ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุลัยมานผู้เกรียงไกร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'ทรงมีพระ'→'มีพระ'
บรรทัด 45:
[[ไฟล์:Semailname 47b.jpg|right|thumb|220px|สุลต่านสุลัยมานเมื่อยังหนุ่ม]]
[[ไฟล์:Louis2.jpg|right|thumb|220px|[[พระเจ้าหลุยส์ที่ 2 แห่งฮังการี]]]]
หลังจากสุลต่านสุลัยมานขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาแล้วพระองค์ก็ทรงเริ่มดำเนินการแผ่ขยายอำนาจของจักรวรรดิออตโตมันโดยการทำ[[การรณรงค์ทางทหาร]]ต่างๆ ที่รวมทั้งการที่ทรงสามารถปราบการแข็งข้อที่นำโดยข้าหลวงแห่ง[[ดามัสกัส]]ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งไปจากจักรวรรดิออตโตมันเองใน [[ค.ศ. 1521]] ต่อจากนั้นพระองค์ก็ทรงเตรียมการยึดเมือง[[เบลเกรด]]จาก[[ราชอาณาจักรฮังการี]]ซึ่งพระอัยกา[[สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2]] ได้ทรงพยายามในปี [[ค.ศ. 1456]] แต่ไม่ทรงประสบความสำเร็จ เจ็ดสิบปีต่อมาสุลต่านสุลัยมานก็ทรงนำกองทัพเข้าล้อม[[เบลเกรด]]และทรงโจมตีโดยการยิงลูกระเบิดจากเกาะกลาง[[แม่น้ำดานูบ]]เข้าไปยังตัวเมือง เมื่อมีกองทหารป้องกันอยู่เพียง 700 คนและปราศจากความช่วยเหลือจากราชอาณาจักรฮังการี เบลเกรดก็เสียเมืองในเดือนสิงหาคม [[ค.ศ. 1521]]<ref>Imber, 49</ref> หลังจากที่ทรงยึดเมืองได้แล้วพระองค์ก็ทรงมีพระบรมราชโองการให้เผาเมือง และเนรเทศประชากรที่เป็นคริสเตียนทั้งหมดที่รวมทั้งชาวฮังการี กรีก และอาร์เมเนียออกจากเมืองไปยัง[[อิสตันบูล]] การยึดเบลเกรดได้เป็นสิ่งสำคัญในการกำจัดฮังการี ผู้ที่หลังจากได้รับชัยชนะต่อ[[เซอร์เบีย]] [[บัลแกเรีย]] และ[[จักรวรรดิไบแซนไทน์|ไบแซนไทน์]]แล้วก็กลายเป็นมหาอำนาจที่แข็งแกร่งพอที่จะหยุดยั้งการขยายตัวของจักรวรรดิออตโตมันเข้าไปในยุโรปได้
 
ข่าวการเสียเมืองเบลเกรดอันที่เป็นที่มั่นสำคัญที่มั่นหนึ่งของคริสตจักรทำให้ยุโรปเสียขวัญ และกระจายความหวั่นกลัวในอำนาจของจักรวรรดิออตโตมันกันไปทั่วยุโรป ราชทูตของ[[จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]]ในอิสตันบูลบันทึกว่า “การยึดเมืองเบลเกรดเป็นต้นกำเนิดของเหตุการณ์อันสำคัญต่าง ๆ ที่ท่วมท้นราชอาณาจักรฮังการี และเป็นเหตุการณ์ที่ในที่สุดก็นำมาซึ่งการสวรรคตของ[[พระเจ้าหลุยส์ที่ 2 แห่งฮังการี|พระเจ้าหลุยส์ที่ 2]], การยึดเมือง[[บูดา]] การยึดครอง[[ทรานซิลเวเนีย]], การทำลายราชอาณาจักรที่รุ่งเรือง และความหวาดกลัวของประเทศเพื่อนบ้านที่ต่างก็มีความหวาดกลัวว่าจะประสบความหายนะเช่นเดียวกัน[กับที่เบลเกรดประสบ]”<ref>Clot, 39</ref>
บรรทัด 72:
[[ไฟล์:Battle of Preveza (1538).jpg|right|thumb|280px|[[บาร์บารอสซา เฮย์เรดดิน ปาชา]]ได้รับชัยชนะต่อสันนิบาตคริสเตียนภายใต้การนำของผู้บังคับบัญชาการกองเรือ[[อันเดรีย ดอเรีย]]ชาวเจนัวใน[[ยุทธการพรีเวซา]] ในปี [[ค.ศ. 1538]]]]
