ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Addbot (คุย | ส่วนร่วม)
Bot: Migrating 59 interwiki links, now provided by Wikidata on d:q57287 (translate me)
ป้ายระบุ: ลบลิงก์ข้ามภาษา
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'ทรงมีพระ'→'มีพระ'
บรรทัด 33:
'''สมเด็จพระราชาธิบดีเฮรัลด์ที่ 5''' แห่ง[[ประเทศนอร์เวย์|นอร์เวย์]] ([[ภาษานอร์เวย์]]: Hans Majestet Kong Harald V) ทรงขึ้นครองราชย์หลังจากการสวรรคตของพระราชบิดา ([[พระเจ้าโอลาฟที่ 5]]) เมื่อวันที่ [[17 มกราคม]] [[พ.ศ. 2534]] ในฐานะพระปนัดดาของกษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่ง[[สหราชอาณาจักร]] สมเด็จพระราชาธิบดีซึ่งเป็นพระโอรสองค์เดียวของพระเจ้าโอลาฟที่ 5 และเจ้าหญิงมาร์ทาแห่งสวีเดน ทรงมีสิทธิสืบราชสันตติวงศ์ราชบัลลังก์อังกฤษในลำดับที่ 48
 
สมเด็จพระราชาธิบดีทรงได้รับปริญญาจาก[[มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด]]ในสาขาวิชาประวัติศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ ในปี 2511 ทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับสามัญชน นางสาวซอนยา เฮรัลด์เซ็น ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาเป็น [[สมเด็จพระราชินีซอนยาแห่งนอร์เวย์]] ทรงมีพระราชโอรสพระราชธิดาคือ เจ้าหญิงมาร์ทา หลุยส์ และ[[มกุฎราชกุมาร]]เจ้าชายโฮกุน ซึ่งทรงอภิเษกสมรสกับ นางสาวเมตเต-มาริต ปัจจุบันได้รับสถาปนาเป็น เจ้าหญิงเมตเต-มาริต มกุฎราชกุมารีแห่งนอร์เวย์
 
เจ้าชายโฮกุนและเจ้าหญิงเมตเต-มาริต พร้อมด้วยพระโอรสองค์เล็กคือเจ้าชายสแวร์เร แมกนัส เสด็จฯ เป็นผู้แทนพระองค์สมเด็จพระราชาธิบดีเพื่อร่วมพิธีเฉลิมฉลองครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระราชาธิบดีทรงเป็นนักกีฬาและนักเดินเรือผู้เชี่ยวชาญ และทรงนำทีมนักกีฬานอร์เวย์ให้ได้รับชัยชนะจากการแข่งเรือใบในนามประเทศนอร์เวย์หลายครั้ง รวมทั้งจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่กรุงโตเกียวเมื่อปี พ.ศ. 2507 ปัจจุบันทรงมีพระชนมายุ 71 พรรษา คณะแพทย์ถวายคำแนะนำให้สมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 ทรงงานน้อยลงเพื่อพระพลานามัย แต่กระนั้นพระองค์ก็ยังทรงนำการประชุมคณะรัฐมนตรีทุกวันศุกร์ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับนอร์เวย์ดำเนินไปด้วยความราบรื่นนับแต่เริ่มมีความสัมพันธ์กันเมื่อกว่าร้อยปีที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์ของประเทศทั้งสองก็เป็นไปอย่างสนิทสนมและช่วยเหลือเกื้อกูล เช่นเดียวกับรัฐบาลและประชาชนของทั้งสองประเทศ
 
{{เริ่มกล่อง}}