ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 108:
สัมพันธภาพของพระองค์กับเจ้าชายมีเกล พระโอรสกลับไม่สามารถดำรงได้ อันเนื่องมาจากอิทธิพลของพระมารดาเข้าแทรกแซง เจ้าชายมีเกลทรงก่อการ[[กบฏเมษายน]] หรือ Abrilada โดยกองทหารรักษาการณ์ในลิสบอนในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2367 กลุ่มกบฏได้อ้างว่าเพื่อต้องการกำจัดองค์กร[[ฟรีเมสัน]]และป้องกันพระมหากษัตริย์จากแผนการลอบปลงพระชนม์ของพวกฟรีเมสันที่ซึ่งทำการต่อต้านพระองค์ แต่พระเจ้าฌูเอากลับทรงถูกนำพระองค์มาเพื่อคุ้มครองใน[[พระราชวังเบงปอชตา]] นักการเมืองจำนวนมากที่เป็นศัตรูกับเจ้าชายมีเกลยังคงถูกจับกุมอยู่ที่ไหนสักแห่ง พระประสงค์ของเจ้าชายทรงต้องการขู่ให้พระราชบิดาสละราชบัลลังก์ มีการตื่นตัวถึงสถานการณ์ คณะเจรจาฝ่ายทหารได้ควบคุมและเข้าไปยังพระราชวังเบงปอชตา ได้บอกให้พระมหากษัตริย์ไม่ให้ทำการต่อต้านมาก และได้ฟื้นฟูอิสรภาพของพระมหากษัตริย์ ในวันที่ 9 พฤษภาคม จากคำปรึกษาของคณะทูตที่เป็นมิตรกัน พระเจ้าฌูเอาทรงแสร้งที่จะเสด็จประพาสเมือง[[คาซิเอส]] แต่ในความเป็นจริงพระองค์เสด็จไปหลบภัยในเรือรบของอังกฤษที่ซึ่งเทียบท่ารอพระองค์อยู่ พระองค์มีพระราชวินิจฉัยจาก[[เรือเฮสเอ็มเอส วินเซอร์ คาสเซิล(1790)|เรือเฮสเอ็มเอส วินเซอร์ คาสเซิล]]ทรงกล่าวประณามพระโอรส มีพระบรมราชโองการปลดพระโอรสออกจากตำแหน่งสั่งการในกองทัพ และให้พระโอรสปล่อยนักโทษทางการเมือง เจ้าชายมีเกลทรงถูกเนรเทศ ด้วยการที่กลุ่มกบฏถูกกำจัด ทั้งกลุ่มเสรีนิยมและกลุ่มสมบูรณาญาสิทธิ์ได้ออกมายังถนนเพื่อเฉลิมฉลองการดำรงอยู่ของรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมาย<ref name="Dicionário"/><ref>Cardoso, pp. 269–271</ref> ในวันที่ 14 พฤษภาคม พระมหากษัตริย์เสด็จกลับพระราชวังเบงปอชตา มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งสภารัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งและทรงแสดงความเมตตาต่อผู้ที่เคยร่วมก่อการกบฏ แต่ก็ยังไม่มีการเตือนพระราชินีจากการก่อการสมคบคิด ตำรวจได้ค้นพบแผนการกบฏต่อไปในวันที่ 26 ตุลาคม และเป็นหลักฐานที่พระเจ้าฌูเอามีพระบัญชาให้จับกุมพระมเหสีโดยกักบริเวณแต่ในพระตำหนักที่[[พระราชวังหลวงเกลุช]]<ref name="Dicionário"/>
 
===ปีสุดท้ายยามบั้นปลายและการสวรรคต===
[[ไฟล์:Retrato de D. Joao VI - Gregorius, Albertus Jacob Frans.jpg|thumb|right|''พระบรมสาทิสลักษณ์พระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส'' วาดโดย อัลเบอร์ตัส จาค็อบ ฟรานซ์ เกรกอเรียส ในปี พ.ศ. 2368]]
ในปลายรัชสมัยของพระเจ้าฌูเอามีพระบรมราชโองการเปิดเมืองท่าเสรีในลิสบอนแต่กฎหมายก็ไม่เป็นผล มีพระบรมราชโองการให้เพิ่มการไต่สวนในการสืบสวนในกรณีที่พระสหายเก่า [[มาควิสแห่งลูเล]]เสียชีวิต แต่คำพิพากษาสูงสุดไม่เคยได้รับการช่วยเหลือ ในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2367 พระองค์ทรงพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวพันกับการลุกฮือที่ปอร์โต ยกเว้นเจ้าหน้าที่เก้าคนได้ถูกเนรเทศ ในวันเดียวกันรัฐธรรมนูญฉบับเก่าแห่งพระราชอาณาจักรได้ถูกนำกลับมาบังคับใช้ และกลุ่มคอร์เตสได้เปิดประชุมเพื่อร่างฉบับใหม่ การเปลี่ยนรัฐธรรมนูญเป็นการเผชิญหน้ากับอุปสรรคมากมาย โดยเฉพาะอุปสรรคกับสเปนและกลุ่มผู้สนับสนุนในสมเด็จพระราชินี<ref name="Soriano"/>