ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าจานซิต้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'ทรงมีพระ'→'มีพระ'
บรรทัด 3:
พระเจ้าจานสิตา มิได้มีเชื้อสายกษัตริย์ แต่เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่งในพระเจ้าอโนรธา เมื่อ[[พระเจ้าซอลู]] พระโอรสของพระเจ้าอโนรธาขึ้นครองราชย์ พระองค์มิได้ประกอบภารกิจอันใดด้วยความสามารถพระองค์เอง แต่จะทรงใช้และปรึกษาเหล่าเสนา อำมาตย์อยู่บ่อย ๆ ในปลายรัชสมัยพระเจ้าซอลู งะรมัน เจ้าเมือง[[หงสาวดี|พะโค]] ซึ่งเป็นชาวมอญได้ก่อการ[[กบฏ]]ขึ้นจับตัวพระเจ้าซอลูเป็นตัวประกัน จานสิตาซึ่งครองเมืองถิเลง อยู่ ไม่สามารถยกทัพกลับมาช่วยพระองค์ได้ทัน งะรมันได้สังหารพระเจ้าซอลูที่เมืองพวาสอ และพยายามเข้ายึดครองอาณาจักรพุกามแต่จานสิตาได้เข้าขัดขวาง เหล่าเสนาอำมาตย์ และ[[พระชินอรหันต์]] ที่ปรึกษาองค์สำคัญของพระเจ้าอโนรธา จึงได้อัญเชิญจานสิตาขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์
 
เมื่อขึ้นครองราชย์ พระเจ้าจานสิถาทรงมีพระนามว่า ''ศรีตรีภูวทิตย์ธรรมราชา'' ใน[[ภาษาสันสกฤต]] ในจารึกพม่าเรียกพระองค์ว่า "ถิลุงมัง" (T’iluin Man) แปลว่า "กษัตริย์แห่งถิเลง" แต่เนื่องจากพระเจ้าจานสิตามิได้มีเชื้อสายของกษัตริย์ พระองค์จึงอ้างสิทธิธรรมในการครองราชสมบัติว่าพระองค์ทรงเป็นภาคหนึ่งของ[[พระโพธิสัตว์]] และเป็นองค์อวตารของ[[พระวิษณุ]]ของ[[ปยู|ชาวพยู]]อีกด้วย สมัยนี้จึงถือเป็นรัชสมัยที่ศิลปศาสตร์แบบมอญเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในพุกาม
 
ในรัชสมัยของพระเจ้าจานสิตา ทรงติดต่อกับต่างประเทศเป็นอย่างมาก ในปี [[พ.ศ. 1638]] พระองค์ทรงส่งคณะทูตและช่างฝีมือเดินทางไป[[พุทธคยา]] เพื่อไปซ่อมแซมวัดศรีพัชรัส หรือ วัดวัสชราสนะ ซึ่งวัดแห่งนี้เป็นสถานที่[[พระพุทธเจ้า]] ทรง[[ตรัสรู้]]ที่ใต้ต้นมหาโพธิ์ พระเจ้าจานสิตาทรงซื้อที่ดินกัลปนาให้แก่วัด ขุดอ่างเก็บน้ำ สร้างเขื่อน เพื่อประโยชน์ในการปลูกข้าว ถวายตะเกียงเทียนจำนวนมาก และทรงกัลปนาข้าทาสให้กับวัดอีกด้วย ซึ่งได้ปรากฏความตอนนี้และปรากฏนามของพระองค์ในจารึกซ่อมแซ่มพุทธคยาด้วย