ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'ทรงเสด็จ'→'เสด็จ'
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'ทรงตรัส'→'ตรัส'
บรรทัด 102:
===เสด็จนิวัติโปรตุเกส===
[[ไฟล์:DomJoãoVIemPortugal.jpg|thumb|ภาพ พระเจ้าฌูเอาเสด็จนิวัติถึงท่าเรือลิสบอน]]
เรื่อพระที่นั่งได้นำพระเจ้าฌูเอาและราชสำนักถึงท่าลิสบอนในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2364 การเสด็จนิวัติของพระองค์ถูกวิจารณ์ในพฤติกรรมที่บอกเป็นนัยว่าเป็นการบีบบังคับพระองค์มากกว่า แต่ในความเป็นจริงสภาพแวดล้อมของรัฐบาลใหม่ได้มีการก่อตั้งขึ้นแล้ว<ref name="Cronologia"/> มีการร่างรัฐธรรมนูญ และพระมหากษัตริย์ได้รับการปฏิญาณต่อรัฐธรรมนูญในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2365 ทรงยอมจำนนด้วยพระราชอำนาจที่หลากหลาย สมเด็จพระราชินีการ์โลตา โคอากีนาทรงปฏิเสธที่จะดำเนินการปฏิญาณตามพระราชสวามี และดังนั้นพระนางจึงถูกยึดพระราชอำนาจทางการเมืองและทรงถูกถอดถอนออกจากพระอิสริยยศ "สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส" ขณะที่พระเจ้าฌูเอาทรงสูญเสียบราซิลไป พระโอรสของพระองค์ มกุฎราชกุมารเปดรูยังคงประทับอยู่ที่บราซิลและทรงก่อการกบฏในการประกาศ[[อิสรภาพแห่งบราซิล]]ในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2365 ทรงปราบดาภิเษกในพระอิสริยยศ "จักรพรรดิแห่งบราซิล"<ref name="Dicionário"/><ref>Pedreira & Costa, p. 15</ref> เป็น[[จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล]] ตามความเชื่อดั้งเดิมได้มีการกล่าวว่า ก่อนที่พระองค์จะเสด็จกลับโปรตุเกส พระเจ้าฌูเอาทรงตระหนักถึงเหตุการณ์ในอนาคตและทรงตรัสกับพระโอรสว่า "เปดรูเอ๋ย บราซิลนั้นต่อไปจักต้องแยกออกจากโปรตุเกส ถ้าเป็นเช่นนั้น เจ้าต้องนำมงกุฎนั้นมาสวมที่หัวของเจ้าให้จงได้ก่อนที่พวกฉวยโอกาสคนหนึ่งคนใดจะได้มันไป" จากบันทึกความจำของเคานท์แห่งปาลเมลา ได้บันทึกว่า อิสรภาพแห่งบราซิลได้มาถึงโดยท่ามกลางข้อตกลงร่วมกันระหว่างพระมหากษัตริย์และองค์มกุฎราชกุมาร ในเหตุการณ์บางอย่าง หลังจากมีการติดต่อกันระหว่างทั้งสองพระองค์ได้แสดงให้เห็นว่าการกระทำของเจ้าชายรัชทายาทมิได้บั่นทอนทำลายความสัมพันธ์ของพระองค์กับพระราชบิดาเลย<ref>The quotation in Portuguese is '""Pedro, o Brasil brevemente se separará de Portugal: se assim for, põe a coroa sobre tua cabeça, antes que algum aventureiro lance mão dela."'' Pascual, Antonio Diodoro. ''Rasgos memoraveis do Senhor Dom Pedro I, imperador do Brasil, excelso duque de Bragança''. Typ. Universal de Laemmert, 1862, p. 65. In Portuguese</ref> อย่างไรก็ตามรัฐบาลโปรตุเกสในขณะนั้นไม่รับรองเอกราชของบราซิลอย่างเป็นทางการ<ref name="Dicionário"/>
[[ไฟล์:Retrato de D. João VI - Domingos Sequeira - 1821.jpg|thumb|left|''พระบรมสาทิสลักษณ์พระเจ้าฌูเอาที่ 6'' วาดโดย [[โดมินโกส เซเควอิรา|โดมินโกส อันโตนิโอ เดอ เซเควอิรา]] ในปี พ.ศ. 2364]]
