ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมัชชาแห่งชาติ (ประเทศฝรั่งเศส)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 84:
ตาม[[รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5]] นั้นได้มีการเพิ่มอำนาจของฝ่ายบริหารมากขึ้นเปรียบเทียบกับ[[รัฐธรรมนูญ]]ฉบับก่อนๆ (สาธารณรัฐที่ 3 และสาธารณรัฐที่ 4)<ref>William G. Andrews, ''[http://www.jstor.org/stable/439454 The Constitutional Prescription of Parliamentary Procedures in Gaullist France]'', Legislative Studies Quarterly, Vol. 3, No. 3 (Aug. 1978), pp. 465–506</ref>
 
[[ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส]]นั้นสามารถใช้อำนาจตัดสินใจ[[ยุบสภา]]และจัดการเลือกตั้งใหม่ได้ โดยใช้เป็นวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่สภาผู้แทนราษฎรนั้นไม่สามารถหาทางออกได้ ซึ่งการยุบสภานั้นเกิดขึ้นเป็นบางครั้ง การยุบสภาครั้งสุดท้ายนั้นเกิดขึ้นในสมัยของประธานาธิบดี[[ฌัคฌัก ชีรัก]] ในปี[[ค.ศ. 1997]] ภายหลังจากการขาดเสียงสนับสนุนที่เพียงพอต่อ[[นายกรัฐมนตรี]][[อาแล็ง ฌูว์เป]] อย่างไรก็ตามแผนการยุบสภาครั้งนี้นั้นทำให้เกิดปัญหามากขึ้นอีกเนื่องจากพรรคการเมืองเสียงข้างมากนั้นกลับกลายเป็นฝั่งตรงข้ามแทน
 
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นสามารถใช้อำนาจถอดถอนฝ่ายบริหาร (ซึ่งประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี) ผ่านการเสนอญัตติไม่ไว้วางใจ (motion de censure) ซึ่งเป็นเหตุให้นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีนั้นจะต้องได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองเสียงข้างมากหรือพรรคร่วมฯในสภาผู้แทนราษฎร ในกรณีที่ประธานาธิบดีกับสภาผู้แทนราษฎรนั้นมาจากพรรคการเมืองฝั่งตรงข้ามกัน จะเกิดเหตุการณ์ที่นำไปสู่สถานการณ์การบริหารร่วมกัน "Cohabitation" ซึ่งเกิดขึ้นทั้งหมดสามครั้ง ย่อมทำให้การบริหารประเทศเป็นไปอย่างลำบาก ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับประธานาธิบดีมีค่อนข้างมาก ดังปรากฏให้เห็นในปี 1997-2002 ที่ประธานาธิบดี[[ฌัก ชีรัก]] (Jacques Chirac) เป็นฝ่ายขวา ในขณะที่นายกรัฐมนตรี[[ลียอแนล ฌ็อสแป็ง]] (Lionel Jospin) รัฐบาลและเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรเป็นฝ่ายซ้าย ซึ่งต่อไปจะมีโอกาสเกิดน้อยลงภายหลังจากการปรับวาระของประธานาธิบดี และสภาผู้แทนราษฎรให้อยู่ในช่วงเดียวกัน