ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุคคามากูระ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: แก้ไขคำผิด
บรรทัด 18:
ตระกูลโฮโจยังคงดำเนินการกำจัดคู่แข่งต่อไป เช่น ฮะตะเกะยะมะ ชิเงะตะดะ ({{nihongo2|畠山重忠|Hatakeyama Shigetada}}) ในค.ศ. 1205 และตระกูลวะดะ ({{nihongo2|和田|Wada}}) ในค.ศ. 1213 ในค.ศ. 1205 โทะกิมะซะได้สมคบคิดกับภรรยาคนใหม่ของตนคือนางมะกิ ({{nihongo2|牧の方|Maki no kata}}) วางแผนลอบสังหารโชกุนซะเนะโตะโมะเพื่อที่จะยกฮิระงะ โทะโมะมะซะ ({{nihongo2|平賀朝雅|Hiraga Tomomasa}}) ผู้เป็นบุตรเขยของตนขึ้นเป็นโชกุนแทน ทำให้มะซะโกะบุตรสาวและ[[โฮโจ โยะชิโตะกิ]] ({{nihongo2|北条義時|Hōjō Yoshitoki}}) บุตรชายผู้สืบทอดตำแหน่งของตนไม่พอใจ จึงเข้าทำการรัฐประหารยึดอำนาจจากบิดาของตน บังคับให้โทะกิมะซะปลงผมบวชเป็นพระภิกษุแล้วเนรเทศไปยังแคว้นอิซุ โยะชิโตะกิจึงได้เป็น''ชิกเก็น''ต่อจากบิดา เมื่อโชกุนซะเนะโตะโมะไม่มีทายาท นางมะซะโกะจึงเดินทางไปยังเมืองเกียวโตเข้าเฝ้าอดีต[[จักรพรรดิโกะ-โทะบะ]]ในค.ศ. 1219 เพื่อทูลขอเจ้าชายมาดำรงตำแหน่งเป็นโชกุน แต่กลับได้[[คุโจ โยะริซึเนะ]] ({{nihongo2|九条頼経|Kujō Yoritsune}}) บุตรชายของ[[คัมปะกุ]]อายุเพียงหนึ่งปีมาเป็นทายาทโชกุน ในปีเดียวกันนั้นเองโชกุนซะเนะโตะโมะถูกลอบสังหารโดยภิกษุคุเงียว ({{nihongo2|公暁|Kugyō}}) ซึ่งเป็นบุตรชายของอดีตโชกุนโยะริอิเอะ ทำให้ตระกูลเซวะเง็นจิที่ดำรงตำแหน่งโชกุนต้องสิ้นสุดลง
 
[[รัฐบาลโชกุนคะมะกุระ]]มีอำนาจเต็มอยู่ในภาคตะวันออกของญี่ปุ่น แต่ในขณะเดียวกันทางภาคตะวันตกนั้นราชสำนักเกียวโตยังคงมีอำนาจอยู่ เมื่อทาง''บะกุฟุ''เกิดเหตุการณ์แย่งชิงอำนาจหลายครั้ง ราชสำนักเกียวโตนำโดยอดีตจักรพรรดิโกะ-โทะบะจึงทรงฉวยโอกาสแข็งข้อต่อต้านการครอบงำของ''บะกุฟุ''คะมะกุระ โดยทรงปฏิเสธที่จะทำการแต่งตั้งโชกุนคนใหม่ ในค.ศ. 1221 อดีตจักรพรรดิโกะ-โทะบะทรงมีพระราชโองการประกาศให้''ชิกเก็ง''โยะชิโตะกิเป็นอาชญากร และจัดเตรียมกองทัพเพื่อป้องกันเมืองเกียวโต นำไปสู่[[สงครามโจคิว]] ({{nihongo2|承久の乱|jōkyū no ran}}) ฝ่ายโยะชิโตะกิได้ส่ง[[โฮโจ ยะซุโตะกิ]] ({{nihongo2|北条泰時|Hōjō Yasutoki}}) ผู้เป็นบุตรชาย และโฮโจ โทะกิฟุซะ ({{nihongo2|北条時房|Hōjō Tokifusa}}) ผู้เป็นน้องชาย ยกทัพไปทางตะวันตกและสามารถเข้ายึดเมืองเกียวโตได้ในเวลาิันรวดเร็ว อดีตจักรพรรดิโกะโทะบะรวมทั้งองค์จักรพรรดิพระโอรสและพระนัดดาต่างทรงถูกเนรเทศ นับแต่นั้นมาราชสำนักเกียวโตก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจของ''บะกุฟุ''อย่างแท้จริง มีการก่อตั้ง ''โระกุฮะระ ทังได'' ({{nihongo2|六波羅探題|Rokuhara Tandai}}) เปรียบเสมือนเป็นสาขาสองของ''บะกุฟุ''ตั้งอยู่ที่เขตโระกุฮะระในเมืองเกียวโต เพื่อคอยควบคุมดุแลราชสำนัก โดยมีโฮโจ ยะสุโตะกิและโทะกิฟุสะเป็น''โระกุฮะระทังได''สองคนแรก
 
===ชิกเก็งยะซุโตะกิและโทะกิโยะริ===