ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระสุพรรณกัลยา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 4834226 สร้างโดย Phum Kaewmanee (พูดคุย)
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'ทรงมีพระ'→'มีพระ'
บรรทัด 28:
พระสุพรรณกัลยา พระราชธิดาใน [[สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช]] และ [[พระวิสุทธิกษัตรีย์]] พระนางปรากฏในพงศาวดารพม่าระบุว่า ในปี [[พ.ศ. 2112]] เจ้าฟ้าสองแคว (พระอิสริยยศของพระมหาธรรมราชาเมื่อครั้งได้รับการสถาปนาจากพระเจ้าบุเรงนองให้ขึ้นครองพิษณุโลก) ได้ถวายพระธิดาชื่อ สุวรรณกัลยา พระชันษา 17 ปี กับบริวารและนางสนมรวม 15 คนแก่พระเจ้าบุเรงนอง<ref>'''อยุธยาศึกษา:ตลาดวิชาสำหรับครู-อาจารย์''', หน้า 183</ref> โดยพระองค์ได้สถาปนาเป็นพระมเหสี มีพระตำหนักและฉัตรส่วนพระองค์ ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัด เครื่องใช้สิ่งของ ข้าราชบริวารที่เป็นชาวไทยทั้งหมด เมื่อจะเสด็จไปยังที่ใด จะโดยเสลี่ยงหรือพระที่นั่งหรือพระพาหนะใดก็ตาม จะมีเจ้าพนักงานกางฉัตรถวาย และพระองค์ทรงอยู่อย่างเกษมสำราญ<ref>'''ตำนานนางกษัตริย์'''. หน้า 271</ref>
 
พระนางทรงมีพระธิดา 1 พระองค์กับพระเจ้าบุเรงนอง ทรงได้รับพระราชทานพระนามว่า '''เจ้าภุ้นชิ่''' ซึ่งมีความหมายว่า ผู้มีสติปัญญาและพระบารมี แต่โดยมากจะรู้จักกันในพระนาม '''เมงอทเว''' ในพระราชพงศาวดารพม่าได้บันทึกว่าพระสุพรรณกัลยาเป็นพระมเหสีที่พระเจ้าบุเรงนองทรงโปรดปรานมาก<ref>'''ตำนานนางกษัตริย์'''. หน้า 273</ref> โดยทรงจัดให้สร้างตำหนักทรงไทยขึ้นใน[[พระราชวังกัมโพชธานี|พระราชวังกรุงหงสาวดี]]
 
ด้วยเหตุที่[[พระเจ้าบุเรงนอง]]เสด็จออกราชการสงครามอยู่เสมอ ทำให้พระสุพรรณกัลยารวมทั้งพระมเหสีองค์อื่นทรงดำเนินชีวิตในพระราชวังตามปกติ โดยมิได้เส็ดจออกงานหรือเห็นโลกภายนอกจนกว่าที่พระเจ้าบุเรงนองจะเสด็จกลับหงสาวดีจึงจะมีการจัดงานสำคัญ โดยในวันเพ็ญเดือนมีนาคม [[พ.ศ. 2116]] มีงานบูชา[[เจดีย์ชเวดากอง|พระมหาเจดีย์ชเวดากอง]] พระสุพรรณกัลยาพร้อมด้วยพระราชธิดาองค์น้อยได้ประทับเรือพระที่นั่งโดยเสด็จพระเจ้าบุเรงนองไปบำเพ็ญพระราชกุศลนาน 5 วัน นับเป็นครั้งแรกที่พระองค์ได้เสด็จออกนอกพระราชฐานมานานว่า 3 ปี