ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มิตซูบิชิ แลนเซอร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ 101.108.150.195 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย 171.6.136.84
Apple1968 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 38:
[[ไฟล์:Lancer 4gen.jpg|thumb|มิตซูบิชิ แลนเซอร์ โฉมที่ 4]]
 
โฉมนี้ เป็นโฉมที่ผลิตขึ้นในช่วงเวลาที่ซ้อนทับกับโฉมที่ 2 มีรูปทรงคล้ายกัน แต่มีความเป็นรถธรรมดามากขึ้น ใช้เครื่องยนต์หัวฉีดขับเคลื่อนล้อหน้าธรรมดา ไม่ใช้เครื่องยนต์ที่แปลกดังโฉมที่ 2 แต่ก็มีความทันสมัย เพราะระบบเครื่องยนต์หัวฉีด แทบไม่เป็นที่รู้จักในสมัยนั้น สมัยนั้นรถที่เป็นหัวฉีดส่วนใหญ่เป็นรถแข่ง รถสปอร์ตเต็มขั้น หรือรถหรูๆ จากตะวันตกเท่านั้น นอกนั้นส่วนใหญ่จะเป็นระบบคาร์บูเรเตอร์ การนำระบบหัวฉีดมาใช้ในรถทั่วไปในสมัยนั้นจึงเป็นความทันสมัยอย่างหนึ่ง และระบบขับเคลื่อนล้อหน้า สมัยนั้นก็ไม่ค่อยมีเช่นกัน ส่วนใหญ่จะเป็นแบบขับเคลื่อนล้อหลัง ทำให้มีการนำแลนเซอร์โฉมที่ 4 ไปปรับแต่งเป็นรถสปอร์ตกึ่งครอบครัวเป็นจำนวนมาก และในประเทศไทย โฉมนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ '''Champ''' เป็นการนำรุ่นล่างสุดมาใช้ชื่อ Champ โดยผลิตระหว่างปี [[พ.ศ. 2528]]-[[พ.ศ. 2539|2539]] มีทั้งรุ่นซีดานและแฮทช์แบค และมีพรีเซนเตอร์หลายคน แตกต่างกันไปตามชนิดของตัวถัง ที่จะใช้พรีเซ็นเตอร์แตกต่างกันไป เช่น [[ลลิตา ศศิประภา]] [[หัทยา วงษ์กระจ่าง]] เป็นต้นและไม่มีการนำ Generation ที่ 5 มาทำตลาดในประเทศไทย เนื่องจาก Mitsubishi Motors ได้ลงทุนเครื่องจักรครั้งใหญ่ เพื่อหวังจะส่งออกไปขายยังแคนาดา ไซปรัส ฯลฯ เพื่อให้คุ้มทุน จึงไม่มีการนำรุ่นที่ 5 มาขายในประเทศไทย
* รุ่นนี้เข้ามาในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2528-2539
* รุ่นนี้เริ่มมีคนเอาไปทำเป็นแท็กซี่แล้ว
บรรทัด 122:
ทุกรุ่นข้างต้นมีทั้ง E20 และ CNG
 
โฉมนี้ เป็นโฉมที่สามารถขยายตลาดส่งออกได้ดีมาก แลนเซอร์โฉมนี้มีในทวีปอเมริกาเหนือ, ออสเตรเลีย, ปากีสถาน, อินเดีย, เม็กซิโก, ฟิลิปปินส์ ฯลฯ และรุ่นนี้เป็นรุ่นที่มีกรณีอื้อฉาวด้านคุณภาพของตัวรถ ในรุ่น Lancer Cedia (รุ่นก่อน Minorchange) ที่ไม่มีการตรวจสอบคุณภาพก่อนส่งมอบ ทำให้ต้องมีการเรียกคืนรถครั้งใหญ่ในเดือนสิงหาคม [[พ.ศ. 2544]] และนี่เองที่เป็นสาเหตุให้ Mitsubishi Motors ประสบปัญหาด้านการเงิน ไม่ใช่สาเหตุมาจากวิกฤติเศรษฐกิจ เนื่องจากในขณะนั้นสถานะของ Mitsubishi Motors ยังดีอยู่ และยังเป็นสาเหตุที่ทำให้ Lancer รุ่นนี้เข้ามาขายในไทยช้ากว่าต่างประเทศ
 
แม้ปัจจุบันนี้ แลนเซอร์ในตลาดสากลจะก้าวเข้าสู่ Generation ที่ 9 แล้ว แต่แลนเซอร์ในประเทศไทยยังขายโฉมที่ 8 เพื่อขยายฐานลูกค้าของ Mitsubishi โดยให้แลนเซอร์โฉมนี้ และแลนเซอร์ อีเอ็กซ์ ตีตลาดรถยนต์นั่ง ต่างเซกเมนต์กัน