ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หลวงชำนาญยุทธศิลป์ (เชย รมยะนันท์)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 14:
ท้ายที่สุด หลวงชำนาญยุทธศิลป์ ได้ถูกย้ายไปจองจำที่[[เรือนจำบางขวาง]]เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2482 พร้อมกับนักโทษคนอื่น ๆ และถูกตัดสินให้ถูก[[ประหารชีวิต]]ในปลายปีเ้ดียวกัน แต่ได้ถูกลดโทษให้เหลือจำคุกตลอดชีวิตเช่นเดียวกับ พระยาเทพหัสดิน ซึ่งก่อนที่นักโทษประหารชุดต่าง ๆ จะถูกนำตัวไปประหารด้วยการยิงเป้าในเช้าตรู่ของแต่ละวัน รวมเป็นเวลา 3 วัน ต่างได้มาร่ำลาหลวงชำนาญยุทธศิลป์ ถึงหน้าห้องขัง เช่นเดียวกับพระยาเทพหัสดิน ด้วยความที่เคยเป็นผู้บัญชาการมาก่อน<ref name="พายัพ">พายัพ โรจนวิภาต (พ.ศ. 2554), ''ยุคทมิฬ บันทึกนักโทษฝ่ายกบฏบวรเดช''. ISBN 978-6167146-22-5</ref>
 
หลังการพ้นจากตำแหน่งของ พ.อ.แปลก ในกลางปี พ.ศ. 2487 เมื่อ นาย[[ควง อภัยวงศ์]] ได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีแทน นักโทษทางการเมืองคดีต่าง ๆ ต่างได้รับการปลดปล่อยตัว หลวงชำนาญยุทธศิลป์ก็ได้รับการปล่อยตัวด้วย และออกมาใช้ชีวิตอย่างสงบ จนกระทั่งถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2499 สิริอายุได้ 62 ปี โดยมีพิืธีพระราชทานเพลิงศพ ณ สุสานหลวง วัดเทพศิรินทราวาศ วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2501
 
==อ้างอิง==