยานต่างๆ ติดขัดหยุดชะงักชั่วคราว <ref>หนังสือพิมพ์ศรีกรุง ฉบับวันพุธ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2476</ref> นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์ไทยที่ได้รับความนิยมสูงในโปรแกรมถัดๆมา เช่นหนังพูด "[[ปู่โสมเฝ้าทรัพย์]]" ,"[[เลือดทหารไทย]]" และ "[[เพลงหวานใจ]]" ของบริษัท[[ภาพยนตร์เสียงศรีกรุง]] เป็นต้น
 
ในช่วง [[สงครามมหาเอเซียบูรพา]] ทางโรงเปลี่ยนเป็นโรงละครเวที จนสงครามสงบแล้วระยะหนึ่ง จึงกลับมาฉายภาพยนตร์อีกครั้ง เริ่มด้วย "[[สุภาพบุรุษเสือไทย]]" หนังไทย 16 มม. พากย์สด เมื่อปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2492 ทำรายได้มากกว่า 3 แสนบาท สูงสุดกว่าเรื่องใดๆในเวลานั้น