ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 95:
[[สมเด็จพระราชินีนาถมารีอาที่ 1 แห่งโปรตุเกส]] พระราชมารดาของเจ้าชายฌูเอาเสด็จสวรรคตในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2359 สิริพระชนมายุ 81 พรรษา ครองสิริราชสมบัติรวมระยะเวลา 39 ปีด้วยพระอาการสติวิปลาสเกือบตลอดรัชกาล ซึ่งทรงดำรงพระชนม์ชีพยืนยาวที่สุดในบรรดากษัตริย์โปรตุเกสนับตั้งแต่สถาปนาราชอาณาจักรโปรตุเกส การสวรรคตของพระนางเป็นการเปิดทางให้แก่ผู้สำเร็จราชการในการขึ้นครองราชสมบัติ แต่พระองค์ทรงเริ่มปกครองในฐานะกษัตริย์ตั้งแต่วันนั้น พระองค์ไม่ทรงได้อุทิศพระองค์ในฐานะกษัตริย์โดยทันทีและทรงได้รับการสรรเสริญเท่านั้นในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2361 ด้วยงานเฉลิมฉลองอย่างใหญ่โต<ref name="Dicionário"/> ขณะที่พระราชกรณียกิจหลากหลายได้ประดามาล่วงหน้าก่อนแล้ว [[การ์โลตา โคอากีนาแห่งสเปน สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส|สมเด็จพระราชินีการ์โลตา โคอากีนา]]ผู้ทะเยอทะยาน ทรงริเริ่มวางแผนการลับเพื่อต่อต้านความสนใจของประชาชนชาวโปรตุเกสในขณะที่ทรงประทับอยู่ในยุโรป และในเวลาอันสั้นหลังจากการมาถึงของพระนางในบราซิล ทรงทำการก่อตั้งและสนับสนุนกองทหารสเปนและนักชาตินิยมในดินแดน[[รีโอเดลาปลาตา]](ปัจจุบันคือ [[อาร์เจนตินา]]และ[[อุรุกวัย]]) ด้วยทรงปรารถนาในการเพิ่มพระราชอำนาจของพระนางเอง บางครั้งทรงปรารถนาเป็น ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งสเปน บางครั้งทรงปรารถนาเป็น สมเด็จพระราชินีนาถแห่งราชาธิปไตยใหม่ที่ประดิษฐานโดยการสนับสนุนจากอาณานิคมสเปนในทวีปอเมริกาใต้ บางครั้งทรงปรารถนาที่จะถอดถอนพระสวามีออกจากราชบัลลังก์ นี่แสดงให้เห็นว่าการอภิเษกสมรสของพระเจ้าฌูเอาซึ่งมีความหมายที่เป็นไปไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่ทรงแสดงท่าทีที่อดทนอดกลั้น และทรงพยายามบังคับให้ทั้งสองพระองค์ปรากฏพระองค์ร่วมกันในที่สาธารณะ ในขณะที่พระนางการ์โลตาทรงได้รับการสนับสนุนจากผู้เห็นใจจำนวนมาก แผนการของพระนางมักล้มเหลวอย่างไม่แตกต่าง ทั้ง ๆ ที่พระนางทรงประสบความสำเร็จในการแทรกแซงอิทธิพลของพระสวามีโดยทรงมีส่วนร่วมโดยตรงในการเมืองอาณานิคมของสเปน นำไปสู่การเข้ายึดครองเมือง[[มอนเตวิเดโอ]]ในปี พ.ศ. 2360 และการผนวก[[แคว้นคิสพลาตินา]]ในปี พ.ศ. 2364<ref>Vicente, António Pedro. "Política exterior de D. João VI no Brasil". In: ''Estudos Avançados'', vol.7 no.19 São Paulo Sept./Dec. 1993. In Portuguese.</ref><ref>Iglésias, Francisco. ''Trajetória política do Brasil, 1500–1964''. Companhia das Letras, 1993, pp. 103–105. "Política e</ref>
 
ในช่วงเวลาเดียวกัน ก็ได้เกิดปัญหาขึ้นคือการจัดหาพระชายาแก่องค์รัชทายาทของพระองค์ ซึ่งในอนาคตคือ [[จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล]] ยุโรปในขณะนั้นได้พิจารณาเกี่ยวกับบราซิลว่าเป็นดินแดนห่างไกล, ล้าหลังและไม่ปลอดภัย ดังนั้นมันไม่ง่ายเลยที่จะจัดหาคู่สมรสที่เหมาะสม หลังจากปีแห่งการเสาะหา ราชทูต [[เปดรู ฌูเซ โจอาคิม วิโต เดอ เมเนเซส เคาทินโฮ]]ซึ่งดำรงยศเป็น[[มาควิสแห่งมาเรียลวา]] ท้ายที่สุดได้เสนอให้ผูกสัมพันธ์กับหนึ่งในราชวงศ์ที่ทรงอำนาจที่สุดในยุโรป