ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 51:
# พันเอก หลวงชำนาญยุทธศิลป์
 
นักโทษประหารชีวิตที่เหลือ ถูกทยอยนำตัวออกมาประหารชีวิต รวมทั้งบุตรชายทั้ง 2 คน ของพระยาเทพหัสดิน จนถึงทุกวันนี้ ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าผู้ถูกลงโทษทั้งหมด มีใครได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาบ้างหรือไม่ เพราะถูกตัดสินโดยศาลที่ตั้งขึ้นมาเป็นพิเศษ และไม่มีทนายจำเลย นักโทษที่ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิตและประหารชีวิต ถูกนำไปคุมขังที่[[เรือนจำบางขวาง]] [[จังหวัดนนทบุรี]] ในส่วนตัวของ พลโท พระยาเทพหัสดิน ได้ถูกตัดสินให้ประหารชีวิต แต่ศาลเห็นว่าเคยเป็นผู้ประกอบความดีแก่ประเทศมาก่อน จึงลดหย่อนโทษให้เหลือจำคุกตลอดชีวิต เช่นเดียวกับ [[หลวงชำนาญยุทธศิลป์]] และ[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร]] โดยตลอดระยะเวลาที่ต้องโทษอยู่นั้น พลโท พระยาเทพหัสดิน ถูกจองจำเดี่ยวในห้องขังห้องสุดท้ายติดทางขึ้นลงบันได ซึ่งเป็นคนละด้านกับห้องขังของ หลวงชำนาญยุทธศิลป์ ซึ่งถูกจองจำเดี่ยวเช่นเดียวกัน จนกระทั่งในปลายปี พ.ศ. 2482 หลังจากที่ลูกชายทั้ง 2 ได้ถูกเบิกตัวไปประหารชีวิตแล้วในเวลาเช้ามืด พลโท พระยาเทพหัสดิน ยังไม่ทราบเรื่อง และได้ชงกาแฟเพื่อให้ผู้คุมเรือนจำนำไปให้ลูกชายเหมือนเช่นทุกวันที่้ที่เคยทำมา ถึงค่อยทราบ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ถูกจองจำอยู่นั้น พลโท พระยาเทพหัสดิน ถือเป็นที่เคารพของบรรดานัีกโทษนักโทษคดีเดียวกันทั้งหมด เนื่องจากเป็นผู้อาวุโสสูงสุดและมีตำแหน่งอันทรงเกียรติมาก่อน
 
ครั้นรัฐบาลหลวงพิบูลสงครามสิ้นอำนาจลง นายควง อภัยวงศ์ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบต่อ ในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 ภารกิจแรก ๆ ที่รัฐบาลรีบกระทำก็คือ ขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่นักโทษการเมืองทั้งหมด พลโท พระยาเทพหัสดิน ได้รับอิสรภาพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2487 และได้รับนิรโทษกรรมในเวลา 3 ปีต่อมา ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2490<ref>พายัพ โรจนวิภาต (พ.ศ. 2554), ''ยุคทมิฬ บันทึกนักโทษฝ่ายกบฏบวรเดช''. ISBN 978-6167146-22-5</ref>
บรรทัด 60:
พระยาเทพหัสดิน เคยดำรงตำแหน่ง[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร|สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 1 จังหวัดพระนคร]] (ส.ส.พระนคร) [[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2476|จากการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2476]] ซึ่งถือว่าเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกด้วย และมีตำแหน่งเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
 
ต่อมาในบั้นปลายชีวิต ได้รับพระราชทานยศสูงสุดเป็น [[พลเอก]] (พล.อ.) และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล[[จอมพล ป. พิบูลสงคราม]] เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 ซึ่งกลับมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหลัง[[รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490|จากรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2490]] และ[[รัฐประหาร 6 เมษายน พ.ศ. 2491|รัฐประหาร พ.ศ. 2491]] ซึ่งก่อนหน้าการรัฐประหาร พ.ศ. 2491 ไม่นาน พระยาเทพหัสดินก็เป็นหนึ่งในผู้ที่สนับสนุนให้ จอมพล ป. กลับมาดำรงตำแหน่งนา่ยกนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง<ref>''นายควง อภัยวงศ์ กับพรรคประชาธิปัตย์'' โดย ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม (กรุงเทพมหานคร, พ.ศ. 2522)</ref>
 
== อ้างอิง ==