[[ไฟล์:Siege of malta 1.jpg|thumb|right|280px|การล้อมเมืองมอลตาใน [[ค.ศ. 1565]] เมื่อกองเรือตุรกีมาถึง[[มอลตา]]]]
หลังจากได้รับชัยชนะในการต่อสู้บน[[แผ่นดินใหญ่ยุโรป]]แล้วสุลต่านสุลัยมานก็ทรงได้รับข่าวว่าป้อมที่[[โคโรนิ]]บน[[แหลมโมเรีย]] ([[คาบสมุทรเพโลพอนนีส]]ในกรีซปัจจุบัน) เสียให้แก่นายพลเรือ[[อันเดรีย ดอเรีย]][[ทหารรับจ้าง]]ชาวเจนัวใน[[จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์|จักรพรรดิคาร์ลที่ 5]] การขยายอำนาจของ[[สเปน]]มาทางด้านตะวันออกของ[[ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน]]สร้างความวิตกให้แก่สุลต่านสุลัยมาน ผู้ทรงมีความเห็นว่าเป็นแนวโน้มที่แสดงการขยายอำนาจของจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 มาทางตะวันออกของทะเลเมดิเตอเรเนียนในบริเวณที่จักรวรรดิออตโตมันยังมีอำนาจเหนืออยู่ พระองค์จึงทรงเห็นถึงความจำเป็นในการเพิ่มความมั่นคงทางทะเลในบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เมื่อทรงมีพระราชดำริเช่นนั้นแล้วพระองค์ก็ทรงแต่งตั้งให้[[คาเอียร์ อัด ดิน]]ผู้เป็นที่รู้จักกันในยุโรปในนามว่า “[[คาเอียร์ อัด ดิน|บาร์บารอสซา เฮย์เรดดิน]]” หรือ “[[คาเอียร์ อัด ดิน|เฮย์เรดดินหนวดแดง]]” ให้เป็นผู้บัญชาการราชนาวีแห่งจักรวรรดิออตโตมัน เมื่อได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บังคับบัญชากองเรือสูงสุดแล้วคาเอียร์ อัด ดินก็ได้รับมอบหมายให้เสริมสร้างกองทัพเรือของจักรวรรดิออตโตมันใหม่ การขยายตัวของราชนาวีเป็นผลให้กองทัพเรือของจักรวรรดิออตโตมันมีขนาดใหญ่เท่ากองทัพเรือของประเทศต่างๆ ในบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทั้งหมดรวมกัน<ref>Clot, 87</ref> ในปี [[ค.ศ. 1535]] เมื่อจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 ได้รับชัยชนะครั้งสำคัญต่อจักรวรรดิออตโตมันที่เมือง[[ทูนิส]]และในการสงครามต่อต้าน[[สาธารณรัฐเวนิส]]ในปีต่อมา เป็นผลทำให้สุลต่านสุลัยมานทรงหันไปยอมรับข้อเสนอของ[[พระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศส]]ในการเป็นพันธมิตรร่วมกันในการต่อต้านการขยายอำนาจของจักรพรรดิคาร์ลที่ 5<ref name=imber51/> ในปี [[ค.ศ. 1538]] กองทัพเรือสเปนก็พ่ายแพ้ต่อ[[คาเอียร์ อัด ดิน|บาร์บารอสซา เฮย์เรดดิน]]ใน[[ยุทธการที่พรีเวซา]] ซึ่งทำให้ตุรกีมีที่มั่นทางตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็นเวลา 33 ปีจนกระทั่งมาเสียไปใน[[ยุทธการที่เลปันโต]]ในปี [[ค.ศ. 1571]]
 
