ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมัชชาแห่งชาติ (ประเทศฝรั่งเศส)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 80:
 
สภาผู้แทนราษฎรประชุม ณ [[Palais Bourbon|พระราชวังบูร์บง]] ริมฝั่ง[[แม่น้ำแซน]] ใน[[กรุงปารีส]] ({{coord|48.861899|2.318605}})
 
==ความสัมพันธ์กับฝ่ายบริหาร==
ตาม[[รัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5]] นั้นได้มีการเพิ่มอำนาจของฝ่ายบริหารมากขึ้นเปรียบเทียบกับ[[รัฐธรรมนูญ]]ฉบับก่อนๆ (สาธารณรัฐที่ 3 และสาธารณรัฐที่ 4)
 
[[ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส]]นั้นสามารถใช้อำนาจตัดสินใจ[[ยุบสภา]]และจัดการเลือกตั้งใหม่ได้ โดยใช้เป็นวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่สภาผู้แทนราษฎรนั้นไม่สามารถหาทางออกได้ ซึ่งการยุบสภานั้นเกิดขึ้นเป็นบางครั้ง การยุบสภาครั้งสุดท้ายนั้นเกิดขึ้นในสมัยของประธานาธิบดี[[ฌัค ชีรัก]] ในปี[[ค.ศ. 1997]] ภายหลังจากการขาดเสียงสนับสนุนที่เพียงพอต่อ[[นายกรัฐมนตรี]][[อาแล็ง ฌูว์เป]] อย่างไรก็ตามแผนการยุบสภาครั้งนี้นั้นทำให้เกิดปัญหามากขึ้นอีกเนื่องจากพรรคการเมืองเสียงข้างมากนั้นกลับกลายเป็นฝั่งตรงข้ามแทน
 
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นสามารถใช้อำนาจถอดถอนฝ่ายบริหาร (ซึ่งประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี) ผ่านการเสนอญัตติไม่ไว้วางใจ (motion de censure) ซึ่งเป็นเหตุให้นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีนั้นจะต้องได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองเสียงข้างมากหรือพรรคร่วมฯในสภาผู้แทนราษฎร ในกรณีที่ประธานาธิบดีกับสภาผู้แทนราษฎรนั้นมาจากพรรคการเมืองฝั่งตรงข้ามกัน จะเกิดเหตุการณ์ที่นำไปสู่สถานการณ์การบริหารร่วมกัน "Cohabitation" ซึ่งเกิดขึ้นทั้งหมดสามครั้ง ย่อมทำให้การบริหารประเทศเป็นไปอย่างลำบาก ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับประธานาธิบดีมีค่อนข้างมาก ดังปรากฏให้เห็นในปี 1997-2002 ที่ประธานาธิบดี[[ฌัค ชีรัก]] (Jacques Chirac) เป็นฝ่ายขวา ในขณะที่นายกรัฐมนตรี[[ลียอแนล ฌ็อสแป็ง]] (Lionel Jospin) รัฐบาลและเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรเป็นฝ่ายซ้าย ซึ่งต่อไปจะมีโอกาสเกิดน้อยลงภายหลังจากการปรับวาระของประธานาธิบดี และสภาผู้แทนราษฎรให้อยู่ในช่วงเดียวกัน
 
การเสนอญัตติไม่ไว้วางใจนั้นเกิดขึ้นเป็นช่วงๆโดยพรรคการเมืองฝ่ายค้านซึ่งไม่เห็นด้วยกับการบริหารราชการแผ่นดินที่ไม่เหมาะสม โดยส่วนใหญ่มักจะไม่สำเร็จ เนื่องจากสมาชิกพรรคการเมืองนั้นจะต้องทำตามมติพรรค เพื่อมิให้มีการถอดถอนฝ่ายบริหารได้จากสภาผู้แทนราษฎร และตั้งแต่การก่อตั้งสาธารณรัฐที่ 5 นั้นมีการผ่านมติไม่ไว้วางใจสำเร็จเพียงครั้งเดียวในปีค.ศ. 1962 หลังจากความพยายามในการแก้รัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของประธานาธิบดี เป็นเหตุให้ประธานาธิบดี[[ชาร์ล เดอ โกล]] ใช้อำนาจยุบสภาภายในไม่กี่วันต่อมา
 
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นสามารถตั้งกระทู้ และถามกระทู้สดเพื่อให้รัฐมนตรีมาตอบได้ โดยทุกวันพุธช่วงบ่ายจะเป็นช่วงเวลาการตั้งกระทู้สด ซึ่งได้รับการถ่ายทอดสดผ่านโทรทัศน์ ซึ่งชาวฝรั่งเศสมักจะเห็นว่าเป็นเพียงการแสดงเท่านั้น เนื่องจากพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลจะตั้งคำถามเชิงชม ในขณะที่ฝ่ายค้านนั้นมักจะตั้งคำถามเพื่อให้รัฐบาลขายหน้า
 
== ดูเพิ่ม ==