ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชวงศ์สหราชอาณาจักร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Addbot (คุย | ส่วนร่วม)
Bot: Migrating 1 interwiki links, now provided by Wikidata on d:q645968 (translate me)
ป้ายระบุ: ลบลิงก์ข้ามภาษา
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'ทรงเป็นพระ'→'เป็นพระ'
บรรทัด 81:
* [[เจ้าฟ้าหญิงอลิซ ดัชเชสแห่งกลอสเตอร์]] (พระชายาใน[[เจ้าชายเฮนรี ดยุกแห่งกลอสเตอร์]] และพระชนนีในดยุกแห่งกลอสเตอร์องค์ปัจจุบัน)
 
[[ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์]] พระชายาองค์แรกในเจ้าฟ้าชายแห่งเวลส์ สิ้นพระชนม์ด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์ในปี [[พ.ศ. 2540]] ทั้งสองพระองค์ทรงหย่าขาดจากกันในปี [[พ.ศ. 2539]] เจ้าหญิงไดอานาทรงถูกถอดฐานันดรศักดิ์ Her Royal Highness ออกแต่ยังคงดำรงพระอิสริยยศ "เจ้าหญิงแห่งเวลส์" และเป็นสมาชิกของราชวงศ์ ในฐานะที่ทรงเป็นพระมารดาของรัชทายาทอันดับสองและสามแห่งราชบัลลังก์คือ เจ้าชายวิลเลียม และ เจ้าชายเฮนรี ("แฮร์รี")
 
==เครือจักรภพอังกฤษ==
บรรทัด 109:
[[ไฟล์:FamBalmoral 1896.JPG|thumb|500px|left|ราชวงศ์อังกฤษ ณ ปราสาทบัลมอรัล ประเทศสก็อตแลนด์ ในปี [[พ.ศ. 2439]] (ค.ศ. 1896)]]
 
พระมเหสีของพระประมุขโดยทั่วไปแล้วจะไม่ได้ทรงรับการแต่งตั้งบรรดาศักดิ์ขุนนาง แต่ได้มีข้อยกเว้นอันน่าจดจำเกิดขึ้นในปี [[พ.ศ. 2075]] เมื่อ[[สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8]] ทรงสถาปนา[[แอนน์ โบลีน]]เป็นมาร์ชเนสแห่งเพมโบรคก่อนการอภิเษกสมรส แต่กระนั้น ในบางครั้งเจ้าชายพระราชสวามีจะได้รับพระราชทานตำแหน่งดยุก พระราชสวามีใน[[สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ|สมเด็จพระราชินีแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ]] ทรงเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งสเปนอยู่แต่ก่อนแล้ว และพระราชสวามีใน[[สมเด็จพระราชินีนาถแมรี่ที่ 2 แห่งอังกฤษ|สมเด็จพระราชินีแมรีที่ 2]] นั้นทรงเป็นพระประมุขร่วมกันในประเทศอังกฤษ ดังนั้นจึงไม่มีพระองค์ใดมีศักดินาขุนนาง [[เจ้าชายจอร์จแห่งเดนมาร์ก]] พระสวามีใน[[สมเด็จพระราชินีนาถแอนน์แห่งอังกฤษ|เจ้าหญิงแอนน์]] (ต่อมาเสวยราชสมบัติเป็น สมเด็จพระราชินีนาถแอนน์) ทรงได้รับการสถาปนาให้มีฐานันดรศักดิ์ดยุกแห่งคัมเบอร์แลนด์เมื่อปี [[พ.ศ. 2226]] [[เจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต เจ้าชายพระราชสวามี|เจ้าชายอัลเบิร์ตแห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา]] ซึ่งเป็นพระราชสวามีใน[[สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย]] ทรงได้รับพระราชทานพระอิสริยยศชั้นเจ้าฟ้าก่อนการอภิเษกสมรส ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2400]] สมเด็จพระราชินีนาถทรงสถาปนาเจ้าชายเป็น[[เจ้าชายพระราชสวามี]] แต่กระนั้นพระองค์ไม่ได้ทรงมีบรรดาศักดิ์ขุนนางของอังกฤษ ส่วน[[เจ้าฟ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินเบอระ|เจ้าชายฟิลิป]] พระสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถองค์ปัจจุบันทรงได้รับการสถาปนาเป็นดยุกแห่งเอดินเบอระและได้รับพระราชทานพระอิสริยยศชั้นเจ้าฟ้าในวันก่อนการอภิเษกสมรส (ซึ่งเกิดขึ้นก่อนการเสวยราชสมบัติของสมเด็จพระราชินีนาถ)
 
