ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สดุดีอัสสัมชัญ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Biotoon (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''เพลงสดุดีอัสสัมชัญ''' (Glorify Assumption) เป็นเพลงหนึ่งที่ได้ชื่อว่าเป็นเพลงที่ปลุกความเป็น “[[โรงเรียนอัสสัมชัญ|อัสสัมชัญ]]” ในบรรดานักเรียนให้พลุ่งพล่านในสายเลือด เป็นเพลงที่ถูกนำไปใช้เป็นเพลงประจำสถาบันในเครือมูลนิธิคณะภราดาเซนต์คาเบรียลแขวงประเทศไทย ที่มีนามว่าอัสสัมชัญหลายแห่ง เว้นแต่[[โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย]] [[โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี]] [[โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา]] โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ ที่มีเพลงประจำโรงเรียนเป็นแบบเฉพาะหรือใช้เพลงสีแดงและขาวเป็นเพลงประจำโรงเรียน แต่ก็ยังคงใช้เพลงสดุดีอัสสัมชัญเป็นเพลงของโรงเรียนด้วย เช่น [[โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย]]ใช้เพลงนี้เกียรติศักดิ์ MC ซึ่งดัดแปลงเพลงสดุดีอัสสัมชัญเป็นเพลงใหม่ที่เข้ากับโรงเรียนมงฟอร์ต ใช้ในการประกวดผู้นำเชียร์ในงานกรีฑาสีของโรงเรียนทุกปี
 
ที่มาของเพลงสดุดีอัสสัมชัญนั้น พบว่า ตั้งแต่ พ.ศ. 2478 มีเพลงที่ชื่อว่าสดุดีอัสสัมชัญแล้ว ซึ่งแต่งขึ้นในโอกาสสุวรรณสมโภชโรงเรียนอัสสัมชัญ โดยได้บรรเลงเป็นครั้งแรกในวันที่ [[16 กุมภาพันธ์]] ปีนั้นเอง แต่หลังจากนั้นก็ไม่พบว่ามีการบรรเลงในโอกาสใดอีก ต่อมาในปี พ.ศ. 2481 นายธนิต ราชภัณฑารักษ์ (OMAC 9916) ซึ่งได้ศึกษาดนตรีจาก นายโชติ สิงหเสนี (OMAC 8722) ได้แต่งคำร้องเพลงสดุดีอัสสัมชัญขึ้น โดยอาศัยทำนองเพลง Le Defile du Regiment ในหนังสือ Le Livre de Musique ของ [[:fr:Claude Augé|Claude Augé]] เป็นหนังสือเรียนวิชาดนตรี ซึ่งภราดาหลุยส์ โนบิรอง (เดินทางสู่ประเทศไทยเมื่อ 7 มกราคม พ.ศ. 2450 มรณภาพเมื่อ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2510 มีฉายาว่า หลุยส์แตร) เป็นผู้สอน และเพลงสดุดีอัสสัมชัญจึงกลายเป็นเพลงประจำสถาบันนับแต่นั้น