ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaSearch: วิดีโอ
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'ทรงโปรด'→'โปรด'
บรรทัด 38:
 
== ประวัติ ==
เหตุการณ์ล่วงผ่านไปในอดีต ในสมัย[[พระยามังราย]]องค์ที่ 12 ปกครองเมือง[[เชียงใหม่]] ท่านมีพระราชโอรสนามว่า ท้าวศรีบุญเรือง ต่อมามีคนกล่าวหาว่าท้าวศรีบุญเรืองเตรียมการจะกบฏ พระเจ้าติโลกราชจึงแก้ไขสถานการณ์ด้วยการให้ไปปกครองเมือง[[เชียงแสน]]และ[[เชียงราย]]แทน ต่อมา ท้าวศรีบุญเรือง มีพระราชโอรส ซึ่งประสูติบนยอเขาสูงในเชียงราย (ยอดดอกบัว) ท่านได้ประทานนามพระราชโอรสว่า “พระเจ้ายอดเชียงราย” จนกระทั่งวันหนึ่ง ติโลกราชถูกเพ็ดทูลจากนางหอมุข พระสนมเอกว่าท้าวศรีบุญเรืองเตรียมการก่อกบฏอีก จึงมีพระกระแสรับสั่งให้ปลงพระชนม์พระราชโอรสเสีย และหลังจากนั้นทรงโปรดให้ราชนัดดา คือ พระเจ้ายอดเชียงราย ครองเมืองเชียงรายสืบต่อมา
 
เหตุการณ์ต่อจากนั้น มีพระธุดงค์รูปหนึ่งปักกลดตรงบริเวณวัดร่ำเปิงในปัจจุบัน ท่านทูลพระเจ้ายอดเชียงรายว่าเมื่อตอนกลางคืน ท่านเห็นรัศมีสว่างบริเวณต้นมะเดื่อซึ่งไม่ห่างจากที่ท่านปักกลด จึงสงสัยว่าน่าจะมี[[พระธาตุ]]ประดิษฐานอยู่บริเวณดังกล่าว เมื่อพระเจ้ายอดเชียงรายทราบดังนี้ จึงอธิษฐานว่า ถ้าที่แห่งนั้นมี[[พระบรมธาตุ]]ฝังอยู่ ขอให้ช้างพระที่นั่งที่ท่านกำลังทรงไปหยุด ณ ที่แห่งนั้น จากนั้นช้างเดินไปหยุดที่ใต้ต้นมะเดื่อ พระองค์จึงขุดดินบริเวณนี้และพบ[[พระธาตุเขี้ยวแก้ว]]บรรจุอยู่ในผอบดินแบบเชียงแสน พระองค์จึงทรงทำพิธีสมโภช และอธิษฐานขอเห็นอภินิหารของ[[พระบรมสารีริกธาตุ]]นั้นจากนั้นจึงบรรจุลงในผอบทอง แล้วนำไปบรรจุไว้ในพระ[[เจดีย์]]ที่สร้างขึ้นใหม่ในบริเวณนั้น และจารึกประวัติหารสร้าง[[วัด]]นี้ลงในศิลาจารึกเป็นตัวหนังสือฝักขาม แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า “วันศุกร์ขึ้นสามค่ำเดือนเจ็ด ปีชวด พุทธศักราชสองพันสามสิบหาปี เวลา 08.20 น. ได้ฤกษ์ภรณี (ดาวงอนไถ) ได้โยคมหาอุจจ์” โดยมีพระนางอะตะปาเทวี ซึ่งเป็นพระมเหสี ดำเนินการสร้างแต่งตั้งคณะกรรมการทั้งที่เป็นพระมหาเถระและผู้สร้างฝ่าย[[อาณาจักร]] นอกจากนี้ยังมีการสร้าง[[พระพุทธรูป]]เป็นประธาน และพระพุทธรูปตามซุ้มที่พระธาตุเจดีย์กับได้สร้าง[[พระไตรปิฏก]]และพระราชทานทรัพย์ (นา) เงิน (เบี้ย) เป็นจำนวนมหาศาล