ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มลรัฐ (คำศัพท์)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'มลรัฐ'→'รัฐ'
บรรทัด 1:
คำว่า '''มลรัฐ''' เป็นคำใช้เรียกหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นของบางประเทศ เช่น [[สหรัฐอเมริกา]] และ[[สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี]]<ref>[http://www.rd.go.th/publish/3118.0.html ความรู้เรื่องภาษี] กรรมสรรพากร</ref> [[ศัพท์บัญญัติ|บัญญัติ]] จากคำว่า "state" ในภาษาอังกฤษ
 
ต่อมา "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี และประกาศราชบัณฑิตยสถาน เรื่องกำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง พ.ศ. 2544" ได้กำหนดให้ใช้ "มลรัฐ" เฉพาะสหรัฐเมริกาเท่านั้น ในขณะที่คำว่า มลรัฐ นี้ยังไม่เคยบรรจุใน[[พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน]] ฉบับใด ๆ
 
มีผู้สันนิษฐานว่า คำว่า "มลรัฐ" นี้ อาจบัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันความสับสน กับคำว่า "[[รัฐ]]" ซึ่งในทาง[[รัฐศาสตร์]]อาจหมายถึง ดินแดนอันมีอำนาจอธิปไตยโดยอิสระของตนเอง และยังมีผู้อธิบายว่า "มลรัฐ" นั้น น่าจะมาจากคำว่า "มัลลรัฐ" ในประวัติศาสตร์ของ[[ประเทศอินเดีย|อินเดีย]] ซึ่งมีการปกครองในระบอบสหพันธรัฐ เมื่อมีปัญหาก็มาปรึกษากันในสภา ในการศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองของสหรัฐอเมริกาใหม่ ๆ คงจะเห็นว่าสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วยรัฐต่าง ๆ คล้ายกับ มัลลรัฐ จึงนำมาใช้เรียกเขตการปกครองของสหรัฐอเมริกา และภายหลังได้ลด ล ลงเสียตัวหนึ่ง
 
คำว่า "มลรัฐ" ปัจจุบันมีประกาศราชบัณฑิตยสถาน'''ให้เลิกใช้แล้ว''' ดังที่[[ราชบัณฑิตยสถาน]]ให้เหตุผลว่า<ref>ราชบัณฑิตยสถาน. (2549). "พจนานุกรมชื่อภูมิศาสตร์สากล เล่ม 1 (อักษร A-L) ฉบับราชบัณฑิตยสถาน." กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน. หน้า ค.</ref>
 
{{คำพูด|...[[ราชบัณฑิตยสถาน|คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมชื่อภูมิศาสตร์สากล]]ได้พิจารณาตรวจสอบหลักฐานต่าง ๆ แล้ว เห็นว่าคำดังกล่าว ("มลรัฐ") เป็นคำที่ราชบัณฑิตยสถานใช้กันมานาน ไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับเหตุผลความเป็นมาที่แน่ชัด จึงหารือไปยังคณะกรรมการชำระพจนานุกรม และคณะกรรมการจัดทำสารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่ : ภูมิภาคอเมริกา แห่งราชบัณฑิตยสถาน และได้รับคำชี้แจงเหตุผลประกอบการพิจารณาว่า '''เห็นควรเลิกใช้คำ "มลรัฐ" แล้วเปลี่ยนมาใช้คำ "รัฐ"''' แทนเช่นเดียวกับประเทศ อื่น ๆ ที่มีการปกครองระบอบเดียวกันด้วยเหตุผลดังนี้
 
#คำว่า state มีความหมาย 2 ประการ คือ ประการแรกหมายถึง รัฐชาติ (nation state) ซึ่งจะต้องมีองค์ประกอบทั้ง 4 ประการ คือ ดินแดน ประชากร รัฐบาล และอำนาจอธิปไตย อีกนัยหนึ่งหมายถึงประเทศ ในความหมายที่ใช้กันโดยทั่วไป ส่วนประการที่ 2 หมายถึง รัฐที่ร่วมกันเป็นสหพันธรัฐ (federation) หรือสมาพันธรัฐ (confederation) ซึ่งมีอำนาจอธิปไตยแบ่งปันกันระหว่างรัฐที่เป็นสมาชิกกับรัฐบาลกลางตามที่ กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญของประเทศนั้น ๆ ดังนั้น รัฐต่าง ๆ ของสหรัฐอเมริกาจึงมีสถานภาพคล้ายคลึงกับรัฐของประเทศที่มีระบอบการปกครอง เป็นสหพันธรัฐหรือสมาพันธรัฐอื่น ๆ อีกหลายแห่งทั่วโลก เพียงแต่อำนาจอธิปไตยของรัฐอาจมีมากน้อยไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปรัชญาในด้านการเมืองและการปกครองของแต่ละประเทศ
#การใช้คำ "มลรัฐ" กับรัฐต่าง ๆ ของสหรัฐอเมริกานั้น ราชบัณฑิตยสถานกำหนดกันมานานแล้ว แต่ไม่มีหลักฐานและเหตุผลเพียงพอที่จะอธิบายให้เข้าใจว่า เหตุใดจึงใช้ "มลรัฐ" เฉพาะกับรัฐในสหรัฐอเมริกา ทั้งที่ประเทศอื่น ๆ ที่มีการปกครองระบอบสหพันธรัฐหรือสมาพันธรัฐในปัจจุบันล้วนใช้คำ "รัฐ" ทั้งสิ้น อีกทั้งคำ "มลรัฐ" ก็มิได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ทำให้ไม่สามารถชี้แจงตอบคำถามของบุคคลและหน่วยงานภายนอกที่ไต่ถามเหตุผลในการใช้คำ "มลรัฐ" เฉพาะกับสหรัฐอเมริกาได้
 
ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ราชบัณฑิตยสถานจึงเห็นควรยกเลิกการใช้ "มลรัฐ" ในสหรัฐอเมริกา แล้วเปลี่ยนใช้คำ "รัฐ" แทน}}
 
== อ้างอิง ==