ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุชีพ ปุญญานุภาพ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'ทรงมีพระ'→'มีพระ'
บรรทัด 44:
==บิดาแห่งมหาวิทยาลัยสงฆ์ไทย==
 
สมัยเป็นพระภิกษุอยู่วัดกันตมาตุยาราม ท่านเปิดสอนวิชาพระพุทธศาสนาควบคู่กับวิชาทางโลกสมัยใหม่ให้ศิษยานุศิษย์ที่เป็นพระภิกษุและสามเณร รวมทั้งประชาชนทั่วไป ต่อมา [[พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ)]] ผู้ช่วยเจ้าอาวาส [[วัดบวรนิเวศวิหาร]] ได้แนะนำให้ท่านรื้อฟื้น[[มหามกุฏราชวิทยาลัย]] อันเป็น[[วิทยาลัยสงฆ์]]แห่งแรกที่ก่อตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่ยุบกิจการไปนานแล้ว หลังจากประสบปัญหาต่างๆ และเสนอแนะให้ท่านมาใช้สถานที่ใน[[วัดบวรนิเวศวิหาร]] ท่านจึงพาลูกศิษย์มาขอใช้สถานที่ [[วัดบวรนิเวศวิหาร]] เพื่อเริ่มเปิดเรียนเป็นกิจลักษณะ แม้จะมีการต่อต้านจากพระสงฆ์ผู้ใหญ่มาก เพราะถือว่าวิชาความรู้สมัยใหม่ เช่น ภาษาอังกฤษ เป็น[[เดรัจฉานวิชา]] แต่ท่านก็สู้อดทน วัตถุประสงค์ก็คือ ต้องการสร้างบุคลากรที่สามารถประยุกต์ [[พุทธธรรม]] ให้เข้ากับสังคมสมัยใหม่ จนกระทั่ง ได้รับการสนับสนุนจาก [[สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์]] ซึ่งได้ออกโรงสนับสนุนด้วยพระองค์เอง โดยทรงมีพระบัญชาให้ประกาศเพื่อตั้งสภาการศึกษา [[มหามกุฏราชวิทยาลัย]]เมื่อปี พ.ศ. 2488 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ [[มหาวิทยาลัยสงฆ์]] ไทยในยุคใหม่
 
หลายสิบปีผ่านไป แม้จะถูกวิจารณ์ว่าเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์เถื่อนเพราะรัฐบาลไม่ยอมรับรอง แต่พระสงฆ์ก็เรียกร้องรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุด ปีพุทธศักราช 2527 รัฐบาลก็ตรากฎหมายรับรอง และในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งก็ได้รับการรองรับให้เป็น [[มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ]] อย่างสมบูรณ์ อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพมักห้ามศิษยานุศิษย์มิให้กล่าวหรือเขียนยกย่องท่านในที่สาธารณะ ตามนิสัยถ่อมตัวและรักสันโดษของท่าน จึงไม่ค่อยมีคนทราบประวัติและความดีที่ท่านทำอยู่เบื้องหลังการก่อตั้งมหาวิทยาลัยสงฆ์เท่าใดนัก เนื่องในงาน[http://www.wbs.mbu.ac.th/en/ ประชุมสุดยอดผู้นำชาวพุทธจากทั่วโลกครั้งที่ 4] จัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ที่ [[มหามกุฏราชวิทยาลัย]] และองค์กรพุทธชาวญี่ปุ่นร่วมเป็นเจ้าภาพจัด ระหว่างวันที่ 1-5 พฤศจิกายน 2548 ที่ผ่านมาและมีผู้เข้าร่วมประชุมจากทั่วทุกมุมโลก ดร. [[ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์]] ได้นำเสนอบทความว่าด้วยประวัติและผลงานของท่านอาจารย์สุชีพ เป็นครั้งแรกที่มีเขียนประวัติท่านเป็นภาษาอังกฤษค่อนข้างละเอียด โดยได้เชิญชวนให้บรรดาผู้นำชาวพุทธทั่วโลกที่มาร่วมชุมนุมร่วมยกย่องท่านอาจารย์สุชีพเป็น "บิดาแห่งมหาวิทยาลัยสงฆ์ไทย"(The Father of Modern Buddhist University in Thailand) เพื่อประกาศเกียรติคุณของท่านให้ปรากฏ