ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โอตากุ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 4922316 สร้างโดย 124.120.228.107 (พูดคุย)
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
'''โอะตะกุ''' ({{ญี่ปุ่น|おたく|otaku}}) คำว่า Otaku เป็นคำนาม ดัดแปลงมาจากคำว่า O-taku ซึ่งเกิดจากการนำเอาคำปัจจัย "O-" มาเติมหน้าตัวคันจิ "taku" ซึ่งแปลว่า "บ้าน" และใช้เมื่อกล่าวถึงบ้านของคู่สนทนา ในความหมายว่า "บ้านของคุณ" นอกจากนี้ยังสามารถใช้เรียกแทนตัวคู่สนทนาได้ ในความหมายของ "คุณ" อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะในความหมายของ "บ้าน" หรือ "คุณ" Otaku ก็ถือว่าเป็นคำที่ให้ความรู้สึกสุภาพและเป็นทางการอย่างมาก
[[ไฟล์:Otakustereo.jpg|thumb|175px|ลักษณะของโอะตะกุในความเข้าใจของคนทั่วไป: อ้วน ผมเผ้ารุงรัง ใส่แว่น และใช้เวลาส่วนใหญ่ฝันลมๆ แล้งๆ ถึงตัวละครหญิงในการ์ตูน]]
 
'''โอะตะกุ''' ({{ญี่ปุ่น|おたく|otaku}}) OTAKUเป็นคำภาษาญี่ปุ่น เป็นคำเรียกบุคคลธรรมดาทั่วไปอีกประเภท (โดยมากจะหมายความถึง[[ผู้ชาย|ชายหนุ่ม]]เป็นหลัก) ที่มีความสนใจในสิ่งที่ตนชอบ (มักหมายความถึง[[อะนิเมะ]], [[มังงะ]] หรือ[[เกม]]) อย่างเกินปกติ และมีความสามารถในการเข้าสังคมไม่สูง เดิมทีนั้น โอะตะกุ มีความหมายว่า "บ้านของคุณ" ต่อมาก็ถูกนำมาเรียกใช้กับแฟนพันธ์แท้ คลับอะนิเมะ มังงะ ซึ่ง OTAKU นั้นมีหลายชนชั้น มีทั้ง ด้านสว่าง และ ด้านมืด (เช่น [[คดี Miyazaki]] , [[Otaku Panic]] เป็นต้น)
== ลักษณะของ OTAKU ==
OTAKU เป็นบุคคลธรรมดาทั่วไป ที่มีความสนใจในสิ่งที่ตนชอบ (มักหมายความถึง[[อะนิเมะ]], [[มังงะ]] หรือ[[เกม]]) อย่างเกินปกติ เดิมทีนั้น โอะตะกุ มีความหมายว่า "บ้านของคุณ" ต่อมาก็ถูกนำมาเรียกใช้กับแฟนพันธ์แท้ อะนิเมะ มังงะ ซึ่ง OTAKU นั้นมีหลายชนชั้น มีทั้ง ด้านสว่าง และ ด้านมืด (เช่น [[คดี Miyazaki]] , [[Otaku Panic]] เป็นต้น)
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== ประวัติความเป็นมาของคำว่า OTAKU ==
* [http://www.lazaruscorporation.co.uk/v4/articles/otaku.php ''I'm alone, but not lonely'' (ผมโดดเดี่ยวแต่ไม่เดียวดาย)] - บทความเกี่ยวกับโอะตะกุในประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบัน {{en icon}}
การนำเอาคำว่า Otaku มาใช้เรียกกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งนั้น ไม่มีแหล่งยืนยันแน่ชัดว่าเริ่มตั้งแต่ตอนไหน แต่ควรจะเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายแล้วในช่วงต้นทศวรรษที่ 80 เนื่องจากวีดิโอที่ชื่อ "Otaku no Video" ของบริษัท GAINAX ที่ออกมาในปี 1992 ซึ่งนำเสนอเรื่องราวของพวก Otaku นั้น ยืนพื้นจากเหตุการณ์ในช่วงปี 