ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หลวงชำนาญยุทธศิลป์ (เชย รมยะนันท์)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
หลวงชำนาญยุทธศิลป์ มีชื่อจริงว่า '''เชย รยะนันท์''' เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2437 เมื่อกำเนิดเป็นเด็กที่กำพร้าบิดา จึงมีความอุตสาหะในการเรียนเป็นอย่างมาก ได้รับการศึกษาเบื้องต้นจาก[[โรงเรียนเทพศิรินทร์]]เป็นเวลา 4 ปี จากนั้นเมื่ออายุ 13 ปีจึงได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนมัธยมศึกษาราชบูรณะ ([[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]]) เป็นเวลา 4 ปี จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2452<ref name="มูลบท"/>
 
ต่อมาเมื่อรับราชการเป็นทหารบก ในขณะที่มียศ [[ร้อยเอก]] (ร.อ.) สังกัด[[โรงเรียนนายร้อยทหารบก]] หลวงชำนาญยุทธศิลป์ ได้เข้าร่วมกับคณะราษฎร ที่ประกอบไปด้วยพลเรือน, ข้าราชการพลเรือน และข้าราชการทหารทั้งทหารบกและทหารเรือ กระทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยบทบาทของหลวงชำนาญยุทธศิลป์ ได้ไปพบกับคณะของ[[พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน)|พระยาทรงสุรเดช]] ซึ่งเป็นเสนาธิการผู้วางแผนการทั้งหมดในการปฏิวัติ ที่บริเวณทางรถไฟสายเหนือตัดกับถนนประดิพัทธ ย่านสะพานควาย ห่างจากบ้านของพระยาทรงสุรเดชไปราว 200 เมตร ซึ่งเป็นตำบลนัดพบ ในเวลา 05.00 น. จากนั้นทั้งหมดจึงได้เดินทางไปยัง[[กรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์]] (ม.1 รอ.) ที่สี่แยกเกียกกาย เพื่อลวงเอากำลังทหารและยุทโธปกรณ์มาใช้ในการปฏิวัติ
โดย หลวงชำนาญยุทธศิลป์ ได้ขึ้นไปยังโรงนอนของพลทหารม้า พร้อมกับหลวงรณสิทธิชัย และหลวงสวัสดิ์รณรงค์ เพื่อปลุกทหารให้ตื่นด้วยการตะโกนเสียงดังเนื้อหาว่า เวลานี้เกิดกบฏขึ้นแล้ว ยังมัวนอนอยู่อีก ให้ลุกขึ้นแต่งตัว โดยไม่ต้องล้างหน้า จึงทำให้ได้กำลังทหารมาทำให้การปฏิวัติสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี จากนั้นที่บริเวณ[[ลานพระบรมรูปทรงม้า]] หน้า[[พระที่นั่งอนันตสมาคม]] อันเป็นฐานบัญชาการของคณะราษฎร หลวงชำนาญยุทธศิลป์ยังเป็นผู้อ่านคำประกาศฉบับต่าง ๆ ของคณะราษฎรให้แก่ราษฎรที่ออกมาดูเหตุการณ์ด้วย<ref name="มูลบท">''มูลบทบรรพกิจ ฉบับพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรี หลวงชำนาญยุทธศิลป์'' ณ สุสานหลวง วัดเทพศิรินทราวาศ วันที่ 16 มีนาคม พุทธศักราช 2501 </ref>
 
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หลวงชำนาญยุทธศิลป์ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง[[รายนามรัฐมนตรีของไทยที่ไม่ได้ประจำกระทรวง|รัฐมนตรี (ลอย)]] และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐการถึง 2 สมัย ในสมัยที่ [[พจน์ พหลโยธิน|พระยาพหลพลหยุหเสนา]] เป็นนายกรัฐมนตรี อีกทั้งยังเป็นผู้ริเริ่มให้มีการก่อตั้ง[[โรงงานยาสูบ]]ขึ้นด้วย ในปี [[พ.ศ. 2482]] โดยมีสถานะเป็นผู้อำนวยการโรงงานยาสูบเป็นคนแรกด้วย<ref>[http://www.debsirinalumni.org/webboard_show_ans.php?id_quiz=471&id_topic=2 ๗๕ ปีโรงงานยาสูบจากรุ่นสู่รุ่น]</ref><ref>[http://www.thaiswatch.com/politician/info/pid/POL0000003127/info/history นายพันเอก หลวงชำนาญยุทธศิลป์ (เชย รมยะนันทน์)]</ref>
บรรทัด 28:
[[หมวดหมู่:ทหารบกชาวไทย]]
[[หมวดหมู่:คณะราษฎร]]
[[Category:บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า]]
 
[[หมวดหมู่:รัฐมนตรีไทยที่ไม่ได้ประจำกระทรวง]]
[[หมวดหมู่:บรรดาศักดิ์ชั้นหลวง]]