จากนั้นจักรวรรดิออตโตมันก็ผนวกทางตะวันออกของ[[โมรอกโก]]และอาณาบริเวณส่วนใหญ่ของ[[แอฟริกาเหนือ]] ดินแดนใน[[กลุ่มรัฐบาร์บารี]]ที่ประกอบด้วย[[ทริโพลิทาเนีย]] [[ตูนิเซีย]] และ[[แอลจีเรีย]]ก็กลายเป็นจังหวัดภายใต้การปกครองของจักรวรรดิ ซึ่งกลายเป็นข้อขัดแย้งหลักระหว่างสุลต่านสุลัยมานและจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 ผู้พยายามขับตุรกีออกจากบริเวณ[[ฝั่งทะเลบาร์บารี]]ในปี [[ค.ศ. 1541]] แต่ไม่สำเร็จ<ref>Kinross, 227</ref> จากนั้น[[โจรสลัดบาร์บารี]]ก็เที่ยวรังควานอยู่ในบริเวณ[[แอฟริกาเหนือ]]ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการต่อต้านสเปน การขยายอำนาจของจักรวรรดิออตโตมันในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมีความมั่นคงอยู่ชั่วระยะหนึ่ง นอกจากจะมีอำนาจในบริเวณนั้นแล้วออตโตมันก็ยังมีอำนาจในบริเวณ[[ทะเลแดง]]และ[[อ่าวเปอร์เซีย]]อยู่จนกระทั่ง [[ค.ศ. 1554]] เมื่อมาพ่ายแพ้ต่อกองทัพเรือของ[[จักรวรรดิโปรตุเกส]] โปรตุเกสยึด[[ออร์มุซ]] (ใน[[ช่องแคบฮอร์มุซ]]) ในปี [[ค.ศ. 1515]] และยังคงแข่งขันกันกับจักรวรรดิออตโตมันในการมีอำนาจในการครอบครอง[[เอเดน]]ใน[[เยเมน]]ปัจจุบัน
บรรทัด 83:
[[ไฟล์:Suleiman bas-relief in the U.S. House of Representatives chamber.jpg|thumb|right|280px|รูปนูนต่ำของสุลต่านสุลัยมานภายในที่ทำการของ[[สภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐอเมริกา]]ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรูปผู้มีความสำคัญในด้านการกฎหมายยี่สิบสามรูป]]
{{ระบบการบริหารรัฐของออตโตมัน|width=290px}}
ในขณะที่สุลต่านสุลัยมานทรงเป็นที่รู้จักกันในตะวันตกในพระนามว่า “the Magnificent” พระองค์ก็ทรงเป็นที่รู้จักกันในพระนามว่า “Kanuni Suleiman” หรือ “ผู้พระราชทานกฎหมาย” โดยไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของจักรวรรดิออตโตมันของพระองค์เอง นักประวัติศาสตร์ชาวสกอต[[จอห์น บาลโฟร์ บารอนคินรอสส์ที่ 3|ลอร์ดคินรอสส์]]ตั้งข้อสังเกตว่าพระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถทางด้านการทหารเช่นเดียวกับพระราชบิดาและพระอัยกา แต่ทรงมีความแตกต่างกันจากทั้งสองพระองค์ตรงที่ไม่แต่จะทรงดาบเท่านั้นแต่ยังทรงปากกาด้วย นอกจากนั้นพระองค์ก็ยังทรงเป็นนักกฎหมายผู้มีความสามารถเป็นอันมาก<ref>Kinross, 205</ref>
 
กฎหมายสูงสุดของจักรวรรดิออตโตมันคือ[[กฎหมายชะรีอะฮ์]] (Shari'ah) หรือ “กฎหมายศักดิ์สิทธิ์” ซึ่งเป็นกฎหมายของ[[ศาสนาอิสลาม]]ที่อยู่นอกพระราชอำนาจในการเปลี่ยนแปลง แต่ในด้านกฎหมายที่รู้จักกันว่า “กฎหมายคานุน” (Kanun) เป็นกฎบัตรที่ไม่อยู่ในข่ายของกฎหมายชะรีอะฮ์ แต่ขึ้นอยู่กับพระราชประสงค์ของสุลต่านสุลัยมานเท่านั้น คานุนครอบคลุมทั้งกฎหมายอาญา, กฎหมายที่ดิน และกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร<ref>Imber, 244</ref> พระองค์ทรงเริ่มการปฏิรูป “กฎหมายคานุน” โดยการรวบรวมคำพิพากษาจากสุลต่านออตโตมันเก้าพระองค์ก่อนหน้านั้นเข้าด้วยกัน หลังจากที่ทรงเริ่มด้วยการกำจัดบทบัญญัติที่ซ้ำซ้อน และสะสางบทบัญญัติที่ขัดแย้งกันแล้ว พระองค์ก็ทรงออกเป็นประมวลกฎหมายฉบับเดียว โดยไม่ขัดแย้งกับหลักการพื้นฐานของกฎบัตรของศาสนาอิสลามแต่อย่างใด<ref>Greenblatt, 20.