ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มกราคม พ.ศ. 2489"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 7:
ผลการเลือกตั้งพบว่า จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 6,431,827 คน มีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจำนวน 2,091,788 คน คิดเป็น[[ร้อยละ]] 32.52 ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุดคือ [[จังหวัดบุรีรัมย์]] คิดเป็นร้อยละ 54.65 และจังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยที่สุดคือ [[จังหวัดสุพรรณบุรี]] คิดเป็นร้อยละ 13.40
 
เหตุการณ์ที่น่าสนใจของการเลือกตั้งครั้งนี้คือ การรณรงค์หาเสียงแข่งขันใน[[จังหวัดพระนคร]] ระหว่าง นาย[[ควง อภัยวงศ์]] นายกรัฐมนตรีช่วงสงคราม กับนาย[[วิลาศ โอสถานนท์]] ซึ่งการแข่งขันของทั้งคู่เต็มไปด้วยสีสันและผู้คนให้ความสนใจมาก ด้วยความที่เคยเป็น[[คณะราษฎร]]สายพลเรือน ที่ทำ[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475|การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475]] มาด้วยกัน โดยนายควงใช้คำขวัญที่ว่า ''"เหล็กวิลาศหรือจะสู้ตะปูควง"'' ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า นายควง ชนะเลือกตั้งไปด้วยคะแนนถล่มทลาย อีกทั้ง ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช รักษาการนายกรัฐมนตรีก็ได้ลงรับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก และได้รับเลือกตั้งด้วย
 
หลังจากนี้ ได้มีการโหวตกันใน[[รัฐสภาไทย|รัฐสภา]] ปรากฏว่าเสียงส่วนใหญ่เลือก นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี นับเป็นสมัยที่ 2 ของนายควง ในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นับเป็น[[คณะรัฐมนตรีคณะที่ 14]] แต่ว่าคณะรัฐมนตรีคณะนี้ก็มีอายุอยู่ได้เพียงเดือนเศษ ก็ต้องสิ้นสุดลง เนื่องจากการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองค่าใช้จ่ายของประชาชนในภาวะคับขัน พ.ศ. 2489 หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ''"พ.ร.บ.ปักป้ายข้าวเหนียว"'' ที่ นาย[[ทองอินทร์ ภูริพัฒน์]] [[ส.ส.]] [[จังหวัดอุบลราชธานี]] [[พรรคสหชีพ]] เป็นผู้เสนอ คณะรัฐมนตรีได้แถลงให้สภาฯทราบแล้วว่า คณะรัฐมนตรีไม่สามารถปฏิบัติตามร่างพระราชบัญญัติฯนั้นได้ เพราะเกรงจะเป็นการเดือดร้อนแก่ประชาชนทั่วไป เนื่องด้วยไม่มีมาตรการอะไรมารองรับ แต่สภาฯได้ลงมติรับหลักการ ด้วยคะแนนเสียง 65 ต่อ 63 รัฐมนตรีทั้งคณะจึงได้กราบถวายบังคมฯ ลาออกจากตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ [[18 มีนาคม]] พ.ศ. 2489 ซึ่งสมาชิกคณะรัฐมนตรีคณะนี้ส่วนหนึ่ง ได้ร่วมกันก่อตั้ง [[พรรคประชาธิปัตย์]] ขึ้นมาในเวลาหลังจากนี้ต่อมาไม่นาน<ref>มานิตย์ จุมปา. ''สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย'' (พ.ศ. 2540) หมวดองค์กรทางการเมือง เรื่อง 7. การยุบสภา. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2544. 41 หน้า. ISBN 974-00-8337-4 </ref> <ref>บุญทัน ดอกไธสง, ''การเปลี่ยนแปลงทางการบริหารและการเมืองไทย,'' กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2520 </ref> <ref>จรี เปรมศรีรัตน์, ''กำเนิดพรรคประชาธิปัตย์, '' กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ใจกาย, 2550. 97-98 หน้า. ISBN 978-974-7046-72-4</ref>