ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทำเนียบรัฐบาลไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 36:
ชื่อบ้านนรสิงห์ ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า เป็นชื่อพระราชทาน หรือเจ้าของบ้านตั้งขึ้นเอง คาดว่าเนื่องจากเจ้าพระยารามราฆพ เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมมหรสพ ซึ่งมีตราเป็นรูป[[นรสิงห์]] อันเป็นปางหนึ่งของ[[พระนารายณ์]] อวตารลงมาปราบ[[ยักษ์หิรัณยกศิปุ]] แต่เดิม เคยมีรูปปั้นนรสิงห์เต็มตัว ตั้งอยู่กลางสนามหญ้าหน้าตึกไกรสร (ตึกไทยคู่ฟ้า) ปัจจุบันไม่ปรากฏว่าเคลื่อนย้ายไปอยู่ที่ใด
 
ต่อมา ราวต้นปี [[พ.ศ. 2484]] ระหว่าง[[สงครามมหาเอเชียบูรพา]] [[ญี่ปุ่น]]ได้เจรจาขอซื้อ หรือเช่าบ้านนรสิงห์ เพื่อทำเป็น[[สถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย]] ด้วยเห็นว่ามีความสวยงามยิ่ง ต่อมาในเดือน[[มีนาคม]] ปีเดียวกัน เจ้าพระยารามราฆพ เจ้าของบ้าน ได้มีหนังสือถึง [[ปรีดี พนมยงค์|นายปรีดี พนมยงค์]] [[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง]] เพื่อเสนอขายบ้านแก่รัฐบาล ในราคา 2,000,000 บาท เพราะเห็นว่าใหญ่โตเกินฐานะ และเสียค่าบำรุงรักษาสูง แต่[[กระทรวงการคลัง]]ปฏิเสธ เจ้ายุทธเจ้าดา
 
ล่วงมาถึงเดือน[[กันยายน]] ปีเดียวกัน [[จอมพล]] [[แปลก พิบูลสงคราม]] [[รายนามนายกรัฐมนตรีของไทย|นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น]] เห็นควรให้[[รัฐบาลไทย]]ซื้อบ้านนรสิงห์ไว้ เพื่อเป็นสถานที่รับรองแขกเมือง ในที่สุด ได้ตกลงซื้อขายกันในราคา 1,000,000 บาท โดยคณะ[[ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์]] คือ [[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา]] และ พลเอก[[เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน]] (อุ่ม) ได้อนุมัติภายใต้พระบรมราชานุญาต ให้กระทรวงการคลัง จ่ายเงินของ[[สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์]] แก่เจ้าพระยารามราฆพ แล้วมอบบ้านนรสิงห์ ให้สำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ดูแล โดยให้ใช้เป็นที่ตั้งทำเนียบรัฐบาล และเป็นสถานที่รับรองแขกเมือง ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา