ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การกอบกู้เอกราชของเจ้าตาก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำผ่านการค้นหา: 'ทรงมีพระ'→'มีพระ'
บรรทัด 34:
การประกาศยึดเมืองระยองได้กระทำกลางทุ่งนาและไพร่พลจำนวนมาก พระยาตากได้ประทับ ณ บริเวณวัดลุ่มมหาชัยชุมพล<ref>[http://kanchanapisek.or.th/kp8/ray/ray103.html วัดลุ่มมหาชัยชุมพล], เครื่อข่ายกาญจนาภิเษก</ref> และได้ประกาศแสดงแสนยานุภาพ แล้วเกิดพายุหมุนจนทำให้ต้นตาลต้นหนึ่งหมุนเป็นเกลียว เมื่อพายุหมุนหยุดแล้ว ต้นตาลที่หมุนจึงขดเป็นวงไม่คลายตัว ปัจจุบันต้นตาลต้นนั้นยังอยู่หน้าวัดประดู่ ชาวบ้านเรียกกันว่า '''''ตาลขด''''' <ref>บัญชา แก้วเกตุทอง,พลตรี. '''หนังสือที่ระลึกในงานหล่อประทานพร สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ณ วัดลุ่มมหาชัยชุมพล จังหวัดระยอง วันที่ 6-10 กุมภาพันธ์ 2521'''.</ref> หลังจากนั้น บรรดาแม่ทัพนายกองที่สวามิภักดิ์ ต่างพร้อมใจกันยกพระยาตากขึ้นเป็นผู้นำขบวนการกอบกู้แผ่นดิน และเรียกพระยาตากว่า ''เจ้าตาก'' นับตั้งแต่นั้นมา<ref>วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. (2546). บรรพบุรุษไทย: สมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 5</ref> ถึงแม้จะเป็นเสมือนผู้ละเมิดกฎหมายบ้านเมือง แต่เจ้าตากก็ระวังตนมิได้คิดตั้งตัวเป็น[[กบฏ]] ให้เรียกคำสั่งว่าพระประศาสน์อย่างเจ้าเมืองเอกเท่านั้น
 
อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่พม่าเข้าตีกรุงศรีอยุธยาได้ในวันที่ [[7 เมษายน|7 เมษายน]] [[พ.ศ. 2310|พ.ศ. 2310]] พม่าจุดไฟเผาเมืองจนวอดวาย [[พระเจ้ามังระ]] กษัตริย์พม่า ทรงมีพระบรมราชโองการให้จับพระเจ้าแผ่นดิน พระบรมวงศานุวงศ์ และรวบรวมสมบัติทั้งหมดของอยุธยาส่งกลับไปพม่า ข่าวกรุงแตกได้แพร่กระจาย ขณะที่พระยาตากอยู่ที่เมือง[[ระยอง]] พระยาตากจึงได้ประกาศตนเป็นผู้นำในการที่จะฟื้นฟู[[พระพุทธศาสนา]] และกอบกู้กรุงศรีอยุธยาให้กลับรุ่งเรืองดังเดิม
 
พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวถึงคำพูดของพระยาตากไว้ตอนหนึ่งว่า<ref>กรมศิลปากร, '''พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา''' (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานบรรจุศพ คุณพ่อไต้ล้ง พรประภา วันที่ 4 กันยายน 2511) หน้า 603-604</ref>