นั่นก็คือ [[ราชวงศ์ฮับส์บูร์ก]]ในจักรพรรดิแห่ง[[ออสเตรีย]] หลังจากได้มีการรับประกันจากราชสำนักออสเตรียด้วยสิทธิต่าง ๆ มากมาย, แสดงพิธีการที่เอิกเกริก และการแบ่งสรรปันส่วนทองคำแท่งและเครื่องเพชรจากชนชั้นสูง เจ้าชายเปดรูทรงอภิเษกสมรสกับ[[อาร์ชดัชเชสมาเรีย ลีโอโพลดิน่าดีนาแห่งออสเตรีย]] พระราชธิดาใน[[จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์|จักรพรรดิฟรานซ์ที่ 1 แห่งออสเตรีย]]กับ[[เจ้าหญิงมาเรีย เทเรซา แห่งเนเปิลส์และซิซิลีส์]]ในปี พ.ศ. 2360<ref>Wilcken, Patrick. ''Império à deriva: a corte portuguesa no Rio de Janeiro, 1808–1821''. Editora Objetiva, 2005, pp. 225–226. In Portuguese.</ref> จักรพรรดิและรัฐมนตรีของพระองค์ [[คลีเมนซ์ ฟาน แมทเทอร์นิตช์]] ได้พิจารณาการเจริญสัมพันธไมตรีครั้งนี้ว่า "เป็นแผนการที่เป็นประโยชน์ระหว่างยุโรปและโลกใหม่" เสริมสร้างความแข็งแกร่งยิ่งขึ้นในรัชกาลแห่งราชาธิปไตยของทั้งสองซีกโลกและได้นำออสเตรียเข้ามามีอิทธิพลในซีกโลกใหม่<ref>Lustosa, Isabel. ''D. Pedro I''. Companhia das Letras, 2006, pp. 77–78. In Portuguese.</ref>
 
ขณะที่สถานการณ์ในโปรตุเกสยังไม่มีความสงบสุข จากการว่างกษัตริย์และการถูกทำลายล้างจาก[[สงครามคาบสมุทร]] และเป็นผลกระทบให้เกิดผู้คนอดอยากจำนวนมากและการอพยพย้ายถิ่นฐานออกไปจำนวนมาก<ref>Gomes, p. 81</ref> จากการขับไล่การรุกรานของฝรั่งเศสครั้งสุดท้ายจากเมืองใหญ่ได้กลายการอารักขาโดยอังกฤษ ซึ่งควบคุมโดยนายพล [[วิลเลียม เบเรสฟอร์ด ไวส์เคานท์ เบเรสฟอร์ดที่ 1|วิลเลียม คารร์ เบเรสฟอร์ด]] ผู้ซึ่งปกครองด้วยกำปั้นเหล็ก ตั้งแต่พระเจ้าฌูเอาทรงสืบราชบัลลังก์ ชาวโปรตุเกสพยายามบีบบังคับให้พระองค์เสด็จกลับ เริ่มชักนำให้เกิดการจราจลของพวก[[เสรีนิยม]] และการก่อตั้งองค์กรลับต่าง ๆ ด้วยเป้าหมายที่นำมาซึ่งการประชุม[[คอร์เตสโปรตุเกส]] (Portuguese Cortes) ซึ่งเป็นภาษาในยุคกลางหมายถึงตัวแทนของแคว้นต่าง ๆ ในโปรตุเกส ที่ซึ่งไม่ได้มีการพบปะกันอีกนับตั้งแต่พ.ศ. 2241 เหมือนกับพวกเสรีนิยมที่สร้างความวุ่นวายในบราซิล ในปี พ.ศ. 2360 เกิด[[กบฏเปร์นัมบูกัน]]ในเมือง[[เรซีฟี]] เป็นการเคลื่อนไหวของกลุ่มนิยม[[สาธารณรัฐ]]ที่ซึ่งทำการก่อตั้งรัฐบาลขึ้นเองใน[[รัฐเปร์นัมบูกู]]และการกบฏก็ขยายวงกว้างไปทั่วบราซิล แต่ในที่สุดก็ถูกปราบลงอย่างราบคาบ กลับไปที่โปรตุเกส ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2363 ได้เกิด[[การปฏิวัติเสรีนิยมในพ.ศ. 2363]] ที่เมือง[[โปร์ตู]] และได้ทำการก่อตั้งรัฐบาลเองที่ควบคุมโดย[[คณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง]] และได้ส่งผลกระทบในลิสบอน ที่ซึ่งมีการเข้าพบ "นายพลเพื่อจุดประสงค์พิเศษ" (General Extraordinary) และ "กลุ่มคอร์เตสรัฐธรรมนูญ" (Constituent Cortes) หรือ Cortes Gerais Extraordinárias e Constituintes ได้จัดตั้งรัฐบาล และได้มารวมกันเพื่อทำการเลือกคณะผู้แทนโดยปราศจากการขอพระราชวินิจฉัยจากพระเจ้าฌูเอา การเคลื่อนไหวครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากหมู่เกาะมาเดย์รา, [[อะโซร์ส]]และครอบงำไปถึง[[กาว-ปารา]]และ[[รัฐบาเยีย]]ในบราซิล นำมาด้วยการลุกฮือของกองทัพในนครริโอเดอจาเนโร<ref name="Cronologia"/>