ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาธร ศรีกรานนท์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
Robot: Changing หมวดหมู่:ชาวไทย-โปรตุเกส to หมวดหมู่:ชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกส
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: แก้ไขคำผิด
บรรทัด 10:
 
== ผลงาน ==
ผลงานการประพันธ์ดนตรีที่ทำชื่อเสียงในช่วงแรก คือ Sonata for Soprano Saxophone and Piano ซึ่งหลังจากที่ได้นำออกแสดงรอบปฐมทัศน์ในปี 2535 ที่เมือง Oberlin [[รัฐโอไฮโอ]] ก็ได้รับการทาบทามจาก บริษัท Dorn Publications ซึ่งเป็นสำนักพิมพ์ โน้ตเพลงเครื่องเป่าที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นผู้พิมพ์จัดจำหน่ายผลงานของภาธร ซึ่งในขณะนั้น นอกจากจะเป็นนักประพันธ์ชาวไทยคนเดียวแล้ว ยังเป็นนักประพันธ์ที่มีอายุน้อยที่สุดในสังกัดอีกด้วย หลังจากนั้น ภาธรได้มีผลงานออกมาอย่างสม่ำเสมอ ในหลายรูปแบบ อาทิ Song Cycle ชุด ฝนร่ำ…ใบไม้ร่วง (พ.ศ. 2540) ซึ่ง[[สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ]] ทรงมีพระราชเสาวนีย์ ให้ประพันธ์ถวาย เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ตก ที่จังหวัดนราธิวาส เพลง Portrait of Siam สำหรับ คลาริเน็ต และเปียโน (พ.ศ. 2541) ได้รับรางวัล Lyra Prize จาก Foundation for Hungarian Performing Arts เพลง Quintett für Klavier und Streichquartett ได้รับมอบหมายจากสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทย ให้ประพันธ์สำหรับงานเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 140 ปีแห่งสัมพันธภาพ ระหว่างประเทศไทยและเยอรมนี สังคีตนาฏกรรมเรื่อง [[เงาะป่า]] (พ.ศ. 2543) ซึ่งเป็นบทประพันธ์แบบโอเปร่าเรื่องแรก ที่เป็นภาษาไทย และเพลงประกอบการแสดงบัลเลต์ เรื่อง[[กาฬเกส]]และ[[มาลีจันทร์]] (พ.ศ. 2548) ซึ่งใช้ท่วงทำนองและแนวทางการประพันธ์ผสมผสานดนตรีตะวันตกกับดนตรีพื้นบ้านอีสาน
 
ดนตรีประพันธ์ชิ้นล่าสุดของภาธรคือ E se mais mundo houvera, lá chegara… สำหรับนักร้องเสียง[[บาริโทน]] คณะนักร้องประสานเสียง และออร์เคสตรา ซึ่งได้รับมอบหมายจากสถานเอกอัครราชทูตโปรตุเกสประจำประเทศไทย ให้ประพันธ์ขึ้นเป็นพิเศษเพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสที่ทรงครองราชครบ 60 ปี และได้บรรเลงถวายหน้าพระที่นั่ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยวง Orquestra “Dia de Portugal” ในวันชาติของโปรตุเกส ปี 2549 โดยผู้ประพันธ์ได้อำนวยวงเอง