ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2491"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 3:
โดยที่ภายหลังจากกลุ่มนายทหารนำโดย [[ผิน ชุณหะวัณ|พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ]] (ยศขณะนั้น) ได้ทำการรัฐประหารรัฐบาล [[ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์|พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์]] เมื่อวันที่ [[8 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2490]] แล้วได้แต่งตั้งให้ [[ควง อภัยวงศ์|นายควง อภัยวงศ์]] หัวหน้า[[พรรคประชาธิปัตย์]] พรรคฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร รักษาการในตำแหน่ง[[นายกรัฐมนตรี]] เพื่อจัดการเลือกตั้งทั่วไปสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)
 
ต่อมาใน[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2491|การเลือกตั้งวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2491]] พรรคประชาธิปัตย์ สามารถชนะการเลือกตั้งได้รับเสียงสูงสุดในสภาฯ นายควง อภัยวงศ์ ในฐานะ หัวหน้าพรรคได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบต่อ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่บ่งชี้ว่า ผู้มีอำนาจที่แท้จริงก็คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้บัีญชาการบัญชาการทหารแห่งชาติ ที่ทางคณะรัฐประหารได้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนี้ และให้การสนับสนุนนั่นเอง และมีความเป็นไปได้ว่าอาจมีการรัฐประหารซ้อน เพราะทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้ง ได้มีความพยายามของกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่ง พยายามที่จะมิให้นายควง ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ถึงขนาดได้เข้าเฝ้า [[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร]] ประธานองคมนตรี เพื่อมิให้แต่งตั้งนายควง แต่ทางพระองค์เจ้าธานีนิวัตฯ ได้ตอบว่า ปล่อยให้เป็นกระบวนการของสภาฯ อีกทั้งคณะรัฐบาลของนายควง ก็ได้มีความขัดแย้งกับคณะรัฐประหาร ในเรื่องของการแต่งตั้ง [[เผ่า ศรียานนท์|พ.ต.ท.เผ่า ศรียานนท์]] รองอธิบดีกรมตำรวจ หนึ่งในสมาชิกคณะรัฐประหารเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย แต่ทาง พล.ท.[[ชิต มั่นศิลป์ สินาดโยธารักษ์]] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไม่เห็นชอบด้วย เนื่องจากคณะรัฐประหารหลังการรัฐประหารใหม่ ๆ ได้ประกาศว่าจะไม่แทรกแซงการทำงานของรัฐบาล ซึ่งในเรื่องทั้งหมดนี้ พล.ท.[[กาจ กาจสงคราม]] รองหัวหน้าคณะรัฐประหารได้ออกมาประกาศว่า ไม่เป็นความจริง และคณะรัฐประหารมิได้มีความต้องการที่จะทำการรัฐประหารอีกครั้ง
 
หลังจากการเลือกตั้งไม่นาน ได้มีกลุ่มคนจำนวนหนึ่ง เรียกตัวเองว่า "คณะประชาธิปไตย" ประกอบด้วยนักการเมืองกลุ่มหนึ่ง นำโดย พล.ท.[[พระยาเทพหัสดิน]] รวมทั้ง ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์เองด้วยส่วนหนึ่ง เช่น นาย[[เลื่อน พงษ์โสภณ]], นายฟอง สิทธิธรรม, นาย[[เลียง ไชยกาล]] ได้รวมตัวกันสนับสนุน จอมพล ป. ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง โดยกล่าวว่าจะขอ "สนับสนุนจอมพล ป.ตลอดกาล" ซึ่งคนกลุ่มนี้ได้เคลื่อนไหวรวมตัวกันที่[[สนามหลวง]]และ[[สวนลุมพินี]] พร้อมกับได้ล่ารายชื่อบุคคลต่าง ๆ เพื่อให้สนับสนุน จอมพล ป.