ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ระเบิดมือ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 12:
ระเบิดมือในสมัยโบราณ มักจะทำมาจาก[[กระดาษ]] [[กระเบื้อง]] หรือ[[แก้ว]] และบรรจุสารอันตรายต่างๆ ตั้งแต่[[พิษ]]จากพืช พิษจากสัตว์ [[กรด]] [[ปิโตรเลียม]] [[ดินปืน]] หรือแม้กระทั่งวัตถุที่ได้จากพิธีทาง[[ไสยศาสตร์]]
 
อย่างไรก็ตาม ระเบิดมือในยุคโบราณยังไม่ค่อยมีประสิทธิภาพมากนัก จนกระทั่งในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]] ที่เริ่มมีการพัฒนาระเบิดมือให้ทรงประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และมีการใช้ระเบิดมืออย่างแพร่หลายในสนามรบ ระเบิดมือที่มีชื่อเสียงในช่วงนั้น คือ '''ระเบิดมิลส์''' (Mills Bomb) จากประเทศอังกฤษ เป็นที่นิยมใช้กันมากภายในกองทัพอังกฤษในยุคนั้น ระเบิดมิลส์ เป็นระเบิดที่มีโลหะห่อหุ้ม มีรูปร่างกลม มีเข็มแทงชนวน และมีพื้นผิวเป็นร่อง ชาวไทยจึงนิยมเรียกกันว่า [[ระเบิดน้อยหน่า]] ระเบิดมือชนิดนี้ มีใช้ทั้งใน[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]] และ [[สงครามโลกครั้งที่สอง]]
 
ในขณะที่ประเทศ[[อังกฤษ]]มีระเบิดมิลส์นั้น ประเทศ[[เยอรมนี]]ก็ได้มีการพัฒนาและผลิตระเบิดมือแบบมีด้ามจับขึ้นมา เรียกว่า '''สติลฮานด์กรานาเทอ''' (Stielhandgranate) โดยมีเชื้อประทุห่อหุ้มอยู่ในกระบอกโลหะ และติดไว้กับแกนไว้สำหรับขว้าง ระเบิดระเบิดมือชนิดนี้ มีใช้ทั้งในสมัย[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]] และ [[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ถัดมาได้เช่นกัน ในช่วงสงครามกลางเมืองของประเทศสเปน มีการพัฒนาระเบิดมืออีกรุ่นชนิดหนึ่ง เรียกว่า '''โมโลตอฟ คอกเทล''' (Molotov Cocktail) เป็นระเบิดมือที่ทำจากขวดแก้วบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิง และใช้การจุดชนวนแถบผ้าเพื่อให้เกิดการเผาไหม้และระเบิดขึ้น ซึ่งภายหลัง ระเบิดมือชนิดนี้ใช้ครั้งแรกในมีชื่อว่า '''โมโลตอฟ คอกเทล''' (Molotov Cocktail) โดยกองทัพของประเทศ[[ฟินแลนด์]]ในช่วง[[สงครามฤดูหนาว]] ซึ่งตอนนั้นยังมียุทโธปกรณ์ที่ไม่ค่อยจะก้าวหน้ามากนัก เมื่อครั้งต้องต่อสู้สู้กับกองทัพของ[[สหภาพโซเวียต|โซเวียต]]ในช่วง[[สงครามฤดูหนาว]]นั้น กองทัพฟินแลนด์ จะใช้โมโลตอฟ คอกเทล ควบคู่กับอาวุธชนิดอื่น โมโลตอฟ คอกเทล เป็นหนึ่งในระเบิดมือไม่กี่ชนิด ที่มีคุณสมบัติในการหยุดยั้งรถถังของศัตรู โดยการขว้างโมโลตอฟ คอกเทล ให้เข้าไปกระแทกกับเครื่องยนต์ของรถถัง เพื่อให้ตัวเครื่องยนต์ของรถถังถูกไฟเผาไหม้
 
ในช่วงก่อนและระหว่าง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] มีระเบิดมือรุ่นใหม่ๆที่ถูกผลิตและพัฒนาออกมาโดยประเทศต่างๆ เพื่อความได้เปรียบทางด้านการรบของแต่ละประเทศ ตัวอย่างเช่น ระเบิดมือรุ่น '''Mk 2''' จากสหรัฐอเมริกา , ระเบิดมือรุ่น '''F1''' จากประเทศฝรั่งเศส , ระเบิดมือรุ่น '''wz.33''' จากประเทศโปแลนด์ , ระเบิดมือรุ่น '''RGD-33''' จากสหภาพโซเวียต , ระเบิดมือรุ่น '''Mod. 35''' จากประเทศอิตาลี และ ระเบิดมือรุ่น '''Type 97''' จากประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น