1982-85 เฟรเดอริค ชอดต์ (Frederik L. Schodt) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ Dreamland Japan : Writing on modern manga ว่า ช่วงต้นทศวรรษที่ 1980 แฟนการ์ตูนและอนิเมชั่น (Animation) ได้เริ่มใช้คำว่า Otaku เรียกกันและกัน สาเหตุที่ใช้ไม่เป็นที่ชัดเจนแต่คำศัพท์นี้ก็ถูกใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมกับที่กระแสความนิยมในการ์ตูนและอนิเมชั่นได้ก่อให้เกิดการเพิ่มจำนวนของพวก มาเนีย (Mania) หรือ แฟนพันธุ์แท้ (Hardcore Fans) มากขึ้น
* [http://www.cjas.org/~leng/otaku-p.htm The Politics of Otaku (การเมืองของโอะตะกุ)] {{en icon}}
* [http://www.kinsellaresearch.com/nerd.html Amateur Manga Subculture and the Otaku Panic (วัฒนธรรมย่อยของนักเขียนการ์ตูนสมัครเล่นและความตื่นตระหนกต่อโอะตะกุ)] {{en icon}}
* [http://yamato.revecess.com/?episode=18 Episode 18 of Yamato Damacy (ยามาโตะ ดามาซี ตอนที่ 18)] - ภาพยนตร์สารคดีสมัครเล่นเกี่ยวกับโอะตะกุ {{en icon}}
* ข้อเขียนเกี่ยวกับโอะตะกุ [http://smt.blogs.com/mari_diary/2005/07/what_is_otaku_.html 1].[http://smt.blogs.com/mari_diary/2006/05/otaku_fashion_h.html 2] ในบล็อก [http://smt.blogs.com/mari_diary/ Watashi to Tokyo (ฉันกับโตเกียว)] {{en icon}}
* [http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=spiral&month=26-12-2005&group=5&gblog=15 ความหมายของคำว่า โอะตะคุ (Otaku)] {{th icon}}
* [http://th.uncyclopedia.info/wiki/โอตาคุ โอตาคุ]
 
== คดีของ Miyazaki , Otaku Panic ==
คำว่า Otaku panic ถูกนำมาใช้โดย ชารอน คินเซลลา (Sharon Kinsella) ในหนังสือ Adult manga : culture & power in contemporary japanese society เมื่อกล่าวถึง คดี Miyasaki ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้คำว่า Otaku เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในญี่ปุ่น
คดี Miyazaki เกิดขึ้นระหว่าง ปี 1988-1989 ที่จังหวัด ไซตามะ (Saitama) โดยนาย มิยาซากิ ซึโตมุ (Miyazaki Tsutomu) วัย 27 ปีได้ประกอบคดีฆาตกรรมต่อเนื่องเด็กหญิงวัยก่อนเข้าเรียนจำนวน 4 คน ซึ่งทุกคนจะถูก มิยาซากิ ลักพาตัวไปที่ห้องพัก เพื่อข่มขืนแล้วฆ่าปิดปาก จากนั้นจึงทำการแยกส่วนศพไปซ่อนเพื่ออำพรางคดี หลังจากนั้นเขายังได้บันทึกเรื่องราวทั้งหมดลงในคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้เขายังเคยส่งชิ้นส่วนกระดูกและฟันของเหยื่อรายหนึ่งไปให้ครอบครัวของเหยื่อ โดยใช้ชื่อปลอมว่า อิมาดะ ยูโกะ (Imada Yuko) ซึ่งเป็นชื่อของตัวละครในอนิเมชั่นที่เขาชื่นชอบ ความโหดเหี้ยมของการกระทำของมิยาซากิทำให้ The New York Times ถึงกับวิจารณ์ว่า...
"ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นพฤติกรรมของชาวญี่ปุ่น"
หลังจากที่ตำรวจจับตัวมิยาซากิได้นั้น จากการสอบปากคำพบว่าเขามีรูปแบบการดำรงชีวิต 2 แบบ โดยตอนกลางวันจะเป็นเด็กฝึกงานของโรงพิมพ์ในละแวกนั้น แต่ตอนกลางคืนจะเพลิดเพลินอยู่กับการ์ตูนและวีดิโอกว่า 6000 ม้วน ซึ่งส่วนหนึ่งมีเนื้อหาแนวสยองขวัญและลามกอนาจาร การที่ทนายของเขาพยายามแก้ต่างว่ามิยาซากิไม่สามารถแยกแยะระหว่างความเป็นกับความตายหรือ โลกแห่งความจริงกับโลกในจินตนาการได้นั้น ทำให้สื่อมวลชนพากันประนามการกระทำของเขาว่ามีสาเหตุมาจากการ์ตูนและอนิเมชั่น แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ บรรดาสื่อมวลชนได้ใช้คำว่า Otaku เรียกแทนตัวมิยาซากิในการประโคมข่าว ซึ่งก็ได้ก่อให้เกิดภาพพจน์ในแง่ลบต่อคำว่า Otaku นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา...
ชอดต์ (Frederik L. Schodt) กล่าวว่า หลังจากคดี Miyazaki เรื่องราวเกี่ยวกับ Otaku และ Otaku-zoku ได้ถูกนำมาวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ในที่สุดคำว่า Otaku ก็ได้ถูกใช้แทน ชายหนุ่มที่ไม่สามารถเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและโลกแห่งความจริง จมปลักอยู่กับความคิดฟุ้งซ่านจากหนังสือการ์ตูนและอนิเมชั่นแนวลามกอนาจาร และมีแนวโน้มที่จะหมกมุ่นในเรื่องเซ็กส์ ในความหมายหนึ่งก็คือ บุคคลที่มีปัญหาทางจิตและเป็นภัยคุกคามต่อสังคม… เหมือนมิยาซากิ
แม้ว่าจะยังมีนักวิจารณ์บางรายให้ความโต้แย้งว่า Otaku เป็นคำศัพท์ที่สื่อมวลชนนำมาใช้อย่างลำเอียงเพื่อจุดมุ่งหมายในการสร้างข่าวเกี่ยวกับ Otaku แต่ท่ามกลางกระแสความสนใจที่สังคมมีต่อคดี มิยาซากิ ก็ทำให้ไม่มีใครให้ความสนใจต่อความเห็นเหล่านั้น....
อย่างไรก็ตาม กลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า Otaku ก็ได้มีความพยายามที่จะลบล้างภาพพจน์ดังกล่าว เช่น ใน ปี 1992 "Otaku no Video" ของบริษัท GAINAX อันเป็นบริษัทผลิตอนิเมชั่นชื่อดังได้ออกวางตลาดโดยนำเสนอชีวิตและสังคมของกลุ่ม Otaku ในลักษณะที่ ขบขัน และ ล้อเลียน แต่แฝงไว้ด้วยความภาคภูมิใจ เพื่อให้คนทั่วไปมีภาพพจน์ที่ดีต่อ Otaku และสร้างความเข้าใจว่า...ไม่ควรด่วนตัดสินว่าสื่อการ์ตูนทั้งหมดให้โทษต่อสังคมด้วย คดี Miyazaki เพียงอย่างเดียว หรือการที่ นายโอกาดะ โทชิโอะ (Okada Toshio) ประธานบริษัท GAINAX ผู้ได้รับสมญานามว่า "Ota-king" ได้พยายามสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ Otaku โดยเขียนหนังสือเกี่ยวกับวัฒนธรรมของ Otaku ออกมาหลายเล่ม ทั้งยังรับเป็นอาจารย์พิเศษในการบรรยายหัวข้อ Otaku Studies ที่ มหาวิทยาลัยโตเกียว อีกด้วย ซึ่งการกระทำเหล่านี้ก็สามารถช่วยให้ภาพพจน์ของ Otaku ดีขึ้นมาบ้างในช่วงทศวรรษที่ 1990
