ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าวิลเลียมที่ 2 แห่งอังกฤษ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'ทรงมีพระ'→'มีพระ'
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'ทรงเป็นพระ'→'เป็นพระ'
บรรทัด 26:
}}
|}
'''สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 2 แห่งอังกฤษ''' ({{lang-en|William II of England หรือ Rufus}}) (ราว [[ค.ศ. 1056]] – [[2 สิงหาคม]] [[ค.ศ. 1100]]) ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดิน[[ราชวงศ์นอร์มัน]]ของ[[ราชอาณาจักรอังกฤษ]]
 
พระเจ้าวิลเลียมที่ 2 เสด็จพระราชสมภพเมื่อราว [[ค.ศ. 1056]] ที่นอร์มังดี [[ฝรั่งเศส]] ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่สามใน[[สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ]]<ref>[http://www.spartacus.schoolnet.co.uk/MEDwilliamII.htm สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 2 แห่งอังกฤษ]</ref> และ [[มาทิลดาแห่งฟลานเดอร์ส]] และทรงราชย์ระหว่างวันที่ [[9 กันยายน]] [[ค.ศ. 1087]] จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ [[2 สิงหาคม]] [[ค.ศ. 1100]] ที่นิวฟอเรสต์ [[อังกฤษ]] พระเจ้าวิลเลียมที่ 2 มีพระนามเล่นว่า “รูฟัส” ซึ่งอาจจะมาจากการที่มีพระพักตร์แดง
 
แม้ว่าพระเจ้าวิลเลียมจะทรงเป็นนายทหารผู้มีความสามารถ แต่ทรงเป็นประมุขที่ไม่มีความปราณีจึงไม่เป็นที่นิยมของผู้อยู่ใต้การปกครองของพระองค์ “[[บันทึกแองโกล-แซ็กซอน]]” กล่าวว่าพระองค์ทรงเป็นที่เกลียดชังของประชาชนเกือบทุกคน แต่ผู้บันทึกในสมัยนั้นอาจจะมีทัศนคติในทางลบต่อพระเจ้าวิลเลียมเพราะผู้บันทึกเป็นนักบวชซึ่งเป็นสถาบันที่พระเจ้าวิลเลียมทรงมีความขัดแย้งอยู่ด้วยเป็นเวลานาน นอกจากนั้นพระเจ้าองค์ก็ยังทรงดูถูกสิ่งที่เป็นอังกฤษและวัฒนธรรมอังกฤษ<ref>Cantor, Norman F. ''The Civilization of the Middle Ages'' pp 280–84.</ref>
บรรทัด 35:
 
== เบื้องต้น ==
วันประสูติที่แน่นอนของพระองค์ไม่เป็นที่ทราบแต่สันนิษฐานกันว่าราวระหว่างปี ค.ศ. 1056 และปี ค.ศ. 1060 ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่สามในพระราชโอรสสี่พระองค์ของ[[สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ|ดยุคแห่งนอร์มังดี]] ทรงเป็นพระอนุชาของ[[โรเบิร์ต เคอธอส ดยุคแห่งนอร์มังดี|โรเบิร์ต เคอธอส]] (Robert Curthose) เมื่อยังทรงพระเยาว์ทรงได้รับการศึกษาจากอัครบาทหลวงลองฟรอง[[ลองฟรอง]] (Lanfranc) อนาคตของพระองค์ดูเหมือนว่าจะได้เป็นขุนนางผู้มีอำนาจแต่มิใช่เป็นพระมหากษัตริย์เพราะทรงเป็นพระราชโอรสองค์รอง แต่เมื่อริชาร์ดพระราชโอรสองค์ที่สองสิ้นพระชนม์ พระองค์ก็กลายเป็นผู้มีสิทธิในการสืบราชบัลลังก์, and seemed destined to be a great lord but not a king, until the death of the Conqueror's second son, Richard, put William next in line for the English succession.<ref>William of Malmesbury, in e.g. ''A History of the Norman Kings (1066 - 1125) '', Llanerch, 1989, pp. 43, 46.</ref> วิลเลียมเป็นพระราชโอรสองค์โปรดของพระราชบิดาและทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาเมื่อเสด็จสวรรคต วิลเลียมและโรเบิร์ต เคอธอสพระเชษฐาองค์โตไม่ทรงถูกชะตากันเท่าใดนัก แต่ทั้งสองคนก็คืนดีกันหลังจากการพยายามโค่นราชบัลลังก์ในปี ค.ศ. 1091 โดยพระอนุชาองค์เล็ก[[สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 1 แห่งอังกฤษ|เฮนรี]]
 
ความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องทั้งสามองค์เป็นความสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยดีนัก นักบันทึกประวัติศาสตร์[[ออร์เดอริค ไวทาลิส]] (Orderic Vitalis) กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1077 และปี ค.ศ. 1078 ที่วิลเลียมและเฮนรีทรงรู้สึกเบื่อจากการโยนลูกเต๋าจึงตัดสินใจล้อพี่ชายโดยเทน้ำเสียจากระเบียงชั้นบนลงบนพระเศียรของโรเบิร์ตซึ่งทำให้โรเบิร์ตทรงรู้สึกมีความขายพระพักตร์และพิโรธ จึงเกิดการทะเลาะกันจนพระราชบิดาต้องทรงเข้าห้าม<ref>Chibnall, M. (ed. & tr.), ''The Ecclesiastical History of Orderic Vitalis'', Oxford Medieval Texts, 1968-1980, ii, pp. 356 ff. See also Barlow, F., ''William Rufus'', Univ. of California Press, 1983, pp. 33-4. Barlow suggests that William and Henry probably urinated over Robert. In the context of the 11th century Norman court, it is tempting merely to observe that 'boys will be boys.'</ref>