ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8:
หลวงสินธุสงครามชัย ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกคณะราษฎร ขณะยังศึกษาอยู่ยังโรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ ประเทศเดนมาร์ก และขณะได้ไปเยือน[[กรุงปารีส]] [[ประเทศฝรั่งเศส]]<ref name="ทหาร">[http://www.marines.navy.mi.th/htm_56/htm_old55/radnavic55/pawatmarine.html มูลเหตุที่ทหารนาวิกโยธิน เข้าร่วมในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕]</ref> จึงได้รับการชักชวนผ่านทางนาย[[ทวี บุณยเกตุ]]<ref>หน้า 100-102, ''ตรัง'' โดย ยืนหยัด ใจสมุทร. (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 กรุงเทพมหานคร, สำนักพิมพ์มติชน) ISBN 974-7115-60-3</ref>
 
เมื่อกลับมายังประเทศไทยแล้ว หลวงสินธุสงครามชัย ยังได้หาพรรคพวกเพิ่มเติมในสายทหารเรือเพิ่มขึ้นอีกหลายคน เช่น [[หลวงศุภชลาศัย]], [[หลวงนิเทศกลกิจ]], [[หลวงสังวรยุทธกิจ]], [[หลวงนาวาวิจิตร]], [[หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์]] เป็นต้น และยังให้แต่ละคนไปหาพรรคพวกเพิ่มขึ้นอีกอย่างละไม่เกิน 3 คน เพื่อกันความลับรั่วไหล รวมทั้งสิ้นมีกองกำลังทหารเรือในคณะราษฎรจำนวน 24 นาย แต่เมื่อถึงเวลาปฏิวัติจริง ๆ แล้วใช้เพียง 18 นาย เนื่องจากอีก 6 นายที่เหลือนั้น สังกัด[[โรงเรียนชุมพลทหารเรือ]] ที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดสมุทรปราการ และ[[กรมสรรพาวุธทหารเรือ]] ซึ่งตั้งอยู่ในบางนา อันอยู่ห่างไกลจากจุดที่เกิดเหตุ แต่ทั้งหมดก็ตกลงกันว่า หากเกิดเหตุการณ์อันใดขึ้นแล้ว ก็จะใช้กำลังที่มีอยู่ยึดอำนาจภายในโรงเรียน และกรม<ref name="ทหาร"/>
 
โดยในเหตุการณ์[[การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475]] หลวงสินธุสงครามชัย ขณะนั้นมียศเป็น นาวาตรี (น.ต.) ถือเป็นหัวหน้าคณะราษฎรฝ่ายทหารเรือ และมีตำแหน่งเป็น ผู้อำนวยการโรงเรียนนายทหาร ได้นำกำลังทหารเรือประมาณ 400 นายเศษ พร้อมอาวุธครบมือ และกระสุนจำนวน 45,000 นัด ซึ่งงัดมาจากคลังอาวุธ กองพันพาหนะทหารเรือ ([[หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน]] ในปัจจุบัน) ไปยึดสถานที่ ณ [[ลานพระบรมรูปทรงม้า]] ยาวไปจนถึงเชิง[[สะพานมัฆวานรังสรรค์]] ตั้งแต่ก่อนเวลา 06.00 น. โดยเริ่มกันตั้งแต่เวลา 03.00 น. ที่จุดนัดพบ คือ [[ท่าราชวรดิฐ]] เพื่อรอคอยกำลังของฝ่ายทหารบก ภายใต้การนำของ [[พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน)|พระยาทรงสุรเดช]] มาสมทบ อีกทั้งยังได้ให้ทหารเรือส่วนหนึ่ง นำโดย หลวงนิเทศกลกิจ เข้าคุ้มกันคณะของ [[ควง อภัยวงศ์|หลวงโกวิทอภัยวงศ์ (ควง อภัยวงศ์)]] และร้อยโท [[ประยูร ภมรมนตรี]] ในการตัดสายโทรศัพท์และโทรเลข ที่กรมไปรษณีย์โทรเลข หน้า[[วัดราชบุรณราชวรวิหาร]] (วัดเลียบ) ในเวลา 04.00 น. และสั่งให้ทหารเรือประจำเรือยามฝั่ง และเรือปืนต่าง ๆ ติดเครื่องยนต์เรือ ล่องในลำน้ำเจ้าพระยา เพื่อทำการปฏิวัติ โดยแผนการทั้งหมดของฝ่ายทหารเรือ หลวงสินธุสงครามชัย เป็นผู้วางแผนเองทั้งหมด<ref name="ทหาร"/>