โดยปกติแล้ว พระราชโอรสของพระประมุขทรงได้รับศักดินาขุนนางเพื่อแสดงถึงการเจริญพระชนม์สู่วัยผู้ใหญ่หรือการอภิเษกสมรส แต่เดิมพระราชโอรสพระองค์รองลงไปของพระประมุขจะไม่ได้ทรงรับพระราชทานฐานันดรศักดิ์เจ้าชาย (ยกเว้นก็แต่ เจ้าชายแห่งเวลส์) ดังนั้นเพื่อเป็นการชี้ให้เห็นถึงตำแหน่งอันสูงส่ง จึงทรงได้รับมอบศักดินาขุนนางแทน ตั้งแต่รัชสมัยของ[[สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ|สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3]] พระราชโอรสเกือบทุกพระองค์ในพระประมุขที่ทรงเจริญพระชนม์จนเป็นผู้ใหญ่จะเป็นดยุกทั้งสิ้น ตำแหน่งดยุกบางตำแหน่งจะถูกพระราชทานบ่อยครั้งมากกว่าตำแหน่งดยุกอื่นๆ รวมถึง [[ดยุกแห่งยอร์ค]] [[ดยุกแห่งออลบานี|ออลบานี]] และ [[ดยุกแห่งคลาเรนซ์|คลาเรนซ์]] โดยทั่วไปแล้วเมื่อได้มอบบรรดาศักดิ์ขุนนางให้แก่สมาชิกของราชวงศ์พระองค์หนึ่งแล้วจะมอบให้แก่บุคคลอื่นนอกราชวงศ์หลังจากนั้นอีกไม่ได้ (ถึงแม้ว่าจะมีข้อยกเว้นบางอย่างเกิดขึ้นก็ตาม)
บรรทัด 121:
พระราชโอรสในพระประมุขบ่อยครั้งทรงได้รับพระราชทานฐานันดรศักดิ์ที่เกี่ยวข้องกับประเทศอังกฤษและสก็อตแลนด์ ต่อมากับไอร์แลนด์ และกับเวลส์เมื่อไม่นานมานี้ เพราะฉะนั้นตำแหน่งดยุกแห่งสแตรเธิร์น (ที่ตั้งชื่อตามสถานที่หนึ่งในสก็อตแลนด์) ได้นำมาใช้ควบคู่กับตำแหน่งดยุกแห่งคอนน็อต (ที่ตั้งชื่อตามมณฑลหนึ่งของไอร์แลนด์) เคนต์และคัมเบอร์แลนด์ (ที่ตั้งตามสถานที่ในประเทศอังกฤษ) รูปแบบเช่นนี้ยังคงใช้กับราชวงศ์ในปัจจุบัน ดังเช่น ดยุกแห่งยอร์ค พระองค์ปัจจุบัน ทรงเป็นทั้งเอิร์ลแห่งอินเวอร์เนสและบารอนคิลลีเลียฟ ฐานันดรศักดิ์รองที่เกี่ยวข้องกับประเทศสก็อตแลนด์และไอร์แลนด์ตามลำดับอีกด้วย
 
ธรรมเนียมปฏิบัติในการพระราชทานตำแหน่งดยุกให้แก่สมาชิกอาวุโสของราชวงศ์สิ้นสุดลงเมื่อไม่นานในปี [[พ.ศ. 2542]] เมื่อเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดทรงได้รับการสถาปนาเป็นเอิร์ลแห่งเวสเซ็กส์ ตำแหน่งเอิร์ลแห่งเวสเซ็กส์มิเคยมีการแต่งตั้งจากประมุขของอังกฤษและบริเตนใหญ่มาก่อนนับแต่ปี [[พ.ศ. 1609]] (ค.ศ. 1066) กล่าวกันว่าตำแหน่งดยุกแห่งเอดินเบอระจะพระราชทานให้แก่เอิร์ลแห่งเวสเซ็กส์ แต่กระนั้นตำแหน่งดยุกดังกล่าวจะตกทอดสู่เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ ไม่ใช่ของเอิร์ลแห่งเวสเซ็กส์ เมื่อเจ้าชายแห่งเวลส์เสวยราชสมบัติเป็นพระประมุข หรือทรงเป็นพระประมุขแล้วเมื่อตำแหน่งดยุกตกทอดสู่พระองค์ ตำแหน่งนั้นจะรวมเข้ากับราชบัลลังก์และเพียงแต่รอการพระราชทานใหม่อีกครั้ง
 
ฐานันดรศักดิ์ขุนนางสูงสุดอันเป็นของเจ้าชายอาจสามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งในพระอิสริยยศของพระโอรสและธิดาในเจ้าชายพระองค์นั้น ดังนั้นพระโอรสใน เจ้าชายแห่งเวลส์เป็น [[เจ้าชายวิลเลียมแห่งเวลส์]]และ[[เจ้าชายเฮนรีแห่งเวลส์|เจ้าชายแฮร์รีแห่งเวลส์]] พระธิดาในดยุกแห่งยอร์คเป็น [[เจ้าหญิงเบียทริซแห่งยอร์ค]]และ[[เจ้าหญิงยูจีนีแห่งยอร์ค]] พระธิดาในเอิร์ลแห่งเวสเซ็กส์เป็น [[เลดี้ หลุยส์ วินด์เซอร์|เจ้าหญิงหลุยส์แห่งเวสเซ็กส์]] (ในกรณีอันสุดท้ายนี้ โดยทั่วไปแล้วเจ้าหญิงทรงได้รับการเรียกขานเพียงแค่เลดี้ หลุยส์ วินด์เซอร์ ตามความประสงค์ของพระชนกและชนนี แต่โดยทางการแล้วยังคงทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าหญิงอยู่)