ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การปฏิวัติรัสเซีย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'จราจล'→'จลาจล'
บรรทัด 35:
'''การปฏิวัติรัสเซีย พ.ศ. 2460''' ({{lang-en|Russian Revolution of 1917}}) คือภาพรวมของระลอก[[ปฏิวัติ|การปฏิวัติ]]ใน[[จักรวรรดิรัสเซีย|รัสเซีย]]ช่วงปี พ.ศ. 2460 ซึ่งทำลาย[[ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์]]ของ[[สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งรัสเซีย|พระเจ้าซาร์]] และนำไปสู่การก่อตั้ง[[สหภาพโซเวียต]] พระเจ้าซาร์ถูกถอดพระอิสริยยศและแทนที่ด้วยรัฐบาลเฉพาะกาลในการปฏิวัติครั้งแรกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2460 (ตาม[[ปฏิทินจูเลียน]]ซึ่งรัสเซียยังคงใช้อยู่ในขณะนั้น แต่ตรงกับเดือนมีนาคมตาม[[ปฏิทินเกรโกเรียน]]) ในการปฏิวัติครั้งที่สองในเดือนตุลาคม รัฐบาลเฉพาะกาลถูกโค้นล้มและแทนที่ด้วยรัฐบาลพรรค[[บอลเชวิก]] ([[คอมมิวนิสต์]])
 
[[การปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์]] (เดือนมีนาคม พ.ศ. 2460 ตามปฏิทินเกรโกเรียน) เป็นการปฏิวัติในเฉพาะบริเวณนคร[[เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก|เปโตรกราด]] (ปัจจุบัน: เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก) ภายใต้ภาวะความวุ่นวายนั้นเอง สมาชิก[[รัฐสภาดูมา|รัฐสภาหลวงดูมา]]ถือโอกาสเข้ายึดอำนาจการบริหารประเทศและจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลขึ้น เหล่าผู้นำกองทัพต่างรู้สึกว่าความพยายามปราบปรามการจราจลจลาจลของตนนั้นไร้ผล และ[[ซาร์นีคาไลที่ 2 แห่งรัสเซีย|พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2]] พระเจ้าซาร์แห่งรัสเซียองค์สุดท้ายก็ทำการสละราชสมบัติ ในตอนแรกเริ่ม พวกโซเวียต (สภาแรงงาน) ซึ่งนำโดยพวกสังคมนิยมหัวรุนแรงอนุญาตให้รัฐบาลเฉพาะกาลเข้าบริหารประเทศ แต่ยืนยันให้พวกตนได้รับอภิสิทธิ์ในการแทรกแซงรัฐบาลและควบคุมกองกำลังต่างๆ มากมาย กล่าวได้ว่าการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์เกิดขึ้นในบริบทของความพ่ายแพ้ทางทหารอย่างหนักในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]] (พ.ศ. 2457 - 2461) ซึ่งทำให้กองทัพส่วนมากอยู่ในสภาพของการก่อกบฏ
 
ช่วงเวลาของ ''[[อำนาจคู่]]'' (Dual power) จึงได้ถือกำเนิดขึ้น ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลเฉพาะกาลครอบครองอำนาจรัฐ ขณะที่เครือข่ายโซเวียตแห่งชาติซึ่งนำโดยพวกสังคมนิยมก็ได้รับการสวามิภักดิ์จากเหล่าชนชั้นล่างและพวก[[ฝ่ายซ้าย-ฝ่ายขวา|ฝ่ายซ้าย]] และตลอดช่วงเวลาแห่งความวุ่นวายนี้มีการก่อกบฏ, ประท้วง และนัดหยุดงานมากมายหลายครั้ง ต่อมารัฐบาลเฉพาะกาลตัดสินใจที่จะยังคงทำสงครามกับเยอรมนีต่อไป ส่งผลให้พวกบอลเชวิกและนักสังคมนิยมกลุ่มต่างๆ เริ่มออกมารณรงค์ให้ยุติการสู้รบกับเยอรมนี บอลเชวิกได้ทำการเปลี่ยนกองกำลังจากชนชั้นแรงงานให้ไปเป็น ''เรดการ์ด'' ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็น[[กองทัพแดง]] และกองกำลังนี้เองที่บอลเชวิกควบคุมเอาใจใส่อย่างมีนัยสำคัญ<ref>Orlando Figes, ''A Peoples Tragedy'', p370</ref>