ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระอริยวงษญาณ (มี)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'ทรงเป็นพระ'→'เป็นพระ'
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'ทรงผนวช'→'ผนวช'
บรรทัด 21:
ท่านทรงภูมิธรรมความรู้สูงระดับ พระมหาเปรียญเอก 8-9 ประโยค ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่ง[[กรุงรัตนโกสินทร์]]ได้มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระมหาเปรียญเอกขึ้นเป็นพระราชาคณที่พระวินัยรักขิต ซึ่งเทียบเท่าพระอุบาลีแต่เดิม ที่ต้องเปลี่ยนเพราะเห็นว่าสมณศักดิ์นี้ไปพ้องกับพระอรหันตสาวกของพระพุทธเจ้า ต่อมาในปี พ.ศ. 2337 ก็ทรงได้รับพระกรุณาธิคุณเลื่อสมณศักดิ์ให้สูงขึ้นในระดับรองสมเด็จพระราชาคณะที่ '''พระพิมลธรรม''' ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนสมณศักดิ์เป็น '''สมเด็จพระพนรัตน''' สมเด็จพระราชาคณะตำแหน่งนี้ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น '''สมเด็จพระวันรัต''' สมณศักดิ์ สมเด็จพระพนรัตน ได้ถูกยกเลิกไป ต่อมาในปี พ.ศ. 2359 [[สมเด็จพระสังฆราช (ศุข)]] ได้สิ้นพระชนม์ลง รัชกาลที่ 2 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา สมเด็จพระพนรัตน (มี) ขึ้นเป็น[[พระสังฆราช]] พระองค์ที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในราชทินนามสมณศักดิ์ที่ '''สมเด็จพระอริยวงษญาณ''' จนในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เปลี่ยนราชทินนามใหม่ เป็น '''สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ'''
 
ในปี พ.ศ. 2360 สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ ([[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]) ทรงผนวชเป็นสามเณร ณ [[วัดพระศรีรัตนศาสดาราม]] สามเณรเจ้าฟ้ามงกุฎ เสด็จไปทรงจำพรรษาอยู่ที่[[วัดมหาธาตุ]]เป็นเวลา 1 พรรษา ตลอดเวลาที่ได้ประทับจำพรรษา สมเด็จพระสังฆราช (มี) ทรงทำหน้าที่พระอาจารย์ ถวายความรู้เกี่ยวกับพระธรรมวินัย พระไตรปิฎกตลอดจนทศพิธราชธรรม
 
ในด้านการศึกษา[[พระปริยัติธรรม]] เป็นพระธุระในการพัฒนาการศึกษา ดูและแก้วิธีการสอน การสอบไล่พระปริยัติธรรมทุกครั้งอย่างใกล้ชิด ได้ทอดพระเนตรเห็นข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไขปรับปรุงอยู่ตลอด โดยมิได้ถือพระองค์ว่าทรงเป็นสังฆราชา จนในที่สุดได้ทรงปรึกษาหารือกับ[[พระราชาคณะ]]ที่เป็นเปรียญเอกอีกนับสิบรูป จนเห็นชอบทั่วหน้าในการปรับปรุงแก้ไขวิธีการสอน การสอบไล่ปริยัติธรรมใหม่ ได้ทรงกำหนดหลักสูตรการเรียนการสอน และการสอบเทียบความรู้ใหม่ ให้มี 9 ประโยค แทนหลักสูตรเก่าที่ใช้มาตั้งแต่สมัยอยุธยา ซึ่งมีการแบ่งหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมเพียง 3 ชั้น คือ บาเรียนตรี บาเรียนโท บาเรียนเอก