</ref> ประมวญกฎหมายคานุนที่ออกมาเป็นทางการเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “Kanun‐i Osmani” หรือ “กฎหมายออสมัน” ประมวลกฎหมายฉบับที่ทรงบัญญัติได้รับการใช้ปฏิบัติต่อมาอีกกว่าสามร้อยปีหลังจากนั้น<ref>Greenblatt, 21.</ref>
บรรทัด 137:
พระชายาสองพระองค์ของสุลต่านสุลัยมานมีพระราชโอรสด้วยกันแปดพระองค์ และสี่พระองค์รอดมาจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1550: [[เซห์ซาด มุสตาฟา]] [[สุลต่านเซลิมที่ 2|เซลิม]] เบยซิด, และจิฮานเกร์ ในบรรดาสี่พระองค์มุสตาฟาเป็นคนเดียวเท่านั้นที่มิได้เป็นโอรสของร็อกเซลานาแต่เป็นโอรสของสุลต่านกึลบาฮาร์ (“กุหลาบแห่งฤดูใบไม้ผลิ”) และเป็นผู้มีสิทธิเหนือกว่าพระราชโอรสของร็อกเซลานาในการสืบสันตติวงศ์ ร็อกเซลานาทราบว่าถ้ามุสตาฟาได้เป็นสุลต่านพระโอรสของพระองค์ก็จะถูกสังหาร ตามธรรมเนียมในการขึ้นครองราชย์ของสุลต่านออตโตมันที่ผู้ขึ้นครองเป็นสุลต่านจะสังหารพี่น้องที่เป็นชายทุกคนโดยไม่มีการยกเว้น
 
มุสตาฟาทรงเป็นผู้มีพระปรีชาสามารถกว่าบรรดาพี่น้องคนอื่นๆ และได้รับการสนับสนุนโดย[[ปาร์กาลิ อิบราฮิม ปาชา]]ผู้ขณะนั้นยังเป็นคนสนิทของสุลต่าน ราชทูตออสเตรียกล่าวถึงมุสตาฟาว่าในบรรดาพระราชโอรสของสุลต่านสุลัยมานแล้วมุสตาฟาก็เป็นผู้ได้รับการศึกษาเป็นอย่างดีและทรงมีพระชนมายุที่เหมาะสมที่จะขึ้นครองราชย์ซึ่งขณะนั้นก็ราว 24 หรือ 25 พรรษา ราชทูตก็เปรยต่อไปว่าขออย่าให้ผู้มีความเก่งกล้าเช่นมุสตาฟามีโอกาสเข้ามาใกล้ยุโรป และกล่าวต่อไปถึง “ความสามารถอันเป็นธรรมชาติ” ของพระองค์<ref>Clot, 155</ref>
 
เป็นที่เชื่อกันร็อกเซลานามีส่วนเกี่ยวข้องกันการเสนอชื่อผู้ที่จะมาสืบราชบัลลังก์ต่อจากสุลต่านสุลัยมาน แม้ว่าในฐานะที่เป็นพระชายาของสุลต่านแล้วร็อกเซลานาก็ไม่น่าจะมีอำนาจอย่างเป็นทางการเช่นเดียวกับสตรีในยุคเดียวกัน แต่ทั้งนี้ก็มิได้เป็นการหยุดยั้งร็อกเซลานาในการพยายามใช้อิทธิพลทางการเมือง โดยเฉพาะเมื่อจักรวรรดิไม่มีกฎเกณฑ์อย่างเป็นทางการในการแต่งตั้งรัชทายาท การหาตัวผู้สืบราชบัลลังก์จึงมักจะเป็นกระบวนการที่มักทำให้เกิดความแตกแยกระหว่างผู้คิดว่าตนมีสิทธิในราชบัลลังก์ ซึ่งเป็นผลทำให้มีการเสียชีวิตกันบ้าง และเพื่อที่จะเป็นการป้องกันการเสียชีวิตของพระโอรสร็อกเซลานาก็พยายามใช้อิทธิพลในการกำจัดผู้ที่สนับสนุนมุสตาฟาในการขึ้นครองราชบัลลังก์<ref name="Mansel, 84."/>