ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'ทรงโปรด'→'โปรด'
บรรทัด 32:
=== บรรพชาและอุปสมบท ===
[[ไฟล์:Watrakhanghortrai052000.jpg|thumb|สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ดำรงตำแหน่งทางคณะสงฆ์เป็นเจ้าอาวาส[[วัดระฆังโฆสิตาราม]] ในสมัย[[รัชกาลที่ 4]] จวบจนท่านมรณภาพในช่วงต้น[[รัชกาลที่ 5]]]]
เมื่อถึงวัยพอสมควรแล้ว ได้บรรพชาเป็นสามเณรใน[[พระพุทธศาสนา]] เมื่อ พ.ศ. 2343 ต่อมาปรากฏว่า[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]]ทรงโปรดและเมตตาสามเณรโตเป็นอย่างยิ่ง ครั้นอายุครบอุปสมบทปี พ.ศ. 2350 จีงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อุปสมบทเป็น[[นาคหลวง]]ที่[[วัดพระศรีรัตนศาสดาราม]] มี[[สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)]] เป็น[[พระอุปัชฌาย์]] มีฉายานามในพุทธศาสนาว่า "พฺรหฺมรํสี"<ref>ห้องสมุดวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร. (2554). ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี). [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.watrakang.com/biography.php</ref> ต่อมา[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระภิกษุโตรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์
 
=== จริยาวัตร ===
บรรทัด 42:
=== สมณศักดิ์ ===
[[ไฟล์:Wat Intharawihan 01.jpg|180px|thumb|หลวงพ่อโต ([[พระศรีอริยเมตไตรย]]) [[วัดอินทรวิหาร]] กรุงเทพ ปูชนียสถานแห่งสุดท้ายที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ได้สร้างไว้]]
ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] พระองค์ทรงโปรดปรานพระภิกษุโตเป็นอย่างยิ่ง ในปี พ.ศ. 2395 พระองค์จึงได้พระราชทานสมณศักดิ์ถวายพระภิกษุโตเป็นครั้งแรก โดยมีสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ราชทินนาม "พระธรรมกิติ" และดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส[[วัดระฆังโฆสิตาราม]] ขณะนั้นท่านอายุ 65 ปี โดยปกติแล้วพระภิกษุโตมักพยายามหลีกเลี่ยงการรับพระราชทานสมณศักดิ์ แต่ด้วยเหตุผลบางประการ ทำให้ท่านต้องยอมรับพระราชทานสมณศักดิ์ในที่สุด อีก 2 ปีต่อมา (พ.ศ. 2397) ท่านจึงได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ ในราชทินนาม "พระเทพกวี" หลังจากนั้นอีก 10 ปี (พ.ศ. 2407) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นสมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏ ในราชทินนาม "สมเด็จพระพุฒาจารย์" มีนามจารึกตามสุพรรณบัฏว่า
 
{{quote|สมเด็จพระพุฒาจารย์ เอนกปรีชา วิสุทธศีลจรรยาสมบัติ นิพัทธุตคุณ สิริสุนทร พรตจาริก อรัญญิกคนฤศร สมณนิกรมหาปริณายก ตรีปิฎกโกศล วิมลศีลขันธ์ ณ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร พระอารามหลวงฯ<ref>สมมตอมรพันธ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. (2545). เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม 1. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.</ref>}}