ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
2T (คุย | ส่วนร่วม)
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'ทรงมีพระ'→'มีพระ'
บรรทัด 30:
หลังจากเสด็จสวรรคตของพระเชษฐภคินี[[สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ|สมเด็จพระราชินีนาถแมรี]] เจ้าหญิงอลิซาเบธก็เสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงตั้งพระทัยที่จะปกครองโดยมีที่ปรึกษาราชการผู้มีคุณธรรม<ref>"I mean to direct all my actions by good advice and counsel." Elizabeth's first speech as queen, Hatfield House, 20 November 1558. Loades, 35.</ref> พระองค์ทรงไว้วางพระทัยในกลุ่มที่ปรึกษาที่ทรงไว้วางใจที่นำโดย[[William Cecil, 1st Baron Burghley|วิลเลียม เซซิล บารอนแห่งเบอร์ลีย์ที่ 1]] สิ่งแรกที่ทรงกระทำในฐานะพระราชินีนาถคือการสนับสนุนการก่อตั้งสถาบัน[[โปรเตสแตนต์]]อังกฤษ ซึ่งมีพระองค์เองเป็น “[[Supreme Governor of the Church of England|ประมุขสูงสุด]]” (Supreme Governor) นโยบายทางศาสนาของพระองค์เป็นนโยบายที่ดำเนินตลอดมาในช่วงรัชสมัยการปกครอง และต่อมาวิวัฒนาการมาเป็น “[[นิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์]]” ในปัจจุบัน
 
ในระหว่างที่ครองราชย์ก็เป็นที่หวังกันว่าพระองค์จะทรงเสกสมรส แต่แม้ว่ารัฐบาลจะยื่นคำร้องหลายครั้ง และ การทรงทำความรู้จักกับกับคู่หมายหลายคนพระราชินีนาถอลิซาเบธก็มิได้ทรงทำการเสกสมรสกับผู้ใด สาเหตุที่ไม่ทรงยอมเสกสมรสก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เมื่อทรงมีพระชนมายุสูงขึ้นพระองค์ก็ทรงมีชื่อเสียงจากการเป็น ''“'''พระราชินีผู้ทรงพรหมจรรย์'''”'' และเกิด[[ลัทธินิยม]]ของผู้ติดตามนโยบายดังว่าที่เฉลิมฉลองกันด้วยภาพเหมือน, เทศกาล และ วรรณกรรมร่วมสมัย
 
ในด้านการปกครองพระราชินีนาถอลิซาเบธทรงดำเนินนโยบายที่เป็นสายกลางมากกว่าพระราชบิดา พระอนุชา และ พระเชษฐภคินี<ref name=starkey5>Starkey, 5.</ref> คำขวัญที่ทรงถืออยู่คำหนึ่งคือ “[[video et taceo]]” ({{lang-th|ข้าพเจ้ารู้แต่ข้าพเจ้าไม่พูด}}) <ref>Neale, 386.</ref> นโยบายดังกล่าวสร้างความอึดอัดใจให้แก่บรรดาราชองคมนตรี แต่ก็เป็นนโยบายที่ทำให้ทรงรอดจากการสร้างความสัมพันธ์ทางการเมืองและทางการมีคู่ในทางที่ไม่ถูกไม่ควรมาหลายครั้ง แม้ว่าจะทรงดำเนินนโยบายการต่างประเทศอย่างระมัดระวัง และทรงสนับสนุนการสงครามใน[[เนเธอร์แลนด์]], [[ฝรั่งเศส]] และ [[ไอร์แลนด์]]อย่างครึ่งๆ กลางๆ แต่ชัยชนะที่ทรงมีต่อ[[กองเรืออาร์มาดา]]ของสเปนในปี [[พ.ศ. 2131]] ก็ทำให้ทรงมีชื่อว่าทรงมีส่วนเกี่ยวข้องกับชัยชนะอันสำคัญที่ถือกันว่าเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ที่สุดใน[[ประวัติศาสตร์อังกฤษ]] ภายใน 20 ปีหลังจากการเสด็จสวรรคต พระองค์ก็ทรงได้ชื่อว่าเป็นพระมหากษัตรีย์ของยุคทองของอังกฤษ
บรรทัด 67:
นโยบายด้านการงบประมาณของพระองค์สร้างความไม่พอใจเป็นอย่างแก่ประชาชน มีการขึ้นอัตราภาษีเพื่อระดมเงินให้เพียงพอกับการทำสงครามในต่างประเทศ การเกิดความอดอยากข้าวยากหมากแพงในช่วงประมาณ พ.ศ. 2135-40 ซึ่งทำให้เศรษฐกิจตกต่ำและเกิดความไม่สงบในสังคม รัฐบาลจึงพยายามแก้ด้วยการออก “[[กฎหมายคนจน]]” (Poor Law) เมื่อ [[พ.ศ. 2140]] โดยเรียกเก็บภาษีเพิ่มจากท้องถิ่นไปอุดหนุนคนยากไร้ การอวดอำนาจทางทะเลของอังกฤษก่อให้เกิดการเดินทางท่องทะเลเพื่อค้นหาอาณานิคมใหม่ เซอร์ฟรานซิส เดรกเดินทางโดยเรือรอบโลกสำเร็จเป็นครั้งแรก [[เซอร์วอลเตอร์ ราเลย์]]เดินทางสำรวจพบชายฝั่งอเมริกาเหนือและเดินทางไปมาอีกหลายครั้งระหว่าง พ.ศ. 2125-32 แต่อาณานิคมที่แท้จริงเพียงแห่งเดียวของอังกฤษในสมัยของพระองค์คือ “ไอร์แลนด์” ซึ่งเป็นที่ซึ่งชาวอังกฤษเข้าไปหาผลประโยชน์ด้วยการเอารัดเอาเปรียบคนพื้นถิ่นชาวไอร์แลนด์อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน เป็นเหตุให้การก่อกบฏที่รุนแรงภายใต้การนำของ[[ฮิวจ์ โอนีล เอิร์ลแห่งไทโรน]]เมื่อ พ.ศ. 2140
 
ราชินีเอลิซาเบธทรงมีพระอารมณ์ร้อน และบางครั้งทรงเป็นผู้นำที่ไม่เด็ดขาด บ่อยครั้งที่ที่เหล่าที่ปรึกษาส่วนพระองค์ต้องช่วยพระองค์จากศัตรูทางการเมืองและเหล่าข้าศึก อย่างไรก็ดี พระองค์ทรงมีความสุนทรีย์ทางบทกวีเป็นอย่างมาก ดังเช่น [[พระเจ้าเฮนรี่ที่ 8]] พระบิดาของพระองค์ พระองค์ทรงเขียนวรรณกรรมไว้หลายเรื่อง และพระองค์ยังทรงตั้ง Royal Charters คือ หน่วยงานหลวงมาดูแลกิจการของอังกฤษหลายแห่ง [[วิทยาลัยทรินิตี้ ณ กรุงดับบลิน]] (Trinity College, Dublin) ในปี [[พ.ศ. 2135]] (ค.ศ. 1592) และ[[บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ]] ในปี [[พ.ศ. 2143]] (ค.ศ. 1600)
 
[[รัฐเวอร์จิเนีย|เวอร์จิเนีย]] หนึ่งในอาณานิคมอเมริกาเหนือของอังกฤษ ซึ่งปัจจุบันคือรัฐหนึ่งของ[[สหรัฐอเมริกา]] ถูกตั้งชื่อขึ้นตามสมญานามของราชินีเอลิซาเบทที่ 1 ราชินีผู้ทรงพรหมจรรย์