หากแต่คดี Miyazaki ไม่ใช่คดีสะเทือนขวัญคดีเดียวที่เกิดขึ้นจากฝีมือของคนที่เป็น Otaku กรณีที่ การ์ตูน อนิเมชั่น Otaku และอาชญากรรมถูกเชื่อมโยงเข้าหากันในแง่ร้ายยังมีอีกมากมาย เช่น เหตุการณ์ปล่อยแก๊สพิษในสถานีรถไฟใต้ดินเมื่อต้นปี 1995 ของ ลัทธิโอม ชินริเกียว (Aum Shinrikyo) ที่นำโดย นายอาซาฮาระ โชโกะ (Asahara Shoko) ก็ถูกนำมาวิพากษ์วิจารณ์เช่นกัน ซึ่งก็เป็นที่รู้กันดีว่า นายอาซาฮาระ นั้นชื่นชอบในการ์ตูนและอนิเมชั่นเกี่ยวกับหุ่นยนต์มาตั้งแต่เด็ก ความเชื่อหลายประการในลัทธิของเขา เช่น วันสิ้นโลก (Armageddon) สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลที่ได้รับมาจากอนิเมชั่นในสมัยก่อน นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวของนิตยสาร AERA รายสัปดาห์ยังเคยรายงานถึงการใช้การ์ตูนเป็นสื่อในการดึงดูดคนให้เข้าลัทธิในชื่อของ
“AUM COMIC”
เนื่องจากทั้งสองคดีนี้ถือว่าเป็นประเด็นที่อยู่ในความสนใจของสังคม และต่างก็ถูกสื่อมวลชนนำมาเชื่อมโยงกับคำว่า Otaku เพื่อผลในการประโคมข่าว ทำให้ภาพพจน์ในแง่ลบของคำว่า Otaku ยังคงฝังรากลึกอยู่ในสังคมญี่ปุ่น
 
== [[คำศัพท์เฉพาะ OTAKU]] (สายพลัง การ์ตูนต่างๆ) ==
- Uke(เคะ) หมายถึง ฝ่ายรับ
- Seme(เมะ) หมายถึง ฝ่ายรุก
สาย E
Ecchi = แนวทะลึ่งนิดๆหน่อยๆ เด็กสามารถดูได้ แต่ต้องใช้วิจราณญาณในการรับชม
สาย G
Guro = พวกเลือดสาด ไส้ปลิ้น และอื่นๆอีกมากมาย ที่ไม่เหมาะสำหรับเด็ก ผู้สูงอายุ และสตรีมีครรภ์
สาย H
Hentai = การ์ตูนที่เน้นฉาก 18+ เป็นหลัก ซึ่งไม่เหมาะสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี
สาย I
ิ Incent = รักต้องห้าม ที่มีสายเลือดเดียวกัน เช่น พ่อลูก พี่น้อง
สาย K
Kinniku/Kenshiro = พวกแนวต่อสู้ บ้าพลังเล็กน้อย
สาย L
Lolicon = พวกเด็กหญิง ตาบ่องแบ๊ว น่ารักน่าเอ็นดู ที่มีอายุไม่ถึง 18
Shotacon = พวกเด็กชาย หน้าตาน่ารัก
สาย M
Maho = พวกชอบแนวสาวน้อยเวทย์มนตร์
Maid = พวกเมด สาวใช้
Mecha = แนวหุ่นยนต์
Megami = แนวเวทมนต์ แฟนตาซี เทพธิดา มีปีก
Meganekko = ลัทธิสาวแว่น
Miko = มิโกะ ร่างทรง
Mimi = พวกมีหูสัตว์อะไรก็ได้
สาย N
Neko = แมว พวกชอบ หูแมว หางแมว
สาย O
Obacon = พวกชอบหญิงที่อายุมากกว่า
Ojicon = พวกหลงไหลคลั่งใคล้คุณลุง
สาย S&M
Sadism = พวกชอบความรุนแรง
Masochism = พวกชอบความรุนแรง
สาย Y
Yuri = ความรักของ ญ. กับ ญ. แทนด้วยสีขาว
Yaoi = ความรักของ ช. กับ ช. แทนด้วยสีม่วง
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
http://bigvenarin.exteen.com/20080421/o-t-a-k-u
http://jijunejang.wordpress.com/2011/07/25/%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B9%8C-%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B8-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%A5/
[[หมวดหมู่:ศัพท์ในการ์ตูนญี่ปุ่น|อโอะตะกุ]]
[[หมวดหมู่:วัฒนธรรมญี่ปุ่น]]
{{โครงการ์ตูนญี่ปุ่น}}
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/โอตากุ"