รัฐธรรมนูญในทางเสรีนิยมที่ซึ่งให้พระมหากษัตริย์ทรงถวายสัตย์ปฏิญาณได้มีผลบังคับใช้เพียงไม่กี่เดือน ไม่มีประชาชนหรือผู้ใดในโปรตุเกสสนับสนุนลัทธิเสรีนิยม และมีการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสมบูรณาญาสิทธิ์มากขึ้น ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2366 ที่[[แคว้นตรัส-โอส-มอนเตส อี อัลโต โดอูโร]] [[ฟรานซิสโก ซิลเวย์รา เคานท์แห่งอมันรันเต]]ได้ประกาศสถาปนาสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบที่เป็นรูปธรรมและกลับทำให้เกิดการปลุกปั่นครั้งใหม่ตามมา ในวันที่ 27 พฤษภาคม [[พระเจ้ามิเกลแห่งโปรตุเกส|เจ้าชายมีเกลแห่งโปรตุเกส]] พระโอรสองค์หนึ่ง ทรงได้รับการสนับสนุนจากพระมารดา พระนางการ์โลตา โคอากีนา ให้ก่อการกบฏที่รู้จักในชื่อ [[วิลลาฟรานคาดา]] โดยมีความตั้งใจที่จะสถาปนาสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระเจ้าฌูเอาทรงเปลี่ยนพระทัยเห็นมาสนับสนุนพระโอรสเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกปลดออกจากราชบัลลังก์ ซึ่งเป็นความปรารถนาสูงสุดในกลุ่มของพระราชินี และทรงปรากฏพระองค์เคียงข้างพระโอรสในวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระองค์เอง พระโอรสทรงฉลองพระองค์ของ[[กลุ่มราชองครักษ์แห่งชาติ (โปรตุเกส)|กลุ่มราชองครักษ์แห่งชาติ]] ซึ่งเป็นกลุ่มทหารที่เคยพยายามก่อรัฐประหารแต่ต้องถูกกำจัดโดยพวกเสรีนิยม การปรากฏของทั้งสองพระองค์ได้รับการสรรเสริญจากกองทัพ พระเจ้าฌูเอาเสด็จเป็นการส่วนพระองค์ไปยังเขต[[วิลลา ฟรานกา เดอ ซีรา]]ที่ซึ่งง่ายต่อการจัดการให้ประชาชนลุกฮือ ท้ายที่สุดเสด็จกลับลิสบอนด้วยความสำเร็จ สถานการณ์ทางการเมืองยังคงแปรปรวนและแม้แต่ผู้ที่ทำการปกป้องลัทธิเสรีนิยมอย่างเข้มแข็งยังเกรงกลัวที่จะตัดสินใจว่าจะอยู่ฝ่ายใด ก่อนการสลายตัว กลุ่มคอร์เตสได้ทำการประท้วงต่อต้านการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญที่ได้รับการยอมรับแล้วก่อนหน้านี้ แต่แล้วสมัยแห่งสมบูรณาญาสิทธิ์ได้มีการฟื้นฟู<ref name="Dicionário"/><ref name="Cardoso"/> พระราชอำนาจและพระอิสริยยศของสมเด็จพระราชินีได้รับการฟื้นคืนอีกครั้งและพระมหากษัตริย์ทรงได้รับการสรรเสริญเป็นครั้งที่สองในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2366 พระเจ้าฌูเอาทรงใช้พระราชอำนาจควบคุมปราบปรามผู้ประท้วงการฟื้นฟูพระราชอำนาจครั้งนี้ ทรงเนรเทศผู้นิยมลัทธิเสรีนิยมออกจากประเทศและทำการจับกุมบุคคลอื่น ๆ มีพระราชโองการให้ฟื้นฟูคณะตุลาการและสถาบันต่าง ๆ จำนวนมากด้วยระบอบการเมืองในทิศทางใหม่และทรงจัดตั้งคณะกรรมาธิการในการร่างกฎบัตรใหม่ขึ้นพื้นฐานเพื่อแทนที่รัฐธรรมนูญ<ref name="Cardoso">Cardoso, António Barros. "Liberais e absolutistas no Porto (1823–1829)". In: Departamento de Ciências e Técnicas do Património / Departamento de História. ''Estudos em homenagem ao professor doutor José Marques''. Universidade do Porto, 2006, pp. 262–269. In Portuguese.</ref><ref>Pedreira & Costa, pp. 392–400</ref>